กิจกรรมบำบัดไม่มีวันตาย - เสียงสะท้อนคุณครูในดวงใจ


ขอบพระคุณครับสำหรับพี่น้องนักกิจกรรมบำบัดทุกท่าน จากคลิปดังกล่าว เป็นหัวข้อสะท้อน Moral Treatment กับความหมายของ Occupying เลยทำให้ฟังดูเนื้อหาออกไปในทางจิตใจ แต่ผมมีเจตนาที่ดีในการให้เห็นกิจกรรมบำบัดศึกษา หากชมตลอดจนครบคลิปก็จะเห็นภาพองค์รวมครับ กราบขออภัยที่ข้อความอาจทำให้ทุกท่านไม่พอใจ และต่อไปนี้จะระมัดระวังในการออกสื่อสาธารณะต่อไปครับ

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ไพวรรณ สุดวรรค์ ผู้เป็นต้นแบบนักกิจกรรมบำบัด คุณครูกิจกรรมบำบัดศึกษา และผู้นำสุขภาวะแห่งการเรียนรู้ ที่ผมเคารพรักในดวงใจ ที่ท่านได้สื่อสารอย่างสร้างสรรค์สะท้อนมุมมองคิดบวกจากการชมคลิปข้างต้น ดังนี้

"ได้ชมคลิปคลิปแล้ว ก็คิดว่ามีความชัดเจนในบทบาทหนึ่งๆ ของการเป็นนักกิจกรรมบำบัด เป็นคลิปสั้นๆ และน่าสนใจที่นำสหวิชาชีพมาร่วมในการทำงาน ในคลิปมีทั้งการดูแลด้านร่างกาย มีการจับชีพจร การบำบัดรักษาทางด้านร่างกาย คำนึงถึงกรดแลคตริกในกล้ามเนื้อคนไข้ และการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ซึ่งในเวลาที่จำกัด ก็คิดว่ามีความเหมาะสมแล้วค่ะ ซึ่งถ้ายาวนานกว่านี้ก็จะกลายเป็นความรู้มากเกินไป ทำให้ไม่น่าสนใจ คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี หากนักกิจกรรมบำบัดแต่ละที่นำเสนอในคลิปสั้นๆ ในแง่มุมอื่นของกิจกรรมบำบัด ก็จะทำให้ผู้ที่สนใจในวิชาชีพเข้าใจ ในหลายๆ มิติ ของกิจกรรมบำบัดได้ค่ะ"

แม้ว่าจะมีมุมมองลบหลายท่าน ผมได้ตั้งจิตภาวนา "ให้อภัยและขอบคุณที่เสียงลบๆเหล่านั้นมาตำหนิเตือนสติให้ผมอธิบายความหมายของกิจกรรมบำบัดที่ชัดเจนไม่อ้างอิงแค่สุขภาพจิตสังคม" อีกความคิดหนึ่งทำให้ผมเข้าใจมากขึ้นและรู้คำตอบแล้วว่า "ทำไมกิจกรรมบำบัดศึกษาจึงไม่เปิดกว้างด้วยการสื่อสารจิตเมตตา เพราะหลายท่านใช้ความคิดตัดสินไปทางดำกับขาว มิได้มองที่หลากหลายนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์" อย่างไรก็ตามยังคงมีมุมมองบวกอื่นๆ จากพี่น้องร่วมวิชาชีพ ผมจึงขออนุญาตนำมาบันทึกไว้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวผมเองด้วยครับ
"ศาสตร์และศิลป์ของวิชาชีพกิจกรรมบำบัด ก่อกำเนิดจากนักคิดจากหลากหลายสาขาวิชาชีพ จึงอาจเป็นการยากที่จะอธิบายหรือนิยามด้วยประโยคสั้นๆ และการนำศาสตร์ไปใช้ยังต้องปรับตามบริบทของผู้รับบริการ เราจึงมีหลายอัตลักษณ์ในแต่ละบริบทของผู้รับบริการประเภทต่างๆ แม้แต่ความเข้าใจของนักวิชาชีพแต่ละท่าน ก็แตกต่างไปตามประสบการณ์ได้ ขอเพียงการให้บริการอยู่บนหลักการพื้นฐานที่ถูกต้อง เป็นกำลังใจให้กับคนทำงานทุกคนค่ะ"

"โดยส่วนตัวเมื่อรับชมเสร็จก็ไม่ได้รู้สึกขัดแย้งแต่อย่างใดค่ะ เพราะศาสตร์กิจกรรมบำบัดมีความกว้างและลึกหลายๆ มิติ เราจึงมีผู้ป่วยหลายกลุ่มหลายแบบ อ.พี่ป๊อบ ก็นำเสนอเพียงส่วนหนึ่งที่เป็นเนื้อหาวิชาที่ใช้สอน นศ.กิจกรรมบำบัด ปีที่ 2 ในฐานะเป็นรุ่นน้องก็ภูมิในตัวอ. ค่ะ สำหรับน้องๆ ที่ได้รับชมแล้วคิดต่างก็ไม่แปลกนะค่ะ เพราะการใช้เหตุผลในการให้บริการมีหลายๆ เหตุผล แล้วแต่ใครจะอ้างอิงหลักใด"

"เพิ่งได้มีโอกาสชมคลิปหลังจากที่ได้เห็นการตกเป็นประเด็นค่ะ!!!

“กิจกรรมบำบัด” ง่ายๆก็คือ “ทำอย่างไรให้มนุษย์คนหนึ่งสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของตนเองได้ตามปกติหรือใกล้เคียงเดิมมากที่สุด” โดยใช้หลากหลายศาสตร์และทฤษฎีที่ได้ร่ำเรียนมา

ส่วนตัวประทับใจอาจารย์ป๊อปมากๆค่ะที่ช่วยผลักดันให้คนรู้จักวิชาชีพกิจกรรมบำบัด...ตั้งแต่เรียนปี1จนถึงปัจจุบัน นี่ก็ 10 ปี ได้ ที่เห็นอ.ป๊อปเดินสายโปรโมทวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับทั้งกระแสบวกบ้างลบบ้าง แต่อ.ป๊อปไม่เคยท้อ

❤️❤️❤️ ถึงแม้ในคลิปนี้อาจจะมีเนื้อหาที่ยังไม่ครอบคลุมและไม่ตรงใจใครหลายๆคน แต่เชื่อว่า คำว่า “นักกิจกรรมบำบัด” ได้ติดตาติดหูคนบางกลุ่มไปบ้างแล้ว...และหากใครสนใจรีบเข้ามาเรียนเร๊ววววววว...แล้วจะเข้าใจว่ากิจกรรมบำบัดคืออะไร

ใครไม่ทำ อ.ป๊อปทำ....ใครไม่ลุย อ.ป๊อปลุย...ใครไม่สู้ อ.ป๊อปสู้...FCอ.ป๊อปต่อค่ะ"

"อยากมีจิตใจดีดีให้ได้สักครึ่งแบบอาจารย์"

"ชอบมากคะอยากให้ทุกๆคนมีและทำได้สักครึ่งก็ยังดีหุๆ"

"มันดีต่อใจจริงๆค่ะ มีความสุขทั้งคนให้และคนรับ...สิ่งที่ครูอาจารย์สอนมาให้ฝังอยู่ในสัญชาตญาณนักกิจกรรมบำบัด..ใครๆเขาก็พูดรวมๆว่าเราใช้จิตวิทยา...เอาจริงๆมันก็คือ"ทักษะอ่อนโยน"ที่ว่านี่เองนะคะ"

 




ขอบพระคุณสำหรับคำถามจากกัลยาณมิตรเรื่อง "ทักษะอ่อนโยน (Soft Skills)" ที่ผมสอนในรายวิชาการปรับตัวต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต แทนที่เราจะคิดวิเคราะห์สังเคราะห์กิจกรรมแทนผู้รับบริการ แต่เราสร้างสัมพันธภาพด้วยการสื่อสารจิตสังคมด้วยภาษากาย การสบตา การใช้น้ำเสียง การสังเกตรูปแบบกิจกรรมที่ผู้อื่นสนใจเพื่อเบี่ยงเบนจิตต่อความเจ็บปวดของร่างกาย (Diversional Activities) การรับรู้สึกความรักความเมตตากรุณาขณะใช้จิตจดจ่อทำสิ่งใดๆ (Compassionate Occupying) และการฝึกทักษะหนึ่งที่สำคัญคือ ทักษะเอาใจเขามาใส่ใจเรา หรือ Empathy Skills 

 






 

หมายเลขบันทึก: 660678เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2019 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2021 11:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท