การขุดคลองในสมัยรัชกาลที่ 5


    สมัย ร.5 เป็นสมัยที่ส่งเสริมการทำนาในทุกด้านมากกว่าสมัยใด แต่จะขอกล่าวเฉพาะเรื่องการขุดคลองขยายเนื้อที่ทำนา เพราะข้าวเป็นสินค้าสำคัญของประเทศ มีทั้งคลองที่รัฐบาลขุดเอง และอนุญาตให้เอกชนขุด

คลองที่รัฐบาลขุดเองได้แก่ คลองนครเนื่องเขตร์(พ.ศ.2419) ได้ที่นาเพิ่มขึ้น 32,400 ไร่ คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองทวีวัฒนา(พ.ศ.2421) ทำให้สามารถขยายพื้นที่ให้ราษฎรทำนาสองฝั่งคลองมากขึ้น นอกจากนี้ก็มีคลองนราภิรมย์ เป็นต้น ใน 10 ปีแรกของสมัย ร.5 ขุดคลองได้ 5 คลอง ข้าวมีผลผลิตมากขึ้น ส่งข้าวออกเพิ่มขึ้นจาก 1,870,000 หาบ ใน พ.ศ.2412-2417 เป็น 3,530,000 หาบ ในช่วง พ.ศ.2418-2422 และราคาข้าวขยับขึ้นจากหาบละ 2-70 บาท ในช่วง พ.ศ.2412-2417 เป็น 2-90 บาท ในช่วง พ.ศ.2418-2422 ราคาข้าวสูงขึ้นทำให้ราคาที่ดินเขยิบตัวสูงขึ้นด้วย

เมื่อ ร.5 เชิญให้ผู้มีทุนทรัพย์มาช่วยขุดคลองพัฒนาที่ดิน พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ซึ่งเป็นพระราชนัดดา ร.4 จึงได้ร่วมกับนายโยกิม แกรซี วิศวกรชาวอิตาลี พระนานาพิธภาษี และนายยม ตั้งบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ขึ้น และตกลงทำสัญญาขุดคลองในเดือนมกราคม 2431 โดยได้รับอนุญาตให้บริษัทผูกขาดการขุดคลองได้ทั่วราชอาณาจักรถึง 25 ปี

งานสำคัญของบริษัทขุดคลองแลคูนาสยามคือ การขุดคลองบริเวณทุ่งรังสิต และทุ่งดงละคร ที่อยู่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำนครนายก รวมเป็นพื้นที่ถึง 1,500,000 ไร่ บริษัทฯใช้เงินลงทุนกว่า

ล้่านบาท และได้ที่ดินริมคลองนำไปขายต่อเป็นค่าตอบแทน

(ธเนศ ขำเกิด ประมวลสรุปจากหนังสือของ ....รศ.วิไลเลขา ถาวรธนสาร และคณะ. พื้นฐานวัฒนธรรมไทย.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2555)

หมายเลขบันทึก: 663070เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2019 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2019 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

… ในเวลาต่อมา.. คลองเหล่านี้ถูก ถมมาทำถนน.. ใส่ท่อระบาย น้ำที่เล็กกว่าขนาด ที่จะมีประโยชน์ใช้สอยในความเป็นจริง… มีตึกแถวรามบ้านช่อง ดาษดื่นมากมาย.. ไม่มีระเบียบแบบแผนทางผังเมืองที่ถูก ต้อง..สภาพที่เกิดความเดือดร้อน ที่เห็นได้ชัดแจ้งเป็นที่ประจักษ์.. ผล ของการกระทำ ที่ ไม่เข้าใจ ธรรมชาติ.. และสิ่งแวดล้อม…. (5555..มีเหตุที่ซ่อนอยู่..คือ คอรัปชั่น.. อิอิ)..

พอพูดถึงคลองรังสิต ดินแดนในอดีตที่มีทุ่งนาเขียวขจีพอถึงฤดูเก็บเกี่ยวกลายเป็นทุ่งรวงทองที่อุดมสมบูรณ์เพราะแหล่งน้ำที่เกิดจากน้ำพระทัยของร.5 มองเห็นประโยชน์ที่จะเป็นอู่ข้าวอู่น้ำในกาลข้างหน้า ให้ชาวนา ชาวสวนได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทั้งหมดได้เต็มที่ จึงมีคลองซอยตั้งแต่คลอง 1 เป็นต้นไปเชื่อมถึงกันทั้งอำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวงและอำเภอลำลูกกา แต่วันนี้เห็นสภาพคลองรังสิตแล้วใจหาย ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบปล่อยให้พื้นที่กล่าวกลายเป็นพื้นที่อยู่อาศัยตลอดแนวคลอง จากหนึ่งหลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนมีบ้านเรือนปลูกสร้างริมคลองตลอดแนว จะสร้างกำแพงกั้นน้ำ จะลอกคูคลอง จะทำถนนเรียบคลอง ทำได้ลำบากกระทบกระทั่งกับผู้บุกรุก นอกจากนี้เรายังปล่อยให้พื้นนาที่อุดมสมบูรณ์ต้องกลายเป็นอาหารโอชะของนายทุนที่กว้านซื้อเพื่อเอามาทำบ้านจัดสรรกัน บ.บ้านจัดสรรจึงเกิดขึ้นเต็มไปหมดตลอดแนวคลองและแนวคลองย่อยๆที่เชื่อมทั้งสามอำเภอ คลองรังสิตที่เคยใช้อุปโภคบริโภคได้ในอดีต วันนี้กลายเป็นที่รองรับน้ำเสียจากบ้านจัดสรร น่าเสียดายพื้นที่ทองของไทยที่เปลี่ยนไปยากที่จะเอากลับคืนมาได้ ไม่รู้จะโทษใคร…ยุคสมัยเปลี่ยน การเมืองเปลี่ยน เศรษฐกิจ สังคมเปลี่ยน อะไรๆก็เปลี่ยนไป…

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท