R2R ในงานปฐมภูมิ CUP โรงพยาบาลสระบุรี


R2R ในงานปฐมภูมิ CUP สระบุรี

เมื่อวันที่ 21มีนาคม มีโอกาสได้พบเจอแกนหลักสำคัญของเครือข่าย R2R CUP สระบุรี การเจอครั้งนี้เรามีเป้าหมายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อยอดจากการมาถอดบทเรียนในครั้งก่อนเกี่ยวกับงาน R2R ผู้สูงอายุ ที่ขับเคลื่อนโดยใช้กลไกชมรมผู้สูงอายุ มาพัฒนาและตอบโจทย์ “การดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว” หรือที่เราคุ้นเคยกันในนาม LTC (Long Term Care) 

สำหรับ CUP สระบุรีมีการนำเครื่องมือ R2R มาใช้ในการพัฒนางานและขับเคลื่อนงานปฐมภูมิต่อเนื่องหลายปี มีการส่งผลงานเผยแพร่ทั้งในระดับจังหวัด ระดับเขต และประเทศ ได้รางวัลบ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็พัฒนากันมาอย่างต่อเนื่องมาตลอด 7-8 ปี ผลงาน R2R เด่นๆ อาทิเช่น การพัฒนาระบบการเยี่ยมบ้านที่ทำทุกพื้นที่โดยใช้โจทย์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ การนำพา อสม.มาเพิ่มพูนศักยภาพและร่วมขับเคลื่อนงานส่งเสริมป้องกันและฟื้นฟูสนับสนุนให้ทำ R2R รวมถึงการใช้แพทย์ทางเลือกมาบูรณาการร่วมผสมผสานกับแผนการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบันด้วย มีผลงานในมิติส่งเสริมป้องกันสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง NCD[1]  ทั้งมิติป้องกันและฟื้นฟูในบริบทของ รพ.สต. จนได้รับรางวัล R2R ต่อเนื่องทุกปีจากผลงานของพี่ดา - คุณพนิดา 

และที่เห็นผลลัพธ์เป็นรูปธรรมที่นำไปสู่การลดช่องว่าง เชื่อมรอยต่อการทำงาน และส่งผลให้ผู้ได้รับการเยี่ยมบ้านได้ครอบคลุม คือ ผลงาน COC ที่ได้รับรางวัล Meta R2R ปี 2561 เรื่อง ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องอย่างไร้รอยต่อเครือข่าย บริการสุขภาพจังหวัดสระบุรี เป็นการพัฒนาระบบ COC ทั้งจังหวัดและขยายผล 8 จังหวัด ในเขต 4 เป็นที่น่าชื่นชมยินดีเป็นอย่างมาก

จะเห็นได้ว่าการขับเคลื่อน R2R สะท้อนให้เห็นการเชื่อมต่อระหว่างแม่ข่าย คือ รพ.สระบุรีและลูกข่าย รพ.สต.ต่างๆ ภายใน CUP ชัดเจน ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งและเป็นความสำเร็จที่สะท้อนถึงการทำงานในรูปแบบ CUP[2]

ผลงานเด่นในปีนี้ที่ผลการศึกษาพัฒนาเห็นผลลัพธ์ที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงหลายเรื่อง เช่น

- การใช้กลไกชมรมผู้สูงอายุต่อการขับเคลื่อน LTC ในเขตเทศบาลเมืองสระบุรี 

- รวมถึงผลงานเชิงบริหารจัดการเครือข่ายปฐมภูมิ ภายใต้กลไกการทับซ้อน CUP,คปสอ.DHS, และ พชอ. [3,4,5] ต่อการ LEAN ระบบ และพัฒนาคุณภาพบริการ 

- และมีผลงานระดับลูกข่าย รพ.สต. ที่สะท้อนและเชื่อมโยงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อกันคือ “การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในระบบปฐมภูมิภายใต้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ”

AAR:

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในหลายปีที่ผ่านมาจากการคลุกคลีกับ CUP รพ.สระบุรี โดยใช้ R2R เป็นเครื่องมือในการเดินเรื่องเพื่อตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาระบบสุขภาพ

  • การบริหารจัดการภายใน CUP ภายใต้ความมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างแม่ข่ายและลูกข่ายทำได้ดีมากมาก รวมถึงการมีเป้าหมายการพัฒนาชัดเจน และมีกระบวนการทำงานร่วมกันในเชิงพัฒนาต่อเนื่องผ่านระยะเวลายาวนาน
  • การทำบทบาทหน้าที่ในงานปฐมภูมิที่มุ่งเน้นส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน และฟื้นฟู มีการนำเครื่องมือและเทคโนโลยีมาใช้ทำให้การเข้าถึงข้อมูลและการสื่อสารลดช่องว่างลงได้มาก
  • การเสริมสร้างศักยภาพของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น อสม.(อาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้าน) CG หรือ Care Giver มีต่อเนื่องและยกระดับความรู้ความสามารถเพื่อทำงานสอดรับกับบุคลากรสาธารณสุข จึงอาจตีความได้ว่า เป็นสร้างความรู้สึกความเป็นเจ้าของการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนด้วยตนเอง เพราะสังเกตได้จาก อสม.มีความเข้มแข็งและมีพลังในการทำงานค่อนข้างมาก
  • การทำงานเป็นทีมและมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมด้วยบวกกับมีกระบวนการ Monitoring การกำกับติดตามเป็นระยะเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและประชาชนให้เข้าถึงระบบบริการสุขภาพมากที่สุด สะท้อนถึงการเชื่อมรอยต่อ (Seamless)
  • คนทำงานปฐมภูมิส่วนมากอาจเริ่มอ่อนแรง จากภารกิจเชิงนโยบายที่ถาโถ ตัวอย่างการบริหารจัดการภายใน CUP แบบพี่ดูแลน้องของ CUP รพ.สระบุรีนี้น่าจะเป็นต้นแบบที่ดีในการเรียนรู้การเสริมพลังภายในและเคลื่อนงานระบบสุขภาพไปพร้อมกัน และยังมีผลงานวิชาการ R2R ที่สะท้อนถึงผลการพัฒนาต่อเนื่องเป็นระยะ
  • ...

ส่วนตัวมาทุกครั้งก็มีพลังทุกครั้ง เพราะได้เห็นมุมมองการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากคนทำงาน รู้สึกประทับใจและชื่นชมแห่งวิถีการงานที่ไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนา

Note: Ref.

[1] โรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย

[2] Contracting Unit for Primary Care (CUP) หมายถึง สถานบริการที่เป็นจุดทำสัญญา

เพื่อจัดบริการปฐมภูมิ (Primary Care) หรือเรียกว่า Main Contractor ก็ได้ในการดําเนินงาน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งจะต้องมีผู้ซื้อบริการ(Purchaser) มาทำสัญญาซื้อบริการกับผู้ให้บริการ(Provider)ซึ่งผู้ให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้นต้องจัดบริการเป็นการ บริการปฐมภูมิ(PrimaryCare)]

[3] คปสอ. คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ซึ่ง คปสอ.เน้นการประสานงานเฉพาะภายในระบบบริการสาธารณสุข ระหว่างโรงพยาบาลกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ(และเครือข่ายรพ.สต.หรือสถานีอนามัยเดิม)เป็น ลดช่องว่างระหว่างสองสายงานนี้ [ที่มา https://www.facebook.com/notes/surakiat-achananuparp/คิดใหม่-ทำใหม่-ในการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ/688181384531535/]

[4] DHS (District health system) อาจารย์สุรเกียรติ อาชานุภาพ เขียนไว้ค่อนข้างเข้าใจง่ายว่าเป็นการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในระดับอำเภอ– ตำบล – หมู่บ้าน หลักๆได้แก่โรงพยาบาล(โรงพยาบาลชุมชน/โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์ )สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.)   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.  ได้แก่ อบจ. อบต.  เทศบาล)  ชุมชน(ผู้นำ อสม. จิตอาสา   กลุ่ม/ชมรม  โรงเรียน วัด  สถานประกอบการ  ประชาชน ผู้ป่วยและครอบครัว ) และภาคส่วนอื่นๆ (เช่น ฝ่ายปกครอง  ตำรวจ  การศึกษาเกษตร พัฒนากร  องค์กรเอกชน เป็นต้น).ทั้งนี้อาจเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

       DHS =   คปสอ.(โรงพยาบาล  +  สสอ. +  รพสต.) +  อปท.  + ชุมชน  +  ภาคส่วนต่างๆ

[5] พชอ. คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต(พชอ) (District Health Board:DHB) โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการทางานอย่างมีส่วนร่วม ตามแนวทาง “ประชารัฐ” มีเป้าหมาย เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำ โดยการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน

“ช่วยเหลือ-ไม่ทอดทิ้ง-แบ่งปัน-ห่วงใยกัน”

23-03-62

หมายเลขบันทึก: 660662เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2019 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2019 11:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท