การเมืองกับศีลธรรม


องค์ดะไลลามะและหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุย้ำอย่างชัดเจนว่าการเมืองไม่ว่าระบบใดก็ตามถ้าไม่มีศีลธรรมจะเป็นสิ่งที่เลวร้ายอย่างที่สุด ศีลธรรมจะเป็นตัวกำกับระบบการเมืองและนักการเมืองให้มุ่งสร้างสรรค์พัฒนาสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว นักการเมืองที่ดีก็คือผู้ดำเนินตามแนวทางของพระโพธิสัตว์ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนานั่นเอง ส่วนหลักการประชาธิปไตยทั้งสามประการ คือ สมภาพ (Equality) เสรีภาพ(Liberty) และภราดรภาพ (Brotherhood) นั้น แท้จริงแล้วก็เป็นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพราะพุทธศาสนาถือว่ามนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน มนุษย์ทุกคนมีเสรีภาพในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง และมนุษย์ทั้งมวลเป็นเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน ถ้าจะดูรูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ของพระพุทธเจ้าก็จะเห็นว่าเป็นต้นแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า

ศีลธรรมคือธรรม ซึ่งทำให้เกิดความปกติได้ ถ้าศีลธรรมในฐานะที่เป็นเหตุก็ต้องเรียกว่า สิ่งที่ทำให้เกิดความปกติ ถ้าศีลธรรมในฐานะเป็นผล ก็หมายความว่า ภาวะแห่งความปกติที่เราได้รับ การเมืองคือศีลธรรม เศรษฐกิจคือศีลธรรม สังคมคือศีลธรรม ฯลฯ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมสืบเนื่องมาจากการแยกธรรมหรือศีลธรรมออกจากเรื่องต่าง ๆ คนที่ไม่รู้จักศีลธรรมนี้ เขาไม่ค่อยคิดที่จะใช้ศีลธรรมที่อยู่ในรูปของการปกครองก็ดี การทหารก็ดี เศรษฐกิจก็ดี การเมืองก็ดี แล้วในระบบศีลธรรมสากลเขาไม่มองอย่างนี้ แต่ที่พูดมานี้เป็นศีลธรรมในพระพุทธศาสนา ซึ่งอาศัยความจริงของธรรมชาติอันเด็ดขาด การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง สังคมนั้นจะต้องแก้ที่ต้นเหตุ ต้นเหตุนั้นคือการขาดศีลธรรม ขาดภาวะที่เป็นปกติ

หมายเลขบันทึก: 660418เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2019 06:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2019 06:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท