์Note ความคิดจากฟัง: ศ สมจิต หนุเจริญกุล พูดถึง APN


การเตรียมผลงานเพื่อการเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง

โครงการประชุมวิชาการครั้งที่ 1/2562 วันที่ 4-5 กรกฎาคม 2562 การเตรียมผลงานเพื่อการเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง


บทบาทของผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลหรือผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในระบบสุขภาพ

  • ศ สมจิต หนุเจริญกุล ได้บรรยาย ถึงภาวะสุขภาพของคนทั่วโลกจะป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากขึ้น เพราะพฤติกรรมสี่อย่างจากการสูบบุหรี่ กินอาหาร การขาดการออกกำลังกายและดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นพยาบาลที่สามารถทำงานเชิงระบบเพื่อให้การดูแลแบบบูรณาการได้จะตอบโจทย์การทำงานในปัจจุบันและอนาคต การทำงานของ APN จะต้องคงความเชี่ยวชาญทางคลินิกเพราะเป็นบทบาทสำคัญและเป็นหัวใจของเอพี่เอ็น แต่เมื่อทำงานระยะหนึ่งสามารถเป็นผู้บริหารระดับหัวหน้าฯได้ แต่ไม่ควรทิ้งการดูแลผู้ป่วย 

ทำไม สภาการพยาบาลจึงเปลี่ยนนโยบายการสอบเอพี่เอ็น

  • การพัฒนาช่วงแรกเพื่อให้มีเอพี่เอ็นอยู่ในระบบ ต่อมาเราจึงต้องการพัฒนาให้มีคุณภาพต่อเนื่อง สามารถพัฒนาบทบาทให้เหมาะสมและทำงานได้จริงในคลินิกและทำงานครอบคลุมบทบาท 1 specialization 2 expandtion 3 advancement of practice ใช้งานวิจัยมาแก้ปัญหาในคลินิกได้
  • การเลือกประชากรกลุ่มเป้าหมายของเอพี่เอ็น ควรเลือกประชากรกลุ่มเป้าหมายหลักๆไว้ เช่น กลุ่มเบาหวาน มะเร็ง เคมีบำบัด หัวใจ ไตฯลฯ


บันไดความก้าวหน้าของพยาบาลในประเทศไทย

  • พยาบาลทั่วไป (GP) จบปริญญาตรี
  • พยาบาลเฉพาะทาง เข้าหลักสูตรอบรมเฉพาะทางหลังจากจบ ป ตรี
  • APN มีสองอย่าง คือ 1) กลุ่มที่พัฒนาตนเอง มีประสบการณ์สามปี ทำวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติของพยาบาล งานวิจัยโดยพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล หรือวิจัยเชิงบรรยายที่ชี้นำนโยบาลได้ ตีพิมพ์ในวารสารที่ สกอ รับรองร่วมกับศึกษาเคสซับซ้อน 5 เคส นำเคสมาสอบสามเคส หลังจากยื่นคุณสมบัติผ่านร่วมกับสอบทฤษฎีผ่าน จะได้หนังสืออนุมัติความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาล และ2) เข้าเรียนในหลักสูตร DNS ได้วุฒิบัตรเทียบเท่าปริญญาเอก  


เนื้อหาอื่นๆสามารถอ่านเพิ่มเติมใน 20190721071214.pdf


จะเห็นว่าอาจารย์ยังมีพลังมากมายที่ถ่ายทอดให้พยาบาลก้าวเดินต่อไปค่ะ

.........

อุบล จ๋วงพานิช

8 กรกฎาคม 2562

เอกสารบรรยาย

20190721071214.pdf

หมายเลขบันทึก: 662515เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2019 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2019 07:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท