การพัฒนามหาวิทยาลัยเชิงระบบและการจัดการ


การพัฒนามหาวิทยาลัยเชิงระบบและการจัดการ

โดย

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี

(๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒)

.

การขาดการคิดเชิงระบบและการจัดการคือปัญหาใหญ่

            คนไทยมักคิดว่าอะไรดีหรือไม่ดีเป็นเรื่องกรรมส่วนบุคคล แต่ในความเป็นจริงแล้วระบบและโครงสร้างเป็นตัวกำหนดความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของบุคคลอย่างสำคัญ ยิ่งในสังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยระบบซ้อนระบบ และระบบซับซ้อน เมื่อขาดปัญญาเชิงระบบและการจัดการที่ถูกต้อง บุคคลก็ขาดความสุขและความสร้างสรรค์ ดังที่ในองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัย มักเต็มไปด้วยความขัดแย้ง และความไม่สร้างสรรค์ และเมื่อมีเรื่องขัดแย้งหรือวิวาทกัน ก็มักกล่าวโทษซึ่งกันและกัน ว่าอีกฝ่ายเป็นคนไม่ดี ซึ่งเป็นการสรุปที่ผิด เพราะความจริงปัญหาเกิดขึ้นจากขาดความเป็นระบบและการจัดการที่ดี เมื่อสรุปผิด ยิ่งไปทำให้ความขัดแย้งบานปลายแก้ไขยากยิ่งขึ้น ที่จริงมหาวิทยาลัยเป็นดินแดนของปัญญาชน ปัญญาควรยังให้เกิดสุขและความสร้างสรรค์ยิ่ง แต่ปัญญาชนในมหาวิทยาลัย มีปัญญาเชิงเทคนิค และขาดปัญญาเชิงระบบและการจัดการ จึงเกิดปัญหาการทำงานร่วมกันในองค์กร ไม่เกิดความสุข และความสร้างสรรค์อย่างที่ควรเป็น

                บุคลากรในมหาวิทยาลัยทำงานอยู่ในองค์กร แต่ขาดความเป็นองค์กร ความเป็นองค์กรประกอบด้วยจิตสำนึกองค์กร พฤติกรรมองค์กร และความสามารถเชิงการจัดการงานในองค์กร เมื่อขาดความเป็นองค์กร งานในองค์กรก็ไม่เป็นระบบ แยกเป็นส่วนๆ เหมือนชำแหละขาดจากกัน การชำแหละสุกรหรือโคทำให้สิ้นชีวิต ความมีชีวิตเกิดจากการเชื่อมโยง ฉะนั้นการพัฒนาคือการเชื่อมโยง แต่ในเมื่องานต่างๆ ในองค์กรของมหาวิทยาลัยไม่เชื่อมโยงกันเป็นระบบ ก็เปรียบประดุจรถยนต์ที่เครื่องหลุด ถึงจะเร่งเครื่องก็วิ่งไม่ได้ ฉะนั้นการบริหารมหาวิทยาลัยจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก หรือบริหารไม่ได้ สภามหาวิทยาลัยก็ทำอะไรไม่ค่อยได้มาก ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับเชิญมาเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย เป็นจำนวนมากบ่นว่ามหาวิทยาลัยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิไม่คุ้มค่า หลายคนเบื่อหน่ายก็ไม่มาประชุมหรือลาออกไป เพราะไม่สามารถช่วยทำงานที่มีความหมายได้

                แม้เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการมาเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ ซึ่งมีอิสระในการบริหารจัดการตนเอง สถานการณ์ในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ก็ยังเหมือนเดิม เพราะยังเป็นองค์กรที่ขาดความเป็นองค์กร หรืองค์กรที่มีความเป็นระบบ    เพราะฉะนั้นจุดสำคัญจึงอยู่ที่ความเข้าใจ ความเป็นองค์กร และการพัฒนาให้เกิดความเป็นองค์กร (Organization Development)

อ่านต่อได้ที่ (



วิจารณ์ พานิช

๑๘ มิ.ย. ๖๒


University system from Pattie KB
หมายเลขบันทึก: 664396เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2019 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2019 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท