เคลื่อน Meta R2R โดย รอง นพ.สสจ.ด้านส่งสริมพัฒนา


เคลื่อน Meta R2R โดย รอง นพ.สสจ.ด้านส่งสริมพัฒนา

วันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมามีโอกาสได้ทำงานร่วมกับสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยอีกครั้ง ซึ่งมีการจัดอบรมและประชุมวิชาการให้กับรองนายแพทย์ สสจ.(ด้านส่งเสริมพัฒนา)ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย เป็นโครงการตรียมความพร้อมผู้นำงานส่งเสริมงานสุขภาพ ซึ่งรอบนี้เป็นรุ่น 1 เพื่อให้นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ(ด้านส่งเสริมพัฒนา) หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมสุขภาพและผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพระดับจังหวัดได้รับการพัฒนาสมรรถนะผู้นำส่งเสริมงานสุขภาพ และการพัฒนางานประจำด้านการส่งเสริมสุขภาพด้วยการทำวิจัย (R2R) นำไปสู่การพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพในแต่ละพื้นที่ 

ภารกิจที่ได้มีส่วนร่วม คือถูกเชิญไปพูดเรื่อง R2R และร่วมทำกระบวนการเรียนรู้ ก็เลยได้นำแนวคิดของ Meta R2R มาชวนคิดชวนคุยในเชิงระบบ สะท้อนให้เห็นภาพการขับเคลื่อนในเชิง Mega Project มากขึ้น และเห็นความเป็นไปได้สูงในการแพร่กระจายการใช้เครื่องมือ R2R มาพัฒนางานในมิติส่งเสริมป้องกันในระบบสาธารณสุขโดยท่านรอง สสจ. เป็นผู้นำการพัฒนาสู่การเปลี่ยนแปลงนี้

ในการเรียนรู้

[1] เริ่มกระบวนการของการสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างวิจัยทั่วไป(Research) กับวิจัยในงานประจำ (R2R) และการค้นหาคำถามการวิจัยที่มีในพื้นที่ การตัดสินใจที่นำไปสู่การศึกษา ผลลัพธ์ในการวิจัยที่สอดรับในเชิงนโยบายไม่ว่าจะเป็น service plan หรือ HA หรือแม้แต่การตอบสนองต่อ Health need ของพื้นที่ การเชื่อมโยงให้เห้นถึงคุณค่าของการทำ Meta R2R และบทบาทของผู้บริหารที่มีจะนำไปขับเคลื่อนร่วมกับคนหน้างานในพื้นที่แทนการสั่งการ ซึ่งโดยพื้นฐานส่วนใหญ่ของรอง นพ.สสจ.ด้านส่งเสริมพัฒนานี้มีประสบการณ์ในเชิงพัฒนาและขับเคลื่อนด้านสุขภาพอยู่แล้ว เพียงแต่เพิ่มการใช้กลยุทธ์และทักษะของความเป็น Facilitator บวกกับทักษะทางการวิจัย (Research Skill) ในมิติของ R2R ก็จะสามารถ Inspiration บุคคลในพื้นที่ได้อย่างดี

[2] จากนั้นนำผลงาน Meta R2R ของจังหวัดปทุมธานีมาเป็นต้นแบบในการเรียนรู้และร่วมกันวิเคราะห์ผลงาน โดยใช้สื่อ VTR ที่ทาง R2R ประเทศไทยได้ให้ทางทีมจินตนาการผลิตสื่อออกมาให้ สามารถนำมาประกอบการเรียนรู้ได้เลย รอบนี้มีพี่กุ้ง-พรทิพย์ มาร่วมเป็นวิทยากรกระบวนการด้วย ทำให้บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแบบด้นสด และเข้าถึงการสื่อสารกันได้ดีมาก นำไปสู่การย้อนกลับไปมองปัญหาในพื้นที่ได้ค่อนข้างดี 

[3] พอช่วงบ่ายเข้าสู่กระบวนการทำ GAP Analysis ร่วมกันในพื้นที่เดียวกันและระหว่างพื้นที่ เพื่อให้ได้มุมมองที่กว้าง แตกต่าง และลึกซึ้ง สามารถจุดประกายนำไปสู่การกลับไปค้นหาและเวิคราะห์ปัญหาในพื้นที่ได้

AAR:

การได้มีโอกาสมาร่วมงานในครั้งนี้ถือว่าเป็นวาสนาที่ได้เรียนรู้ มีโอกาสได้เจอท่าน รอง ส.บัน จาก สสจ.หนองคายซึ่งท่านจำกะปุ๋มได้จากครั้งเมื่อ 6-7 ปีก่อนได้ไปเชียร์ R2R ที่จังหวัดหนองคาย ท่านธัชชัย จาก สสจ.มุกดาหารที่มีความเข้มแข็งในการนำบุคลากรในพื้นที่สร้างผลงานมากมาย และท่านผู้บริหารอีกหลายๆ ท่านจากหลายๆ จังหวัดที่มีมุมมองและทัศนคติที่ดีต่อการนำ R2R มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนพัฒนางาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นคือ ในทีมผู้บริหารถ้าท่านเข้าใจ กระบวนการจะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และท่านจะสามารถความรู้และทักษะทางการบริหารผสมผสานกับทักษะของความเป็น R2R Facilitator ไปนำทีมในพื้นที่วิเคราะห์ปัญหา แก้ไข และพัฒนางานด้วยเครื่องมือ R2R ได้อย่างดี แบบนี้ดีค่ะลดการสั่งการของผู้นำได้ดีทีเดียว

รอติดตามความก้าวหน้าในรอบที่สอง

ท่าน ส.บัน ซึ่งท่านเป็นประธานของชมรมรองนายแพทย์ สสจ.ท่านมีมุมมองที่น่าประทับใจมากคือ ท่านมองว่า “ถ้าแต่ละพื้นที่ทำ Meta R2R เราก็จะได้ผลงานจำนวนมาก และแต่ละผลงานก็จะเป็น Mega Meta R2R ซึ่งตรงนี้คงจะเป็นหน้าที่ของสำนักส่งเสริมสุขภาพโดยท่าน อ.น้องหนู และ อ.ดร.พี่ปุ้มเป็นผู้ขับเคลื่อนต่อ”

เป็นอีกหนึ่งวันที่มีพลังแห่งการเรียนรู้อย่างยิ่งเลยค่ะ

15-03-62

ถ่ายภาพรวมผู้บริหาร รุ่นที่ 1

จากซ้ายไปขวา: อ.ดร.พี่ปุ้ม, กะปุ๋ม,ท่าน รอง สสจ.จ.หนองคาย และเป็นประธานชมรมรอง นพ.สสจ.ประเทศไทย และ อ.พี่น้องหนู 

นิยามและการทำความเข้าใจ Meta R2R แบบง่ายๆ

ร่างกรอบแนวคิดของผลงาน Meta R2R เพื่อให้นักพัฒนางานมองเห็นภาพความเชื่อมโยงชัดเจนขึ้น

หมายเลขบันทึก: 660484เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2019 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2019 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท