เรื่องเล่า คุณหมอหัวใจ SHA “สื่อสารอย่างอ่อนโยน ช่วยผ่อนปรนความทุกข์ได้”


                        เรื่องเล่าเร้าพลังที่วันนี้กุ้งอยากชวนให้อ่าน เป็นเรื่องราวการทำงานร่วมกับทีมศัลยแพทย์ผ่าตัดสมอง เมื่อมีหนูน้อย palliative care มาให้ร่วมดูแลที่เป็นเคสอุบัติเหตุ จริงๆ การเป็นพยาบาล Palliative care ที่ต้องดูแลเด็ก เราเองก็ต้องใจแข็ง และมีพลังภายใจเยอะพอสมควร จะไปรับเคสก็มี แว๊บเข้ามาบ้างว่า เคสแบบนี้เศร้าจัง เช่นเดียวกับวันนี้ นาทีแรกที่เข้ารับเคส เรื่องราวของ อุบัติเหตุเกิดขึ้นตอนตี 4 ขณะเดินทางไปทำธุระที่จังหวัดเลย คนขับและภรรยาเสียชีวิตในที่เกิดเหตุหนูนั่งตักคนที่เสียชีวิตที่นั่งข้างคนขับ . "เหตุเกิดเมื่อวานนะครับ ทุกคนยังเหนื่อยอยู่เลย หมอเข้าใจ”      คำกล่าวทักทายประโยคแรกของคุณหมอ ก็เชื้อเชิญให้พยาบาลที่นั่งฟังด้วยให้รู้สึกอยากฟังต่อ และครอบครัวของหนูน้อยก็คงรู้สึกเช่นเดียวกัน (มี small talk)

“สมองน้องเสียหายค่อนข้างเยอะ เสียหายทั้งสองข้าง โดยปกติเด็กจะฟื้นตัวดีกว่าผู้ใหญ่ ฟื้นตัวมาดีที่สุดคือเค้าอาจจะนอนติดเตียง ต้องมีคนดูแลตลอด 24ชั่วโมง ระยะยาวหมอยังบอกไม่ได้และวันนี้มีข่าวไม่ค่อยดี แต่หมอจำเป็นต้องบอกครอบครัวทราบ "  (warning shot)

                       “อาการของน้องตอนนี้หลังผ่าตัดเปิดกะโหลกลดความดันในหัวแล้ว ตอนนี้ต้องรอดูไปก่อนหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์จะกล้าพูดได้มากขึ้นว่าอาการจะเป็นไปในทิศทางไหน ต้องบอกกันเป็นรายชั่วโมง ครอบครัวอยากให้หมอทำเต็มที่ ซึ่งถ้าอาการไม่ดีขึ้นเราจะมาบอก” (tell the truth และมีนัดหมายใหม่)วันแรกของการพบครอบครัวเพื่อบอกข่าวที่ไม่ค่อยดีก่อนที่จะเดินจากมา พยาบาลก็เหลือบมองไปเห็นรอยแผลตรงหน้าผากคุณแม่ ใบหน้าบวมฉึ่ง พูดไม่ชัดเพราะยังเจ็บจากแรงกระแทกหนำซ้ำเดินก็ยังซวนเซ “2วันหนูยังไม่ได้อาบน้ำ แผลก็ยังไม่ได้ทำ”งั้นเดี๋ยวจะพาไปฉุกเฉินนะคะ ทำบัตรใหม่เพื่อทำแผลให้เรียบร้อยเดี๋ยวติดเชื้อมาจะลำบากอีก” ญาติทุกคนจึงรอเพื่อให้แม่ได้ทำแผลก่อนที่จะขอตัวกลับเพื่อไปร่วมงานเผาศพของ สองสามีภรรยาเจ้าของรถที่หนูนั่งมาด้วยเราปล่อยเวลาช่วงข้ามคืนให้ครอบครัวได้คิด และใช้เวลาคุณภาพกับหนู วันต่อมา คนที่เป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญคือคุณย่าคุณย่ายังขอบนบาน ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ช่วยหวังว่าจะมีปาฏิหาริย์ ช่วงกลางคืนความดันหนูเริ่มตก และคุณหมอก็ได้ทำตามความต้องการของครอบครัวคือขึ้นยาช่วยกระตุ้นความดันถึงแม้จะมองว่ามันอาจจะเป็นการรักษาที่ไม่ก่อประโยชน์แต่ทีมก็ทำเพื่อเคารพการตัดสินใจของครอบครัวแต่แล้วในที่สุดปาฏิหาริย์ ก็ไม่มีจริง

ขอให้หนูหลับพักให้สบายนะ หนูน้อย PALLIATIVE CARE

อ่านแล้วอาจทำให้เศร้าๆ  ต้นไม้ใบเขียว อาจพอให้ สบายตาและเย็นใจลงนะคะ
 

Cr.ภาพ กุ้งนางเอง ฝีมือการกดชัตเตอร์ 
 

อีกหนึ่งการเยียวยาคนทำงาน 
 

หมายเลขบันทึก: 664082เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2019 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2023 13:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ชอบเรื่องเล่าแบบนี้สุดยอดมาก

เล่าไปเรื่อยๆนะคน้องกุ้ง มีที่ให้ฝึกฝน เราจะเป็นสมุดบันทึกที่มีชีวิต

ฝากเล่าการตั้ง CoP Palliative care in pedriatric ด้วยนะคะ

ตามพี่แก้วมาติด ๆ ตื่นเช้ามากผมว่า เวลาเราคิดแบบ เอาใจเขามาใส่ใจเรา สัมพันธภาพจึงดีมาก แต่หลายครั้งเราก็จะลืมตัว เอาตัวเราเป็นใหญ่งดงามมากครัง บันทึกนี้

กราบขอบพระคุณทีมเชียร์ ทั้งสามท่านนะคะ คิดถึง อาจารย์เต็มมากๆๆค่ะ ส่วนอาจารย์ ขจิต กับพี่แก้วนั้นเราเจอกันทุกวัน ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท