4 สิ่งที่นักเรียนควรจะทำทุกๆวัน


รายการนี้สามารถเขียนได้ยาวเป็นวา แต่ไม่ต้องคิดอะไรมาก ครูทุกคนสามารถคิดขึ้นมาได้เองว่าสิ่งที่เหมาะกับนักเรียนในการทำทุกวันคืออะไร เช่น การคิดเชิงวิพากษ์, ความเห็นอกเห็นใจในสติปัญญาของคนอื่น, การแสดงออกอย่างสร้างสรรค์, การให้ความสำคัญกับผู้อื่น, การลบข้อมูลที่ไม่สำคัญ, การสังเคราะห์ข้อมูลจากมุมมองที่หลากหลายมาสร้างสรรค์สิ่งใหม่, การตัดสินใจ และสะท้อนถึงผลของการตัดสินใจนั้นด้วยวิธีการที่ทรงความหมาย และอื่นๆ

เราสามารถจะไปหาหนังสืออ่าน, เขียน, และวิจัยในเรื่องทักษะที่ไม่ใช้ความรุนแรง (soft skill) เช่น การสานต่อและแสดงให้เห็นซึ่งความพยายามมานะบากบั่น, การสร้างเพื่อนใหม่, และพูดคุยเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างความรู้, ทักษะ, และความสามารถหรือสมรรถนะ และข้อไหนที่พวกเด็กๆควรจะเน้นย้ำ

แต่ฉันคิดว่าสิ่งนี้ควรจะเป็นสิ่งเรียบง่าย และโดนใจ เพื่อให้ครูส่วนใหญ่ในสถานการณ์ส่วนใหญ่ทำให้เด็กๆได้มีโอกาสเรียนรู้ รายการนี้เป็นสิ่งที่เธอสามารถมาดู เลือกเอาสักอย่างหนึ่ง และพยายามทำให้มันเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ โดยไม่เกี่ยวกับว่าคุณได้วางแผนไว้หรือไม่

รายการมีดังนี้

1. ทุกๆวัน นักเรียนควรจะให้มากกว่าเอา

ทุกๆวัน นักเรียนเมื่อออกจากโรงเรียน พวกเขาควรจะมีความตื่นตัวด้านความรู้ (cognitive stretched) และการสั่นไหวทางสติปัญญา (intellectual agitated) สิ่งที่เปลี่ยนแปลงนี้จะต้องเกิดมาสักระยะหนึ่งอย่างเพียงพอ และมันไม่ได้เกิดจากครูเท่านั้น นักเรียนก็ต้องเหมือนกัน

สิ่งนี้ไม่ใช่แนวคิดใหม่  มีความพยายามอย่างหลากหลายในการทำสิ่งนี้ไม่ว่าจะเป็นการถอดความหรือสนับสนุนมัน หลายปีที่ผ่านมา ครูถูกตัดเตือนหรือสอนกันมาว่า “อย่าทำงานหนักกว่านักเรียน” การศึกษาแบบต่อเนื่อง (Progressive education) มีการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงบทบาทของครูจาก ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องหนึ่งมาเป็นการแนะนำอยู่ข้างๆ การเตือนให้นักเรียนเสียงดังที่สุดในห้องเรียน มาจากตรงนี้ด้วย

นักเรียนควรสร้างสรรค์, ปฏิบัติ, ร่วมมือ, และออกแบบ มากกว่าที่จะนั่ง และเอาความรู้ ความคิดที่ยิ่งใหญ่ก็คือการเปลี่ยนบทบาทจากครูกับนักเรียน ไม่ใช่ให้นักเรียนรับผิดชอบต่อบางสิ่ง ครูต้องรับผิดชอบต่อบางสิ่งด้วย  

ในบางส่วน สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นโดยการเสริมสมรรถนะ หรือให้อำนาจแก่ให้ผู้เรียน ด้วยการใช้ การเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง (self-direction หรือ การเรียนรู้ซึ่งผู้เรียนรับผิดชอบในการวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผล ความก้าวหน้าของการเรียนของตนเอง เป็นลักษณะซึ่งผู้เรียนทุกคนมีอยู่ในขณะที่อยู่ในสถานการณ์การเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้และทักษะที่เกิดจากการเรียนจากสถานการณ์หนึ่งไปยังอีกสถานการณ์หนึ่งได้ ), หลักในการปรับปรุงกระบวนการ (process ownership), การเรียนรู้แบบการทำโครงงาน (Project-Based Learning)

2.ทุกๆวัน นักเรียนควรจะถามมากกว่าตอบ

ทำไมนักเรียนจึงควรถามมากกว่าตอบคำถามหละ? แน่นอนว่าปริมาณไม่ใช่ประเด็น และคุณภาพก็ยังไม่เพียงพอ  นอกเหนือจากสิ่งอื่นใด การที่นักเรียนมีแนวโน้มที่จะถามคำถามดีๆมากขึ้น ก็เป็นตัวบ่งชี้ว่าพวกเขามีส่วนร่วม และมีความกระตือรือร้น, การเป็นเจ้าของ, ความเป็นตัวของตนเอง, และความหวัง (ลองจินตนาการดูว่า หากนักเรียนไม่มีความมั่นใจ หรือมีความมุ่งหวัง แน่นอนว่าจะถามคำถามที่ดีไม่ได้อย่างแน่นอน)

ถึงที่สุด พวกนักเรียนมีความสามารถในการถามด้วยตนเอง, ไม่มีการเตรียมล่วงหน้า, มีความสามารถอย่างหลากหลาย ในช่วงนั้น ครูสามารถช่วยนักเรียนในการฝึกทักษะนี้ในพุทธินิยม เช่น ความสามารถในการทำ และพฤติกรรมนิยม เช่น นักเรียนจะและมีแนวโน้มในการถาม เป็นต้น

3. ให้นักเรียนนำสิ่งที่เรียนในชั้นเรียนไปสู่ชีวิตจริง

ทักษะนี้สำคัญมาก เพราะหากเด็กๆทำไม่ได้ แล้วจะมีประโยชน์อะไรในการเรียนหละ แนวทางในการนำสิ่งที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็คือการถามคำถามง่ายๆให้เด็กๆได้ตอบ เช่น ฉันรู้เรื่องอะไร ฉันจะรู้มันได้อย่างไร หรือ ฉันจะใช้สิ่งที่รู้ได้ที่ไหน อย่างไร กับใครบ้าง ฯลฯ

4. ทุกๆวัน นักเรียนต้องมีความก้าวหน้า และความหวัง

ความก้าวหน้า และ ความหวัง ไม่ใช่คำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือยังไม่มีความแจ่มชัดเลย  บางวัน พวกมันเป็นสิ่งหายาก แต่บางวันพวกมันก็ผ่านนักเรียนไป นักเรียนที่ไม่มีความเชื่อมั่น, ความหวัง หรือแม้แต่การพัฒนา

แน่นอนว่าความหวังเป็นความคิดรวบยอดที่อยู่เหนือห้องเรียน ความเป็นไปได้ในการให้การศึกษาที่เด็กๆหมดหวังถือเป็นการศึกษาที่ผิดพลาด แต่โดยอุดมคติแล้ว ความก้าวหน้าเป็นสิ่งที่อยู่ในห้องเรียน และให้ความหวัง หากความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการใช้ชีวิตตรงกันอย่างพอเพียง

แปลและเรียบเรียงจาก

Terry Heick. 4 Things Every Student Should Do Every Day

https://www.teachthought.com/learning/things-every-student-should-do-every-day/

หมายเลขบันทึก: 660877เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2019 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2019 09:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท