การฝึกทักษะการฟัง 5 ประการที่จำเป็นต่อผู้เรียนภาษาอังกฤษ


เหตุใดการฟังจึงมีความสำคัญ

มันจะไม่สำคัญแต่อย่างใดเลย หากทักษะการฟังต้องใช้ถึง 45% เปอร์เซ็นต์ในการที่ผู้ใหญ่ใช้ในการสื่อสาร ทักษะการฟังสำคัญยิ่งกว่าทักษะการพูด ที่ต้องใช้แค่ 30% และการอ่านหรือการเขียนที่ใช้เพียงแค่ 16% เท่านั้น

แต่ถึงจะมีความสำคัญอย่างไร นักเรียน (หรือแม้แต่ครู) บ่อยครั้งที่จะไม่ให้ความสนใจอย่างที่ควรจะเป็น แต่เหนือสิ่งอื่นใด ทักษะการฟังเป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุดในทักษะทางภาษาอังกฤษ

การท้าทายเรื่องการฟังสำหรับผู้เรียนภาษา

มีความยุ่งยากกับบางผู้คนเมื่อต้องเข้าใจภาระงาน (task), บทบรรยาย (lecture), หรือบทสนทนา (conversation) ในภาษาที่สอง (หรือแม้แต่ภาษาที่ 1 เอง) ผู้พูด, สถานการณ์, และผู้ฟังอาจเป็นปัญหาในทักษะการฟังได้ทั้งนั้น

หากจะแยกปัจจัย ก็จะมี ผู้พูดพุดอย่างรวดเร็ว, สภาวะแวดล้อม, การขาดภาพที่ทำให้เราเดาได้ (เช่นพูดกันทางโทรศัพท์), การขาดคำศัพท์ของผู้ฟัง, การขาดความรู้เรื่องหัวข้อ (topic), และความไม่สามารถแยกเสียงเป็นตอนได้ (inability to distinguish individual sounds).

ในขณะที่ข้อท้าทายเหล่านี้จะตกอยู่กับผู้พูด หรือสถานการณ์ แต่ผู้ฟังจำเป็นต้องมีทักษะเหล่านี้เพื่อช่วยทำความเข้าใจการฟังได้ดียิ่งขึ้น

1. ทำนายเนื้อหา (predicting content)

จินตนาการว่าเธอเพิ่งเปิดโทรทัศน์ เธอเห็นชายคนหนึ่งสวมสูทหน้าแผนที่ขนาดใหญ่พร้อมกับสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์, เมฆ, และฟ้าผ่า เธอลองเดาสิว่าชายคนดังกล่าวจะพูดอะไร? โดยส่วนใหญ่แล้วนี่น่าจะเป็นการพยากรณ์ภูมิอากาศ เธอคาดหมายได้ว่าจะได้ยิน มีแดดแรง, มีลมแรง, และการพยากรณ์ บางครั้งเธออาจได้ยินกาลเวลาในอนาคต เช่น มันจะอากาศหนาวในวันนั้น น่าจะมีฝนตกในตอนบ่าย ฯลฯ

การคำนึงถึงบริบท เช่นการรายงานข่าว, การบรรยายทางมหาวิทยาลัย, การต่อรองในซูเปอร์มาร์เก็ต ฯลฯ บ่อยครั้งที่เธอสามารถทำนายถึงคำบางคำและภาษาที่ผู้พูดใช้ ความรู้เกี่ยวกับโลกของเราช่วยเราในการทำนายชนิดของข้อมูลที่เรากำลังจะได้ยิน ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเราทำนายถึงหัวข้อของการสนนาหรือการพูด, และความรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องที่เราเก็บไว้ในสมองจะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่ฟังได้ดียิ่งขึ้น

การฝึกทำนายเนื้อหา

ดูหรือฟังรายการทีวีที่ได้บันทึกเอาไว้ หรือคลิปจากยูทูป หยุดหลังจากฟังสัก 2-3 ประโยค พยายามที่จะทำนายว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป หรือสิ่งที่ผู้พูดน่าจะพูดต่อไป

ทิป

หากคุณกำลังจะทดสอบการฟัง จงดูคร่าวๆในเรื่องคำถาม และพยายามที่จะทำนายข้อมูลที่เราจะได้ยินว่าเป็นเรื่องอะไร เช่นคำถามที่ถามว่า “มีอยู่เท่าไร” อาจเป็นตัวช่วยในการถามถึงปริมาณของสิ่งต่างๆ

2. การฟังภาพรวม (Listening for gist)

จินตนาการว่าเธอเป็นซูเปอร์ฮีโร่ที่กำลังบินในท้องฟ้า จากความสูง ภาพที่เราเห็นต้องเป็นภาพโดยรวม เช่น มีประชากรหนาแน่นหรือเปล่า? ลักษณะของบ้านในแต่ละพื้นที่ ฯลฯ

หากเราฟัง เราก็จำเป็นที่จะต้องได้ภาพรวม (whole picture) แต่ความแตกต่างที่สำคัญมีอยู่ประการเดียว ก็คือข้อมูลจะมาเป็นลำดับ (sequence) และลำดับของข้อมูล สิ่งที่จำเป็นก็คือ คำที่เป็นเนื้อหา (คำนาม, คำคุณศัพท์, และกริยา) ที่ทำให้คุณภาพรวมนั้นให้ได้ โดยมากแล้วเราจะเรียกว่าการฟังเพื่อภาพรวม

เช่น คำประเภทอาหาร, เพื่อนๆ, สวนสาธารณะ, และวันที่มีแสงแดด ซึ่งปกติแล้วจะมีความหมายของพวกมันเอง แต่เมื่อคุณเห็นลำดับขั้นของคำเหล่านี้ คุณน่าจะเดาได้ว่าบริบทเป็นเรื่องการไปเที่ยว (picnic)

การฝึกการฟังเพื่อภาพรวม

ให้หาวิดีโอขนาดสั้น และมีตัวบรรยายภาพเป็นหัวข้อที่เราสนใจ จงใช้ชื่อเรื่องซึ่งทำให้เราทำนายถึงเนื้อหา (content) และพยายามฟังเพื่อหาคำที่เป็นเนื้อหา (content words) กลับไปฟังใหม่ และฟังอีกครั้งพร้อมกับมีตัวบรรยายภาพ ตอนแรกคุณเข้าใจอะไรบ้าง? อีกหนึ่งอาทิตย์ กลับไปดูหรือฟังอีกรอบ แล้วทดสอบดูใหม่

ทิป

เมื่อคุณเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ พยายามที่จะจัดกลุ่มพวกมันในบริบทที่เหมือนกัน เราอาจใช้แผนที่ความคิด (mind map) เพื่อการทำก็ได้

3.  การดับจักตัวที่แสดงบริบท (Detecting signposts or context clues)

 ส่วนหนึ่งก็คล้ายๆกับสัญญาณไฟจราจร จะมีตัวแสดง (signpost) จำนวนมากในภาษา ซึ่งจะช่วยเราในการทำความเข้าใจถึงสิ่งที่เรากำลังฟังอยู่ ว่าฟังเรื่องอะไร หรือกำลังอยู่ตรงไหนแล้ว คำเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการนำเสนอผลงาน หรือการบรรยาย (presentation and lecture)

เช่น หากมีผู้บรรยายในมหาวิทยาลัยกล่าวว่า “ฉันกำลังจะพูดเกี่ยวกับปัจจัย 3 ประการที่ส่งผลต่อสภาวะโลกร้อน...” ต่อมาเราอาจได้ยินคำว่า อันดับแรก, ต่อไปยังปัจจัยที่, และโดยสรุป ที่เป็นตัวบ่งบอกเราว่าจะได้ยินเรื่องอะไรต่อไป คำอื่นๆและวลีอื่นๆสามารถทำหน้าที่ได้ในลักษณะเดียวกัน เช่น เพื่อทำให้ชัดเจนขึ้น คำที่ใช้แทนก็จะมี to put another way ยกตัวอย่าง คำพูดที่ใช้แทนก็จะมี to illustrate this or for example ตัวอย่างคำและวลีเหล่านี้ โปรดดูได้ใน http://www.bbc.co.uk/worldservice/learningenglish/business/talkingbusiness/unit3presentations/expert.shtml

การฝึกปฏิบัติเพื่อการดับจักตัวแสดงบริบท

หนังสือเรียนสำหรับเรียนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่แล้วจะมี CD และ audio script จงหาการนำเสนอเรื่องทางธุรกิจ หรือบทบรรยาย เพื่อหาว่าจะมีตัวแสดงบริบทเท่าไร (จงฟังให้มากกว่า 1 ครั้ง หากจำเป็น) ต่อจากนั้นตรวจสอบตัวแสดงบริบทกับ script

ทิป

ในบันทึกของคุณ จัดกลุ่มตัวแสดงบริบทตามหน้าที่ และเพิ่มคำหรือวลีใหม่ๆ หากพบเจอ

4. การฟังรายละเอียด (Listening for details)

จินตนาการว่าเธอเป็นนักสืบ ที่กำลังสืบค้นตึกหลายหลังตอนที่เธอกำลังเป็นซูเปอร์ฮีโร่อยู่ คราวนี้แทนที่จะเห็นภาพกว้าง แต่เธอกำลังดูบางสิ่งที่เป็นสิ่งเฉพาะ และปฏิเสธทุกอย่างที่ไม่เข้ากับความตั้งใจของคุณ

โดยนัยยะเดียวกัน เมื่อเธอกำลังฟังเพื่อหารายละเอียด เธอกำลังสนใจแต่ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง  บางครั้งอาจเป็นจำนวน, ชื่อ, หรือวัตถุ เธอจะต้องละทิ้งทุกสิ่ง ที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยนัยยะนี้เธอกำลังทำให้สิ่งที่ค้นหาแคบลง และได้รับรายละเอียดที่ต้องการ

ในการทำแบบทดสอบการฟัง หากเธอต้องเขียนอายุของผู้คน จงฟังคำที่เกี่ยวข้องกับอายุ (แก่, หนุ่มสาว, ปี, วันเกิด ฯลฯ) หรือตัวเลขที่นำเสนออายุของผู้คน หากเป็นบทสนทนา เธออาจคอยคนที่ถามว่า อายุเท่าไรด้วย

การฝึกการฟังเพื่อรายละเอียด

ตัดสินใจข้อมูลที่มีรายละเอียดที่คุณต้องการจะฝึก และดูโปรแกรมที่คุณคาดหมายว่าจะได้ข้อมูลนั้น เช่น เธออาจฟังการพยากรณ์อากาศเพื่อจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิอากาศ หรือเธออาจดูข่าวกีฬา

 เพื่อจะได้ผลการแข่งขัน เป็นต้น

ทิป

หากเธอต้องการทำแบบทดสอบ ทันทีที่คุณได้กระดาษคำตอบ (question paper), จงดูคำถามแบบเร็วๆ, ขีดเส้นใต้คำที่สำคัญ, และตัดสินใจชนิดของรายละเอียดที่เธอต้องค้นหาเมื่อกำลังฟัง

5. อนุมาน หรือสรุปความหมาย (infer meaning)

จงจินตนาการว่าเธอเป็นนักท่องเที่ยวในประเทศที่คุณไม่รู้จักภาษา ในภัตตาคาร เธอยื่น credit card เพื่อจ่ายเงิน แต่ผู้รับบริการกำลังขอโทษอะไรบางอย่างกับเรา ถึงแม้ว่าเธอจะไม่เข้าใจภาษา แต่เธอต้องเดาได้ว่าที่นี่ไม่รับ credit card แต่ต้องจ่ายเป็นเงินสด

นี่คือการสรุป หรือการลงความเห็นในเรื่องความหมาย จงใช้ร่องรอย (clue) หรือความรู้ก่อนหน้า (prior knowledge) เกี่ยวกับสถานการณ์เพื่อค้นหาความหมาย

โดยนัยยะเดียวกัน พวกเราสามารถสรุปถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน จากคำที่พวกเขาใช้พูดกัน โดยการบอกเป็นนัยๆ นี่เป็นตัวอย่างของการสนทนา

A: ทอม เธอทำการบ้านมาไหม?

B: ผมทำครับ แต่หมากัดมันไปเสียแล้ว

A: นั่นเป็นข้อแก้ตัวที่แย่มากๆ เธอไม่มีวันผ่านการทดสอบ หากเธอไม่พยายามให้มากกว่านี้

พวกเราสามารถสรุปได้จาก “การบ้าน” และ “การทดสอบ” ได้ว่านี่เป็นบทสนทนาหระหว่างนักเรียนกับครู โดยการใช้ร่องรอย (clue) และความรู้เชิงสถานการณ์ เราจึงสามารถสรุปได้ว่าใครกำลังคุยอะไรกับใคร

การปฏิบัติการสรุปความหมาย (Practicing inferring meaning)

จงค้นหาคลิปจากยูทูปที่เป็นรายการเกมโชว์ที่มีชื่อเสียง ตัวอย่างเช่นในเรื่องที่เกี่ยวกับ Friends เมื่อได้รับคลิปมาแล้ว แทนที่จะดู แต่ให้ฟังบทสนทนา คุณสามารถสรุปได้ไหมว่าอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง?, ใครกำลังพูดอยู่? และความสัมพันธ์เป็นอย่างไร? เมื่อทำเสร็จแล้วให้ดูคลิป และดูมันด้วย การสรุปของเธอถูกต้องหรือไม่?

ทิป

หากคุณได้ยินคำที่ไม่รู้ความหมาย พยายามเดา โดยใช้บริบทหรือสถานการณ์เป็นตัวช่วย แต่อย่ากังวลหากทำไม่ได้ในตอนแรก สิ่งนี้เหมือนกับทุกๆอย่างในชีวิต ยิ่งฝึกมากเท่าใด ก็ยิ่งดีขึ้นเท่านั้น!

บทสรุป

ยุทธวิธีเหล่านี้ไม่ใช่ต้องทำแบบแยกส่วน ในขณะที่การเดาเป็นทักษะขั้นพื้นฐาน แต่ทักษะอื่นๆสามารถใช้พร้อมๆกันไปได้ เพื่อที่ได้สิ่งที่เข้าใจมากที่สุดเมื่อกำลังฟัง

แปลและเรียบเรียงมาจาก

Raphael Ahmed . Five essential listening skills for English learners

https://www.britishcouncil.org/voices-magazine/five-essential-listening-skills-english-learners?utm_source=facebook&utm_medium=social&utm_campaign=bc-learnenglish

หมายเลขบันทึก: 662399เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2019 18:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2019 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท