ชีวิตที่พอเพียง 3454. ไปสวิส ๒๕๖๒ ๔. การประชุม 4th PMAC 2020 Preparatory Meeting Day 2



            ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒

                วันนี้ นพ. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ทำหน้าที่ประธาน    เริ่มจากการให้เวลา ๓๐ นาที  ให้แต่ละ Subtheme ประชุมตกลงกันบรรจุบทคัดย่อลงในแต่ละ session โดยให้มีความยืดหยุ่นได้     หลังจากนั้นแต่ละ subtheme นำเสนอผลการประชุม ต่อที่ประชุมใหญ่    

                ระหว่างการประชุม ผมเกิดแนวความคิดว่า  ทีม secretariat สามารถใช้ abstract ในการจัดการความเชื่อมโยงภายในประเทศที่เป็นแหล่ง abstract เพื่อใช้ PMAC เป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อน implementation   หากผู้ส่ง abstract เป็นนักวิชาการ  ทีม secretariat หาทางเชื่อมโยงคนจากฝ่ายปฏิบัติมาร่วมประชุม และให้ข้อมูลจากฝ่ายปฏิบัติ    รวมทั้งนำสาระจาก PMAC ไป implement ในประเทศ    โดย PMAC Secretariat อาจพิจารณาจัดการด้าน PMAC implementation และจัด Side Meeting ใน PMAC ๑ - ๒ ปีให้หลัง    ก็จะช่วยให้ impact ของ PMAC สูงขึ้น    แต่ภาระด้านการจัดการจะสูงขึ้นมาก    และผลขึ้นกับความเอาจริงเอาจังของประเทศนั้นๆ 

                 หลังพัก ๑๕ นาที ประชุมต่อด้วยการนำเสนอ Plenary 0 โดยผู้แทนจากรัฐบาลญี่ปุ่น    เป้าหมายเน้นที่การดำเนินการในระดับประเทศ เพื่อการบรรลุ UHC   โดยเขามีรายชื่อผู้ยิ่งใหญ่ ๒๖ ชื่อ   หลังการนำเสนอมีคนเสนอเพิ่มชื่อ และคัดค้านบางชื่อ   การอภิปรายโดยคณะกรรมการในวันนี้ ไปในทางที่ผู้พูดจะมาจาก ๓ กลุ่ม คือ ผู้นำประเทศ  ผู้รับผลประโยชน์ (ผู้ด้อยโอกาส)   และ นักวิชาการ         

             ตามด้วยการนำเสนอ session ของแต่ละ Subtheme    เริ่มที่ Subtheme 2 : Sustainable Financing for Expanding and Deepening UHC   การนำเสนอลงรายละเอียดของ PL 2 (A SAFEr approach to health financing for UHC?)  และ PS2.1 – PS2.5    มีคนเสนอว่า ควรเน้นพูดเรื่องการขยาย fiscal space เพื่อ UHC  เช่น Sin Tax  และอาจมีวิทยากรจากไทย    แน่นอนว่า ในการประชุม มี “การเมือง” ระหว่างสมาชิกในที่ประชุม ในหลากหลายประเด็น    เช่นบางคนพยายามเสนอผู้พูดจากภาคประชาสังคม   บางคนพยายามเสนอผู้พูดจากบางภูมิภาคของโลก  

              ผมได้เรียนรู้เรื่อง Fiscal space ว่ามี ๔ ชั้นคือ fiscal space within health sector, fiscal space within government budget, expanding government budget, และ earmarked tax       

                 Subtheme 3 : UHC and the changing global landscape

                 Plenary 3 : UHC and the changing global landscape  

                 PS3.1 Tackling climate change while maximizing health impact,  PS3.2 Artificial intelligence, digital health, and other new technologies : opportunities and risks,  PS 3.3 Making Health Services Accountable to the People – a global trend?, PS3.4 Solidarity & UHC – Leadership for Change,  PS3.5 Making global trade policies work for UHC  

                 มีการเตรียมชื่อผู้ที่น่าจะเชิญเป็นวิทยากรในแต่ละ session   

                     

                 Subtheme 1 : Implementation Challenges and Innovative Solutions for UHC 2030

                 Plenary 1 ชื่อเดียวกันกับชื่อ subtheme

                 PS1.1 Strengthening health systems based on PHC – from vision to action

                 PS1.2 Investing in the heath workforce for the 21st century

                 PS1.3 Achieving UHC through strong local health systems  

                 PS1.4 Addressing the political economy of UHC 

                 PS1.5 Ensuring health promotion and disease prevention in UHC

             Site Visit

             นพ. จเด็จ เสนอร่างแผน รวม ๘ สถานที่ สำหรับวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๓   เชื่อมกับ Subtheme 1  ๓ สถานที่,  Subtheme 2  ๒ สถานที่,  และ Subtheme 3  ๓ สถานที่    นพ. วิโรจน์เสนอสถานที่อื่นเพิ่มเติมให้นำไปพิจารณา  

            

              Opening Keynote Speaker

              ขอคำแนะนำรายชื่อผู้ที่ควรพิจารณาเชิญ    ให้โอกาสผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นได้เสนอคนที่เขาอยากเชิญมาใน 2nd UHC Forum    ซึ่งจัดร่วมกับ PMAC 2020    และเขารับผิดชอบ PL0 แต่จำนวนคนพูดมีได้ไม่มาก    จึงมีโอกาสให้คนใหญ่คนโตบางคนเลื่อนมาพูดใน Opening Ceremony ซึ่งจะมีคนพูด ๓ คน    หนึ่งคนเป็นผู้ได้รับพระราชทานรางวัล 

            

               Commissioned Paper

              ผมงงมากที่องค์การอนามัยโลกเสนอโครงการขอเงินจาก PMAC Secretariat ห้าหมื่นเหรียญเพื่อทำงานรวบรวมข้อมูลที่เป็นหน้าที่ของตนอยู่แล้ว  

              อีกโครงการหนึ่งเป็นเรื่อง  The Political Economy of UHC เสนอโดย Jesse Bump แห่งมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด    ศึกษาจากการปฏิรูประบบสุขภาพใน ๖ ประเทศ คือ กาน่า  อินเดีย  เม็กซิโก  ฟิลิปปินส์  ไทย  และเตอรกี    โครงการนี้คนสนับสนุนมาก    

               ตอนบ่าย ทีม PMAC Secretariat ก็ส่งรายชื่อ Abstract จำนวน 22 ชิ้น    ที่ได้รับเลือกให้พูดใน PL หรือ PS    สะท้อนความเข้มแข็งในการทำงาน ทั้งของผู้เข้าประชุม และของ Secretariat     น่าชื่นชมมาก    PMAC 2020 จะก้าวไปข้างหน้าอีกขั้นหนึ่ง    เปิดช่องให้เป็นกลไกขับเคลื่อน action   ไม่ใช่แค่ talk only

 วิจารณ์ พานิช

๑๗ พ.ค. ๖๒

ห้อง ๒๐๖  โรงแรม Royal Plaza, Montreux


หมายเลขบันทึก: 662050เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2019 19:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2019 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท