ในขณะที่คำถามแบบเลือกตอบมีประโยชน์ในการวัดว่านักเรียนเข้าใจหัวข้อ (topic) ได้ดีขนาดไหน แต่คำถามแบบเลือกตอบนั้นอาจแทรกแซงการเรียนรู้ หากออกแบบมาไม่ดี ดังที่การทบทวนงานวิจัยในปัจจุบันนี้
Andrew Butler เป็นศาสตราจารย์ทางจิตวิทยา และวิทยาศาสตร์สมอง ของมหาวิทยาลัย Washington ที่มีความเชี่ยวชาญในความทรงจำที่ดัดแปลงได้ง่าย (malleability of memory)----วิธีการที่ความทรงจำเริ่มเลือนหายไป หรือถูกแทรกแซงในเวลาที่เปลี่ยนไป ในบทความที่ชื่อ Journal of Applied Research in Memory and Cognition เขาอธิบายว่า ถึงแม้ว่าการคำถามแบบเลือกตอบจะมีชื่อเสียงขนาดไหน แต่พวกมันก็เข้ากันไม่ได้กับข้อค้นพบทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องวิธีการนักเรียนเริ่มกระบวนการ และทรงจำข้อมูล
Butler กล่าวว่า เมื่อนักเรียนไม่แน่ใจกับคำตอบที่ถูกต้อง พวกเขามีแนวโน้มที่จะจำหรือเรียนรู้คำตอบที่ผิดมากกว่า ปรากฏการณ์นี้เราเรียกว่า ผลการแนะนำทางลบ (negative suggestion effect) เขาอธิบายเพิ่มว่า “เมื่อการเรียนรู้คือจุดมุ่งหมาย แต่แบบทดสอบแบบเลือกตอบให้แต่ข้อมูลที่ไม่ถูกกับนักเรียน พวกเขาอาจเรียนรู้จากคำอบที่ผิดก็ได้”
แต่การออกแบบอย่างดี คำตอบแบบมีการเดิมพันน้อยควรจะให้ครูกับสิ่งเขาต้องการได้ และเป็นแรงจูงใจให้กับนักเรียน ทำให้พวกเขาทำข้อสอบได้ดีต่อไปในอนาคต นักเรียนมีแนวโน้มที่จะลืมบทเรียน แต่การออกแบบคำถามให้ดีสามารถจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับเด็กๆได้
นี่คือคำแนะนำย่อยๆ 5 ข้อในการออกแบบคำถามแบบเลือกตอบ
1. จงอย่าให้คำตอบที่ยืดยาวนัก ยิ่งให้คำตอบที่ยาวกับนักเรียนมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งทำให้นักเรียนจำคำตอบผิดๆมากขึ้นเท่านั้น นักเรียนจะให้เวลากับคำถามและคำตอบนานเกินไป จะจำกัดเนื้อหามากขึ้นเท่านั้น จริงๆแล้ว ที่ถูกต้องควรให้แค่ 3 คำตอบ เพื่อคุณภาพและประสิทธิภาพ
2. จงหลีกเลี่ยงคำถามที่วกวน ปัญหา, สิ่งที่ช่วยพัฒนาสมอง, คำถามแบบลูกเล่น ที่มีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนมึนงง ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ดังคำอธิบายของ Butler ในบางครั้งเราอาจทำให้นักเรียนใช้เวลาสักนิดหนึ่งในการหาคำตอบ แต่ปัญหาที่วกวนจะทำให้นักเรียนมึนงง และทำอันตรายมากกว่าใช้คำถามที่ชัดเจน
3. จงใช้รูปคำถามที่ง่าย คำตอบที่ว่า “ถูกทั้งหมด” “ไม่มีข้อถูก” และ”ถูกข้อ ก,ข, และ ง” ซึ่งใกล้เคียงกับการเล่นเกม---หากนักเรียนกำจัดให้เหลือเพียงคำตอบที่น่าใช้ เป็นคำตอบแล้ว รายการที่เป็นคำตอบที่ถูกต้องจะลดลง และนำไปสู่ระดับการปฏิบัติขั้นสูงที่เป็นของเทียม
4. ทำให้การสอบน่าท้าทาย แต่ต้องไม่ยากเกินไป คำถามที่ยากเกินไปจะส่งผลให้ลดทอนการเรียนรู้ในอนาคต และทำให้การสอบนั้นดูยากเกินกำหนด ตามงานวิจัย การทดสอบที่ยากเกินไปจะส่งผลต่อความทรงจำของเด็กๆ เพราะหากเลือกตำตอบที่ไม่ถูกต้องจะส่งผลด้านลบต่อจิตใจของนักเรียน นักเรียนที่ใส่ใจควรถูกถึง 70-80% และยิ่งถูกน้อย จะส่งผลด้านลบต่อความสามารถในการเรียนรู้วิชานั้น
5. จงตามด้วยปฏิกิริยาสะท้อนกลับ การทบทวนเป็นเรื่องที่ดี การทบทวนหลังจากการสอบทำให้ครูตระหนักรู้เรื่องทักษะที่เด็กๆยังทำไม่ได้ นอกจากนี้ยังทำให้นักเรียนสามารถเอาชนะการทดสอบนั้นได้ Butler กล่าวว่า “การนำเสนอปฏิกิริยาสะทอนกลับหลังจากการสอบแบบตัวเลือกนั้นมีแต่ผลกระทบด้านบวกต่อการเรียนรู้ และลดทอน หรือกำจัดผลด้านลบ”
ประเด็นสำคัญ (takeaway): แบบทดสอบไม่ใช่การประเมิน เมื่อออกแบบมาเป็นอย่างดี แบบทดสอบ จะส่งผลต่อเครื่องมือการเรียนรู้ และกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจของนักเรียนต่อวิชา
แปลและเรียบเรียงจาก Youki Terada. 5 Tips for Designing Multiple-Choice Quizzes
ไม่มีความเห็น