เข้าร่วมโครงการ สัมมนาบูรณาการการศึษษแบบองค์รวม เพื่อการพัฒาบัณฑิตที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ ๒๑ (๓) : การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน


ช่วงสาย ๆ ของวันที่ ๕ ก.ค. ๖๒ เป็นช่วงเวลาที่ผมรอคอยมากที่สุดสำหรับการสัมมนาครั้งนี้ เป็นการเปิดเวทีให้แต่ละมหาวิทยาลัยออกไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดี (Good Practice) ของตนเอง  เสียดายที่มีเวลาเพียงมหาวิทยาลัยละ ๑๐ นาที เท่านั้น  ผมนำเรื่องขับเคลื่อนการศึกษาทั่วไป ไปนำเสนอ โดยตั้งชื่อว่า "การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน"

ความจริง การศึกษาทุกระดับ ทุกหลักสูตร ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐาน อุดมศึกษา สาขาวิชาชีพ หรือการศึกษาอะไรก็ตาม ควรจะเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งหมด หลายคนคงนึกถึง SDGs (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ  ... ผมเสนอต่อที่ประชุมว่า นิสิตทุกคนควรจะนึกถึง SEP (Sufficiency Economy Philosophy) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพราะในหลวง ร.๙ ของเรา ทรงทำให้เห็นเป็นตัวอย่างจนได้รับการยอมรับจากคนทั้งโลกแล้ว คนไทยทุกคนควรจะภูมิใจในเรื่องนี้ และศึกษาและนำมาปฏิบัติ

การศึกษาทั่วไป มีจุดมุ่งหมายเพื่อ สร้างบัณฑิตให้เป็นคนที่สมบูรณ์ เป็นผู้มีจิตใจสูง (ดังคำสอนของหลวงพ่อสุบรรณ์ ท่านเทศน์ไว้ในบันทึกแรกที่นี่) การศึกษาเพื่อพัฒนาสู่เป้าหมายนี้ จำเป็นต้องจัดการศึกษาแบบองค์รวม (Horistic Educaiton)  รวมทุกสิ่งอย่างมาสู่ก้าวย่างแห่งการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  ซึ่งอาจแบ่งเป็น ๓ แนวทางการจัดการเรียนรู้ดังภาพ

  • มีวิชาที่เน้นให้นิสิตรู้รอบ รู้กว้าง รู้โลก รู้สังคม  แม้จะเป็นการสอนเชิงบรรยายแบบถ่ายทอดความรู้ แต่ก็เน้นไปที่องค์ความรู้ที่จำเป็นที่นิสิตทุกคนควรต้องรู้   
  • รายวิชาส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่การฝึกทักษะ โดยเฉพาะจริยะทักษะ (Soft Skills) ซึ่งจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning หลากหลายรูปแบบ ทั้ง 
    • Project-based Learning  การเรียนรู้บนฐานโครงการ  เรียนรู้ผ่านโครงการ เช่น รายวิชาภาวะผู้นำ รายวิชาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ 
    • Problem-based Learning  การเรียนบนฐานปัญหา หรือ PBL  เรียนรู้ผ่านโครงการหรือโครงงานแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย หรืออยู่ในชุมชน 
    • Service-based Learning การเรียนรู้ผ่านการบริการสังคม เช่น รายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ฯลฯ 
    • Community-based Learnng การเรียนรู้ผ่านชุมชน ใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้  เช่น รายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน (ของบางสาขา/หลักสูตร) 
    • Activity-based Learning การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมในชั้นเรียน เช่น รายวิชาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิชาความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ ฯลฯ 
  • รายวิชาเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายใน (Transformative Learning)  เน้นไปที่การเรียนรู้ฐานใจ เช่น รายวิชาศิลปะวิจักษ์ รายวิชาความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ เป็นต้น 
สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คิดอ่านเรื่องนี้มาตั้งแต่ ๔ ปีที่แล้ว เรากำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตที่คาดหวังไว้ ๙ ประการ ดังรูป 

  • ทั้ง ๙ ข้อนี้ คือคุณลักษณะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ของ มมส.  แต่ละข้อจะมีรายวิชาที่เป็นจุดเดน้นฝึกฝนให้นิสิตพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายแต่ละข้อนั้น ๆ 

  • ภาพด้านบนนี้  คือรายวิชาต่าง ๆ ตามหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป พ.ศ.๒๕๕๘  ที่นำมา Mapping กับ เป้าประสงค์ ๙ ประการข้างต้น  
  • ดูเหมือนจะมีรายวิชาจำนวนมาก แต่จริง ๆ แล้ว  มีวิชาในหมวดหลักอยู่เพียง ๒๑ วิชา เท่านั้น นอกนั้นเป็นวิชาเลือก (ใช้อักษรสีน้ำเงิน) ที่ให้เลือกเรียนเพียง ๑ วิชาเท่านั้น  
  • จุดเด่นของหลักสูตรนี้ จึงเป็นเอกภาพในการขับเคลื่อนและปลูกฝังนิสิตอย่างมีทิศทาง 
  • ขอยกตัวอย่างบางรายวิชาต่อไปนี้ ที่เราทำกันมาอย่างต่อเนื่อง

  • รายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน  เป็นวิชาบังคับเลือก (มีเพียง ๑ วิชาในกลุ่มสหศาสตร์ ต้องเลือกเรียน ๑ วิชา)  เพื่อมุ่งส่งเสริมการปลูกฝังอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย  
  • ประมาณดั่งว่า  ผู้ที่จบการศึกษามหาวิทยาลัย เป็นบัณฑิต จะคิดและทำอย่างผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน 

  •  คำนี้ยิ่งใหญ่ คนที่อ่านแล้ว ฟังแล้ว รู้สึกว่าสูงเกิดไป  นั่นไม่ใช่เพราะเป้าหมายที่ห่างไกล แต่เป็นเพราะใจของผู้อ่านเองที่ยังไม่มั่นใจว่าเราจะสามารถไปใกล้ได้เพียงพอ 

  • ผมนำเสนอแผนการสอนของรายวิชานี้คร่าว ๆ ทั้ง ๑๗ สัปดาห์ และบอกว่า หากสนใจสามารถไปค้นอ่านได้ทางอินเตอร์เน็ต  (เช่น ที่นี่ เป็นต้น) 
  • ผมเคยถอดบทเรียนความสำเร็จของคณะต่าง ๆ ไว้  ลองค้นหาได้ เช่น คณะพยาบาลศาสตร์ ที่นี่  คณะศึกษาศาสตร์ที่นี่ เป็นต้น 

  • ทุก ๆ ปลายภาคเรียน รายวิชานี้จะจัดมหกรรมนำเสนอผลงานและผลการเรียนรู้ เพื่อให้นิสิตจากทุกคณะได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  

  • วิชา ๐๐๓๒๐๐๔ ความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้  เป็นวิชาฐานกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้จากภายในจิตใจ โดยใช้กิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาเป็นเครื่องมือ  ซึ่งต้องใช้ห้องเรียนที่นิสิตสามารถยืน เดิน นั่ง นอน ได้สะดวก  (สนใจอ่านต่อที่นี่ครับ)

  • กิจกรรมสุนทียสนทนา  ที่นิสิตกลุ่มละ ๔ คน หันหน้าหากัน ฟังกันอย่างลึกซึ้ง ตั้งใจ ชื่นชม ไม่ตัดสิน  เป็นกิจกรรมที่เราทำกันเป็นปกติในรายวิชานี้  

  •  วิชาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  สอนเกี่ยวกับความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ท่านใดสนใจดาวน์โหลดเอกสารประกอบการสอนได้ที่นี่

  • ความพอเพียง คือ ความรู้กับคุณธรรม หากบุคคลใดมีนิสิตแห่งการใช้ความรู้ และอยู่อย่างมีคุณธรรม ก็ถือว่าเป็นบุคคลพอเพียงแล้ว  
  • ความพอเพียง ถ้าเกิดขึ้นจริง สิ่งที่จะเห็น ก็คือความสมดุลและมีภมูิคุ้มกันพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกได้   หรือก็คือ จะเกิดความยั่งยืนขึ้นนั่นเอง 
  • ดังนั้น SDGs ก็คือเป้าหมายของการนำ SEP ไปปฏิบัตินั่นเอง 
  • รายวิชานี้จึงเป็นวิชากำลังสำคัญหลักอย่างหนึ่งของการศึกษาทั่วไป ที่ทุกมหาวิทยาลัยควรจะมี 

  • ทุก ๆ ปลายภาคเรียน รายวิชานี้ จะมีการจัดเวทีนำเสนอผลงาน ให้นิสิตนำผลงานในโครงการธุรกิจพอเพียงมานำเสนอ  ... ซึ่งกำลังพัฒนาต่อไป เป็น "ตลาดนัดพอเพียง" ในไม่ช้านี้  
  • ลองชมผลงานบางส่วนของนิสิตจากรายวิชานี้ คลิกที่นี่ 

  • วิชาสุดท้ายที่ผมนำเสนอต่อที่ประชุมสัมมนา (ด้วยเวลาจำกัดเพียง ๑๐ นาที) คือ รายวิชาภาวะผู้นำ   เป็นวิชาที่จัดการเรียนการสอนแบบ PBL โดยเฉพาะการเขียนโครงการ เราเน้นให้นิสิตเขียนโครงการเป็น และเน้นให้ได้ลงมือปฏิบัติอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยเป็นหลัก (ท่านใดสนใจคลิกค้นอ่านได้ที่นี่)

  • ตัวอย่างนี้ เป็นโครงการบำเพ็ญประโยชน์ของนิสิตกลุ่มหนึ่ง  พวกเขาสร้างโครงการระดมกำลังนิสิตจิตอาสาจากคณะต่าง ๆ  มาร่วมกันพัฒนาตลาดน้อย ล้างทำความสะอาดพัดลม  ร่วมกับกองอาคารสถานที่  
ขณะที่ผมเขียนบันทึกนี้ โลกก็กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ไม่น่ากลัวเท่ากับ ความโลภของคนที่เติบโตรวดเร็วกว่า  บางอันกลายมาเป็นนโยบายที่กำลังจะถูกใช้ขับเคลื่อนประเทศ  ผมมีความเห็นว่า การศึกษาทั่วไป คือความหวังที่จะฉุดรั้งหรือทำลายความโลภและความเห็นแก่ตัวในตน ในคนที่จะเป็นบัณฑิตต่อไปได้ ไม่มากก็คงไม่น้อย .....

ท่านใดที่อ่านมาถึงตรงนี้ อยากจะเป็นเครือข่ายการศึกษาทั่วไป เขตพื้นที่อีสานตอนบน เชิญมาคุยลุยกันทางไลน์ครับ 

หมายเลขบันทึก: 662521เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2019 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2019 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท