แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว


                                                        แผนการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1                     ภาคเรียนที่ 2/2561

หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง  สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว                                   จำนวน 12 ชั่วโมง

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ประโยคสัญลักษณ์ที่เป็นสมการ                 เวลา 1 ชั่วโมง

…………………………………………………………………………………………………………………………………………..

1.  มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

           สาระที่ 4 จำนวนและพีชคณิต

             มาตรฐาน ค 1.3  ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ และเมทริกซ์ อธิบายความสัมพันธ์หรือช่วยแก้ปัญหา

2.  สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

           สมการ คือ ประโยคที่แสดงการเท่ากันของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์ = บอกการเท่ากัน            สมการอาจมีตัวแปรหรือไม่มีตัวแปรก็ได้  

3.  จุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนสามารถ

           3.1  ด้านความรู้ 

                1)  เปลี่ยนโจทย์ปัญหาเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้ถูกต้อง

                2)  บอกประโยคสัญลักษณ์ที่เป็นสมการได้ถูกต้อง

           3.2  ด้านทักษะกระบวนการ   

               -  ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร สื่อความหมาย และนำเสนอเกี่ยวกับประโยคสัญลักษณ์ของสมการได้ถูกต้อง ชัดเจน  

           3.3  ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

               -  ทำงานด้วยความสามารถของตนเอง ไม่ลอกเลียนแบบงานผู้อื่น

4.  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  

           4.1  ความสามารถในการสื่อสาร  

           4.2  ความสามารถในการคิด

5.  สาระการเรียนรู้/เนื้อหา

                5.1  พิจารณาข้อความ  "จำนวนใดบวกด้วย 13 มีค่าเท่ากับ 38"

                     ถ้าใช้  £  แทนจำนวนใด เขียนอยู่ในรูปสัญลักษณ์ได้ดังนี้

                   £ + 13  =  38

                     และถ้าแทน  £  ด้วยตัวอักษร  S  จะได้ประโยคสัญลักษณ์ดังนี้

                              S + 13  =  38

                     ประโยคสัญลักษณ์ที่ได้เป็นสมการ

                5.2  พิจารณาข้อความ  "จำนวนใดบวกด้วย 25 มีค่ามากกว่า 49"

                     ถ้าใช้  £  แทนจำนวนใด เขียนอยู่ในรูปสัญลักษณ์ได้ดังนี้

                             £ + 25  >  49

                     และถ้าแทน  £  ด้วยตัวอักษร  m  จะได้ประโยคสัญลักษณ์ดังนี้

                              m + 25  >  49

                     ประโยคสัญลักษณ์ที่ได้ไม่ใช่สมการ

6.  กิจกรรมการเรียนรู้

           6.1  ขั้นนำ (ประมาณ 5 นาที)

               1)  ให้นักเรียนเล่นเกม 24 แต้ม โดยฉายผ่านโปรเจคเตอร์ให้นักเรียนทุกคนแข่งกันคิด        คนใดคิดได้ก่อนให้ยกมือขึ้น รอครูเชิญให้ตอบก่อนจึงสามารถตอบได้

               2)  ทบทวนความหมายของสมการโดยให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามจากการนำเสนอด้วยโปรแกรม Microsoft office PowerPoint มีครูควบคุมและคอยกระตุ้นให้นักเรียนคิดและตอบออกเสียงชัดเจนดัง ๆ ด้วยคำถาม “ให้นักเรียนพิจารณาว่าประโยคต่อไปนี้ ประโยคใดเป็นสมการหรือไม่เป็นสมการ” ดังนี้

                       £ + 8  10

                       3 + 10  =  13

                       n + 20  >  49

                       m - 10  ≠  5

                             3x = 21

               3)  ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้

           6.2  ขั้นสอนเนื้อหาใหม่ (ใช้เวลาประมาณ 20 นาที)

               4)  นักเรียนนั่งเป็นกลุ่มคละความสามารถคละเพศกลุ่มละ 5 คน ประกอบด้วยนักเรียนเก่ง 1 คน ปานกลาง 2 คน และอ่อน 2 คน เช่นเดิม

               5)  ครูแสดงข้อความ "จำนวนใดบวกด้วย 13 มีค่าเท่ากับ 38" แล้วให้นักเรียนเขียนในรูปสัญลักษณ์โดยใช้  £  แทนจำนวนใด (แนวการตอบ : £ + 13  =  38) และถ้าให้ใช้ตัวอักษร  S  เขียนแทน  £  นักเรียนจะเขียนได้รูปใด (แนวการตอบ : S + 13  =  38)

                   ครูแนะนำนักเรียนว่า  "S + 13  =  38" นั้นเป็นประโยคสัญลักษณ์ที่เขียนแทนข้อความ "จำนวนใดบวกด้วย 13 มีค่าเท่ากับ 38" และเรียกประโยคสัญลักษณ์  S + 13  =  38           ว่า สมการ

               6)  ครูแสดงข้อความ "จำนวนใดบวกด้วย 25 มีค่ามากกว่า 49" แล้วให้นักเรียนเขียนใน รูปสัญลักษณ์โดยใช้  £  แทนจำนวนใด (แนวการตอบ : £ + 25  >  49) และถ้าให้ใช้อักษร  m  เขียนแทนด้วย  £  นักเรียนจะเขียนในรูปใด (แนวการตอบ : m + 25  >  49) และถามนักเรียนว่า  "m + 25  >  49" เป็นประโยคสัญลักษณ์ที่เขียนแทนข้อความที่ว่าอย่างไร (แนวการตอบ : "จำนวนใดบวกด้วย 25 มีค่ามากกว่า 49")

                   ครูแนะนำนักเรียนว่า ประโยคสัญลักษณ์  m + 25 > 49 นี้ ไม่ใช่สมการ

               7)  ให้นักเรียนสังเกตประโยคสัญลักษณ์ 2 ประโยคข้างต้น คือ S + 13  =  38                 และ m + 25  >  49  ว่ามีสัญลักษณ์อะไรต่างกันบ้าง (แนวการตอบ : ประโยคแรกมีสัญลักษณ์ =           และประโยคหลังมีสัญลักษณ์ >) ครูแนะนำให้นักเรียนทราบว่า ประโยคสัญลักษณ์ใดที่มีสัญลักษณ์เท่ากับ ( = ) ประโยคนั้นเป็นสมการ

               8)  ให้นักเรียนศึกษาตัวอย่างเพิ่มเติมจากใบความรู้ เรื่อง ประโยคสัญลักษณ์ที่เป็นสมการร่วมกันเป็นกลุ่มและให้นักเรียนที่เรียนเก่งและเข้าใจเร็วอธิบายให้เพื่อนในกลุ่มฟังด้วย

           6.3  ขั้นฝึกทักษะ (ประมาณ 30 นาที)

               9)  ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มรับ เกมจับคู่ต่อภาพ พร้อมบัตรกิจกรรมตามเทคนิค KWDL

               10)  ให้นักเรียนร่วมกันศึกษาและทำความเข้าใจกติกาและวิธีการเล่นเกม (หากมีข้อสงสัย ครูจะต้องช่วยอธิบายจนนักเรียนเข้าใจชัดเจน)

               11)  “เกมจับคู่ต่อภาพ ให้หรือบอกอะไรนักเรียนมาบ้าง” หรือ “นักเรียนรู้อะไรมาบ้างเกี่ยวกับเนื้อหาของเกมนี้” ครูถามจบนักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดแล้วบันทึกลงในช่อง K โดยมีครูคอยให้คำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางในการบันทึก (หากนักเรียนเข้าใจวิธีการบันทึกแล้วสามารถทำก่อนที่ครูจะถามก็ได้)

               12)  ครูถามคำถามตามขั้นตอนเทคนิค KWDL จนครบทุกช่อง ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนร่วมกันคิดร่วมกันทำงานแข่งกัน และครูสามารถควบคุมเวลาในการทำงานของนักเรียนให้เป็นไปตามที่กำหนดในแต่ละช่องได้ด้วย

               13)  สุ่มกลุ่มออกมานำเสนอผลงาน 1 กลุ่ม ครูและนักเรียนอภิปรายสรุปผลจาก

เกมจับคู่ต่อภาพ ร่วมกันและเปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีข้อสงสัยได้ซักถาม  

               14)  แจกใบงานที่ 3 ประโยคสัญลักษณ์ที่เป็นสมการ ให้นักเรียนทำเป็นรายบุคคล

นักเรียนไม่ควรซักถามกันและควรมีความซื่อสัตย์ หลังจากทำเสร็จแล้วให้นักเรียนแลกเปลี่ยนกันเพื่อตรวจคำตอบโดยมีครูและนักเรียนทั้งชั้นร่วมกันเฉลย  

           6.4  ขั้นสรุปบทเรียนและวัดประเมินผล(ประมาณ 5 นาที)

               15)  สุ่มถามนักเรียนเป็นรายบุคคลว่าสมการคืออะไร หรือหากนักเรียนคนใดตอบได้        ให้ยกมือขึ้นตอบได้ (แนวการตอบ : สมการ คือ ประโยคที่แสดงการเท่ากันของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์ = บอกการเท่ากัน สมการอาจมีตัวแปรหรือไม่มีตัวแปรก็ได้)

               16)  ครูแจกเกมจับคู่ต่อภาพ ให้นักเรียนนำไปฝึกเล่นเพื่อจะได้เข้าใจเนื้อหาและมี

ความคงทนในการเรียน

7.  สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

           7.1  เกม 24 แต้ม

           7.2  สื่อจากโปรแกรม Microsoft office PowerPoint

           7.3  ใบความรู้ เรื่อง ประโยคสัญลักษณ์ที่เป็นสมการ

           7.4  เกมจับคู่ต่อภาพ

           7.5  บัตรกิจกรรมตามเทคนิค KWDL

           7.6  ใบงานที่ 3 ประโยคสัญลักษณ์ที่เป็นสมการ

           7.7  อุปกรณ์เครื่องฉายและคอมพิวเตอร์

8.  การวัดผลและการประเมินผล

สิ่งที่ต้องการวัด

เครื่องมือวัดผล

วิธีวัดผล

เกณฑ์การประเมินผล

ด้านความรู้

- ใบงานที่ 3    

- ตรวจใบงาน

- ทำได้ถูกต้อง ร้อยละ 75         ขึ้นไปถือว่า “ผ่าน”

ด้านทักษะ/กระบวนการ

- แบบประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ

- ประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ

- ได้คะแนนระดับ 2 ขึ้นไป            ถือว่า “ผ่าน”

ด้านคุณลักษณะ         อันพึงประสงค์

- แบบประเมิน          ด้านคุณลักษณะ

อันพึงประสงค์

- ประเมิน

ด้านคุณลักษณะ

อันพึงประสงค์

- ได้คะแนนระดับ 2 ขึ้นไป          ถือว่า “ผ่าน”

ด้านสมรรถนะ

- แบบประเมินสมรรถนะ

- ประเมินสมรรถนะ 

- ควรได้คะแนนระดับดี ขึ้นไป

9.  ความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายก่อนสอน

................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................

                                                                     ว่าที่พันตรี ...................................................

                                                                                       (พิศาล  วรจักร์)

                                                                       ผู้อำนวยการโรงเรียนพรานวิบูลวิทยา

                                                                          ................/................/................

10.  บันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

           10.1  ผลการจัดการเรียนรู้

               1)  จุดประสงค์ด้านความรู้ จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 30 คน

ปรากฏผล ดังนี้

                   -  ผลการทำใบงาน นักเรียนที่มีคะแนนรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน.............คน นักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินและควรแก้ไข จำนวน.............คน

               2)  จุดประสงค์การเรียนรู้ด้านทักษะ/กระบวนการ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และด้านสมรรถนะผู้เรียน จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 30 คน ปรากฏผล ดังนี้

รายการประเมิน

ผลการประเมิน (ร้อยละ)

สรุป (ร้อยละ)

ดีมาก

ดี

พอใช้

ปรับปรุง

ผ่าน

ไม่ผ่าน

ด้านทักษะ/กระบวนการ

ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ด้านสมรรถนะผู้เรียน

          

           10.2  ปัญหา/อุปสรรค

.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................................          10.3  ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข

..................................................................................................................................................................

..................................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................................

                                                                       ลงชื่อ ....................... .......................ผู้สอน

                                                                               (นางหทัยรัตน์  วิวาสุขุ)

                                                                   ตำแหน่ง  ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

                                                                           ................ /................ /................

11.  ความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายหลังสอน                       

........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

                                                                     ว่าที่พันตรี .....................................................

                                                                                       (พิศาล  วรจักร์)

                                                                           ผู้อำนวยการโรงเรียนพรานวิบูลวิทยา

                                                                              ................/................/...................

หมายเลขบันทึก: 665368เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2019 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2019 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท