ทำไมปืนพกประจำกายของเจ้าหน้าที่ตำรวจสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่จึงเลือกใช้กระสุนขนาด .40 S&W


ทำไมปืนพกประจำกายของเจ้าหน้าที่ตำรวจสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่จึงเลือกใช้กระสุนขนาด .40 S&W

     - .40 S&W ดีอย่างไร?
     - .40 อำนาจหยุดยั้งดีกว่า 9 ม.ม. หรือ?

     -  กระสุนหาง่ายใช่ไหม?

           หลายคำถามเกิดขึ้นเมื่อได้ทราบข้อมูลว่า ปืนพกประจำกายของเจ้าหน้าที่ตำรวจสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เลือกใช้กระสุน ขนาด .40 S&W ไว้ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ มากกว่า 9 ม.ม. หรือ .38 ที่มีปริมาณการใช้มากในประเทศไทย ด้านประวัติ .40 S&W ได้เขียนไว้ในก่อนหน้านี้แล้วในหัวข้อ .40 S&W หนักหน่วงเต็มมือ ซึ่งเป็นมุมมองในฐานะผู้วิจัยวัสดุทำเสื้อเกราะฯกันกระสุนครับ  

           รายละเอียดของ .40 S&W Smith & Wesson (10 × 22 ม.ม.) กระสุนมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.40 นิ้ว หรือ 10 ม.ม. มีน้ำหนักตั้งแต่ 105 ถึง 200 เกรน (6.8 ถึง 13.0 กรัม) ปัจจุบันในท้องตลาดจะมีขนาด 180 เกรนเป็นส่วนใหญ่ ในช่วงเริ่มต้น .40 S&W ได้รับการพัฒนาจาก Federal Bureau of Investigation (FBI) และได้ส่งต่อให้ Smith & Wesson เป็นผู้ผลิตและพัฒนาต่อ ในปัจจุบันกระสุนชนิดนี้มีผู้ผลิตหลักๆ คือ Smith & Wesson และ Winchester ในประเทศไทยเป็น NRC Ammunition และ Bullet Master

            ปัจจุบันนี้ สหรัฐอเมริกามีรัฐทั้งหมด 50 รัฐ  รัฐที่กำหนดให้กระสุนขนาด .40 S&W เป็นขนาดกระสุนของปืนพกประจำกายของเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีทั้งหมด 26 รัฐ ได้แก่ Alabama, Alaska, Idaho, Illinois, Minnesota, Mississippi, Missouri, Nebraska, Oregon, Utah, Wisconsin, Wyoming, Arizona, Connecticut, Montana, Nevada, South Dakota, Vermont, Connecticut, Massachusetts, Michigan, Ohio, Colorado, Iowa, California, Kentucky, Delaware และ Louisiana

            ใช้กระสุนขนาด .45 ACP หรือ 11 ม.ม. ทั้งหมด 10 รัฐ ได้แก่ New Hampshire, Florida, Georgia, New York, Pennsylvania, South Carolina, Arkansas, Kansas, North Dakota และ West Virginia  

            ใช้กระสุนขนาด .357 SIG ทั้งหมด 8 รัฐ ได้แก่ Virginia, Oklahoma, Rhode Island, Texas, New Mexico, North Carolina, Washington และ Tennessee

            ใช้กระสุนขนาด 9 ม.ม. (9x19 ม.ม.) มีใช้ 4 รัฐ ได้แก่ District of Columbia, Indiana, Hawaii และ New Jersey

            ด้านชนิดปืนที่นิยมใช้ที่สุดของเจ้าหน้าที่ตำรวจสหรัฐอเมริกา คือ Glock 22 เป็นอันดับ 1 

SIG Sauer P229 และ SIG Sauer P226 เป็นอันดับ 2 อันดับ 3
 

ซึ่งจากข้อมูลตรงนี้จะพบว่า
 

1. เจ้าหน้าที่ตำรวจสหรัฐอเมริกาเลือกใช้กระสุนขนาดใหญ่ไว้ก่อน เพื่อให้มีอำนาจการหยุดยั้งภัยคุกคามที่สูงภายในนัดแรก แม้จะมีความเร็วเฉลี่ยช้ากว่า 9 มม. (ประมาณ 970-1070 feet/Sec) แต่แรงปะทะสูงมาก เนื่องด้วยลักษณะของหัวกระสุนที่เป็นลักษณะหน้าตัด ดังภาพ

 

2. ยี่ห้อปืนของอเมริกาเองก็ใช่ว่าจะได้รับความนิยมและถูกใช้ประจำการมากที่สุด แต่ปืนที่ใช้มากที่สุดคือ ยี่ห้อ Glock โดยเฉพาะ Glock 22 (.40 S&W) Glock 37 (.45 GAP) ของออสเตรีย รองลงมา คือ SIG P229 (.40 S&W) SIG P226 (.357 SIG) ของเยอรมัน ส่วน S&W M&P 40 ของสหรัฐเองกลับมีให้ใช้น้อยกว่า ซึ่ง Glock 22 มีข้อดีด้านน้ำหนักที่เบากว่า คือมีน้ำหนักเพียง 975 g เมื่อบรรจุกระสุนเต็ม และเป็นปืนที่พร้อมต่อสู้ในระบบเข็มพุ่ง เมื่อดึงขึ้นลำแล้วยิงปืนออกไปปืนจะทำการตั้งระบบใหม่ตั้งแต่ต้นโดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องขึ้นไกปืนอีกครั้ง มี Trigger Safety ที่ต้องลากนิ้วกดเหนี่ยวไกโดยตรงแบบ 2 ชั้น คือ ผ่านการกด Trigger Safety และเหนี่ยวไก ปืนจึงทำงาน ปัจจุบันเป็น Gen 5 ที่เด่นคือใช้การเคลือบผิวแบบ DLC Coating (Diamond-Like Carbon) มีการต้านทานการสึกหรอที่สูง ผิวแข็งเหมือนเพชร ต้านทานการกัดกร่อนได้ดี (กันสนิม) ให้ค่าความเสียดทานต่ำ (ลื่น) DLC Coating เป็นชั้นฟิล์มแข็งเคลือบผิวจากคาร์บอนซึ่งเกิดจากการสร้างพันธะร่วมกันระหว่างเพชรและกราไฟต์ (Diamond-Like Carbon) 
 

3. ขนาดกระสุนที่เจ้าหน้าที่นิยมมีใช้ทั่วไปของอเมริกา เป็นขนาดกระสุนขนาด .40 S&W  .357 SIG  .45 ACP แต่ถ้าเป็นในประเทศไทยจะบอกว่ากระสุนเหล่านี้มันใหญ่เกินไป มีอานุภาพมากเกินไป และมีราคาแพงโดยเฉพาะ .40 S&W .357 SIG จึงไม่เป็นที่นิยมของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทย ปัจจุบันราคากระสุน .40 S&W แบบ FMJ 1800-2000 บาท
 

ข้อมูลจาก 

TNN ช่อง16. 2562. คลิประทึก ตร.สหรัฐ วิสามัญคนร้ายกลางถนน. แหล่งที่มา :https://www.youtube.com/watch?v=umnTL2... , 4 มกราคม 2562.
THAIAMMO. 2562. ปืนพกประจำกายดีที่สุด ที่ตำรวจแต่ละรัฐเลือกใช้. แหล่งที่มา : http://thaiammo.com/ปืนตำรวจแต่ละรัฐ/, 4 มกราคม 2562.
 

หมายเลขบันทึก: 660241เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2019 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2022 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท