เข้าใจ...เด็กอารมณ์อ่อนไหว


เมื่อวานได้ฟัง live เรื่องนี้(แชร์ไว้หน้าเพจเมื่อคืนค่ะ) และลูกบ้านนี้ก็เป็นเด็กอารมณ์อ่อนไหวเช่นกัน อ่านความคิดเห็น ก็เห็นใจ เข้าใจ หัวอกคนเป็นแม่ หรือผู้ดูแลเด็กกลุ่มนี้ เพราะก็เคยทุกข์ใจมากเช่นกัน? 

+
ด้วยความไม่เข้าใจลูก(เช่น ตัวเราและลูกนิสัยตรงข้ามกัน) อีกยังเข้าใจผิด เชื่อผิด เชื่อจากประสบการณ์ตัวเองบ้าง เชื่อเพราะฟังมาจากผู้คนในสังคมแวดล้อมบ้าง ใจบางๆ ก็ยิ่งบางเปราะร้าวไปกันใหญ่
+
ดังนั้น ชวนกันมาทำความเข้าใจเด็กอารมณ์อ่อนไหวกันเถอะ ว่าพวกเขามีลักษณะอย่างไร (จากที่เคยอ่านและจากประสบการณ์ตัวเอง)
+
เด็กอารมณ์อ่อนไหว

❤มักไวต่อการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไม่ว่าจะแสง สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส เห็นได้ชัดตั้งแต่แบเบาะ ได้ยินเสียงดังนิด ก็แง ฉี่แฉะก็โยเยทันใด ตกใจง่าย ตื่นเต้นง่าย หัวเราะก็ง่าย เป็นต้น

❤เป็นเด็กสารพัดขี้ ขี้วิตกกังวล ขี้อาย ขี้แย ขี้งอน ขี้หงุดหงิด ขี้โกรธ ขี้น้อยใจ ขี้บ่น ขี้สงสัย เป็นต้น

❤คิดลึกซึ้ง คิดซับซ้อน ละเอียดรอบคอบ ชอบวางแผน คิดเป็นขั้นตอน ล้ำไปจนถึงมโนเก่ง(คิดมาก) ?

❤ปรับตัวยาก ไม่ค่อยชอบความเปลี่ยนแปลง

❤ชอบเล่นคนเดียว หรือเล่นกับเพื่อนสนิท ไม่ชอบเล่นเข้ากลุ่มเพื่อนเยอะๆ ไม่ชอบเข้าสังคมมากนัก

❤รักความสงบ ไม่ชอบคนพลุกพล่าน

❤ช่างสังเกต

❤ มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น(จนหลายทีก็ลืมเห็นใจตัวเอง?)

❤อ่อนโยน ใจดี มีเมตตา

❤ ไม่ค่อยพูดความรู้สึกของตัวเองออกมา ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น เพราะกลัวว่าจะทำให้ผู้อื่นอาจเสียใจ มักปิดบังความรู้สึกตัวเองเพื่อให้คนอื่นมีความสุข

❤หลายคนเป็นคนชอบความสมบูรณ์แบบ จึงมักเครียดง่าย

❤มีจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์

❤ อ่อนไหวมากต่อความเจ็บปวด เช่น หกล้ม หัวเข่าถลอก เด็กปกติ เจ็บระดับ 5 เด็กอ่อนไหวง่าย อาจรู้สึกเจ็บระดับ 15 ?

❤ไม่ค่อยชอบแสดงบนเวที พูดหน้าชั้น มันเครียดดดด

(เท่าที่คิดออก)
+
พอนึกภาพออกเนาะ ถ้าใครมีลูกอารมณ์อ่อนไหว 
มันเป็นธรรมชาติของเขาเช่นนี้ ไม่ได้ดัดจริต ดราม่า
อยากจะเป็นเช่นนี้ หลายทีตัวเขาเองก็รู้สึกแย่กับตัวเองที่เป็นเช่นนี้เช่นกัน แต่เรื่องของหัวใจนี่นะ มันบังคับไม่ได้ อ่อนไหวเป็นธรรมชาติ
+
แต่....ถ้าอ่านลูกดีๆ จะเห็นว่่า เขามีข้อดีหลายอย่างนะคะ พรสวรรค์ที่ได้มาพร้อมความอ่อนไหว เราสามารถช่วยเหลือลูก เพื่อให้ลูกสามารถดูแลอารมณ์อ่อนไหวของตัวเอง พัฒนาหัวใจได้
+
เอาไว้มีเวลาอีก จะมาโม้ต่อนะ? ว่าในฐานะแม่ หรือผู้ดูแลเราจะมีวิธีการอย่างไรในการดูแลเด็กอ่อนไหว
+
และเชิญชวนแบ่งปัน ว่าลูกเรา หรือตัวเราก็ได้ ที่มีอารมณ์อ่อนไหวเหมือนกัน มีลักษณะอย่างไรบ้าง ที่อาจต่างจากบ่นความนี้ แบ่งปัน เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน

หมายเลขบันทึก: 661936เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2019 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2019 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท