มาเรียนฟิสิกส์กันเถอะ(2)


แรงและการเคลื่อนที่(ต่อ)
เมื่อครั้งที่แล้วเราก็ได้รู้จักนิยามของคำว่าแรงชนิดต่างๆไปบ้างแล้วมาคราวนี้ก็จะบอกนิยามของแรงต่อเลยนะค่ะ 4.แรงแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นผลรวมของแรงไฟฟ้าและแรงแม่เหล็กซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เมื่อประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่โดยอาจเป็นการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน หรือเป็นการไหลของกระแสไฟฟ้าในเส้นลวด จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น แรงแม่เหล็กซึ่งเกิดจากการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด เรียกว่า แม่เหล็กไฟฟ้า ลักษณะของสนามแม่เหล็กขึ้นอยู่กับรูปร่างของเส้นลวดและกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน 5.แรงระหว่างโมเลกุล เป็นแรงแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างสองโมเลกุล ความเข้มและทิศทางของแรงแปรผันไปกับระยะห่างของโมเลกุล 6.แรงดึง (Tension) เป็นแรงขนาดเท่ากันแต่ทิศทางตรงข้ามกัน เมื่อดึงปลายวัตถุมีผลให้มีความยาวเพิ่ม แรงนี้ถูกต้านโดยแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล เช่นเราใช้เชือกดึงวัตถุในเส้นเชือกก็จะมีแรงตึงเชือก 7.แรงอัด (Compression) เป็นแรงที่มีขนาดเท่ากันแต่ทิศตรงข้ามกัน เมื่อกดปลายวัตถุทำให้ลดความยาวของวัตถุ แรงนี้จะถูกต้านโดยแรงผลักระหว่างโมเลกุล 8.แรงสัมผัส (Contact force) เป็นแรงผลักกันระหว่างโมเลกุลของวัตถุ 2 ชนิดเมื่อสัมผัสกัน 9.แรงเสียดทาน (Frictional force or friction) เป็นแรงที่กระทำต้านการเคลื่อนที่ของผิววัตถุ 2 ชนิด ที่แตะกัน เกิดขึ้นจากแรงระหว่างโมเลกุลของผิวทั้งสอง แรงเสียดทานมี 2 ชนิด คือ แรงเสียดทานสถิต และแรงเสียดทานจลน์ 10.แรงนิวเคลียร์ (Nuclear force) เป็นแรงดึงดูดระหว่างอนุภาคทั้งหมดของ นิวเคลียส(โปรตอน และนิวตรอน)และเอาชนะแรงไฟฟ้า ซึ่งเป็นแรงผลักระหว่างโปรตอนไม่ให้นิวเคลียสแยกออกจากกัน ผลของแรงนิวเคลียส ขึ้นกับขนาดของนิวเคลียส และเป็นแรงกระทำระหว่างนิวคลีออนใกล้เคียง แรงดึงดูดนิวเคลียสยิ่งสูงพลังงานยึดเหนี่ยวของนิวเคลียสก็ยิ่งสูงตาม ทั้งหมดนี้ก็เป็นนิยามของคำว่าแรงที่ทางฟิสิกส์เราใช้กัน แต่ถ้าในระดับมัธยมแล้ว แรงที่รู้จักกันดีก็เช่น แรงตึงในเส้นเชือก แรงเสียดทาน แรงระหว่างวัตถุที่กระทำกัน เป็นต้น ซึ่งตอนม.4 น้องๆที่เรียนแผนวิทย์ฯ-คณิตฯก็จะได้เรียนกัน จากที่น้ำผึ้งหวานได้มีประสบการในการสอนพิเศษไปบ้างนั้นก็พบว่าปัญหาของน้องๆที่ยังไม่ค่อยเข้าใจในวิชาฟิสิกส์ หรือเรียนวิชาฟิสิกส์ไม่ได้นั้นส่วนหนึ่งก็มาจากเราไม่เข้าใจตั้งแต่ต้นทำให้คราวต่อไปเราก็ไม่อยากเรียน แต่ถ้าเราเข้าใจตั้งแต่ต้นแล้วคราวต่อๆไปเราก็อยากจะเรียนมากขึ้น ซึ่งเรื่องแรงก็จะมีตั้งแต่ม.4น้ำผึ้งหวานก็ขอเอาใจช่วยน้องๆให้สู้ๆต่อไป ถ้าไม่เข้าใจเืรื่องไหนก็รีบถามอาจารย์นะคะอย่าปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจจะทำให้เราลืมปัญหานั้นๆได้ แต่มันจะไปมีปัญหาอีกทีเมื่อสอบนะคะ หรือถามน้ำผึ้งหวานก็ได้นะคะถ้าไม่เกินความสามารถก็จะช่วยเต็มที่เลยค่ะ
คำสำคัญ (Tags): #physics#family
หมายเลขบันทึก: 66188เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2006 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หนูจะนำข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องแรงทำรายงานส่งอาจารย์ ข้อมูลของพี่เป็นประโยชน์มาก ขอขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท