การต่อสู้ทางการเมือง


เมื่อคืนนั่งดูท่านนายกขึ้นมาร้องเพลงร่วมกับกลุ่มนักร้องดารานักแสดงก็รู้สึกวิกฤตการณ์การเมืองไทยขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548-2553 เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองซึ่งต่อต้านและสนับสนุนทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยวิกฤตการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองลดลงทั้งยังสะท้อนภาพความไม่เสมอภาคและความแตกแยกระหว่างชาวเมืองและชาวชนบท ซึ่งวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้บั่นทอนเสถียรภาพทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา

ต่อมารัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 นำโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ รัฐประหารโค่นรัฐบาลรักษาการนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล นับเป็นรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย รัฐประหารดังกล่าวเกิดขึ้น เพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ และอิทธิพลของทักษิณ ชินวัตร ในการเมืองไทย

พลเอก ประยุทธ์ ไม่เหมือนกับ พล.อ. เปรม ตลอด 8 ปี 5 เดือนของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.เปรมไม่เคยถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจเลยสักครั้งเดียวหลายคนมองว่าพล.อ.เปรมเป็นต้นแบบของความซื่อสัตย์ รวมทั้งบทบาทสำคัญของกองทัพในการค้ำบัลลังก์
นอกจากนี้ชนชั้นนำและเทคโนแครตบางส่วนได้เข้าชื่อ 99 คนถวายฎีกาคัดค้านการครองอำนาจต่อไปของพล.อ. เปรม แม้การเลือกตั้งปี 2531 พรรคชาติไทย ประชาธิปัตย์ กิจสังคม และราษฎร จะเชิญพล.อ. เปรม เป็นนายกฯ อีกครั้งแต่ด้วยกระแสคัดค้านที่เริ่มแรงขึ้น พล.อ. เปรมประกาศไม่รับตำแหน่งนายกฯ นับเป็นการยุติบทบาทการเมืองในฐานะนายกฯ มาสู่บทบาทการเมืองใหม่ในฐานะประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษนี้คือการลงจากบัลลังก์ของท่านมหาบุรุษ

ดังนั้นท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็เช่นกันหากท่านยังเข้าสู่การเมืองต่อท่านอาจจะกลายมาเป็นจากวีระบุรุษสู่ผู้ร้ายก็เป็นได้

คำสำคัญ (Tags): #ลีลานายก
หมายเลขบันทึก: 660664เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2019 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2019 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท