ความแตกต่างระหว่างการศึกษา 1.0 และ 3.0


การเปลี่ยนแปลงจากการศึกษา 1.0 ไปสู่ 3.0 คือการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไปสู่ประชาชนทุกคน

โรงเรียนกำลังเป็นการศึกษาแบบ 1.0 แต่พูดถึงการศึกษา 2.0 ในขณะที่กำลังวางแผน และเติมเต็มการศึกษา 3.0  โพสนี้พยายามที่จะเปรียบเทียบการพัฒนาการใช้เว็บทางอินเตอร์เน็ทที่มีต่อการศึกษา อินเตอร์เน็ทตอนนี้กลายมาเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับสังคมต่างๆทั่วโลก  เว็บส่งอิทธิพลต่อวิถีคิด, การกระทำ, และภาวะความเป็นอยู่ของผู้คน และคนก็มีอิทธิพลต่อเวปต่างๆด้วยเช่นเดียวกัน

อินเตอร์เน็ททุกวันนี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับหน้าต่างที่มีภาพอยู่ในนั้นเต็มไปหมด และเป็นประตูสำหรับการรับรู้, การคิด, และพฤติกรรมของมนุษย์  โดยตรรกะแล้ว มันใกล้เคียงกับโรงเรียนที่เหมาะกับการเอาแบบสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยผู้เรียนและเยาวชนในการปฏิบัติหน้าที่, เรียนรู้, ทำงาน, และเล่นในการก่อให้เกิดมารยาทที่สนับสนุนสังคม, มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ, มีสุขภาวะที่ดี ในสังคมเสรีนิยม

-การศึกษา 1.0

หลายๆโรงเรียนยังคงดำรงอยู่ และทำหน้าที่ ผ่านการศึกษาแบบ 1.0 ถึงแม้ว่าบางส่วนอาจปฏิเสธมัน แต่ถึงกระนั้นพวกเขายังเน้นหลักสูตรแบบเน้นความรู้เป็นหลัก ถึงเข้าถึงได้โดยการสอน และการทดสอบ

“พื้นฐานของหลักสูตรเน้นวิชาการจะเน้นการแบ่งวิชาแบบเดิม เช่น เลข, วิทยาศาสตร์, ประวัติศาสตร์, ภาษาต่างประเทศ, และวรรณกรรม ผู้ที่ยึดหลักการเน้นความรู้มักจะโตเถียงว่าห้องเรียนต้องมีครูเป็นศูนย์กลาง ครูหรือผู้บริหารจะเป็นคนตัดสินใจเนื้อหาอะไรที่เหมาะกับผู้เรียน โดยที่ไม่ถามความคิดเห็นของผู้เรียนก่อน ครูจะเน้นเรื่องคะแนนที่เกิดจากแบบทดสอบวัดความรู้ โดยผ่านการประเมินด้วยวิธีการต่างๆ นักเรียนต้องนั่นเป็นแถว และถูกสอนทั้งหมด นักเรียนจะเรียนรู้อย่างเฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น โดยการนั่งที่โต๊ะ และฟังแต่ครู”

คำแนะนำข้างต้น (1) ทำให้เรารู้ว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นในหลายโรงเรียนในยุคของความเป็นมาตรฐาน, ภาวะรับผิดชอบ, ไม่มีเด็กคนใดทิ้งไปเบื้องหลัง (NCLB), การวิ่งจากหลังไปหน้า, มาตรฐานหลักสูตรแบบทั่วไป และ (2) มีความใกล้เคียงกับเว็บ 1.0 ก็คือ เว็บ 1.0 คือขั้นต้นของวิวัฒนาการ World Wide Web ซึ่งจะใช้ระบบจากบนลงล่าง  การปรับใช้จะขึ้นกับ webmaster แต่เพียงผู้เดียว

การศึกษาแบบ 1.0 ก็คล้ายๆกับการพัฒนาเว็บในช่วงต้น ซึ่งก็คือเป็นระบบทางเดียว (จาก webmaster ไปสู่ผู้ใช้) นักเรียนไปโรงเรียนเพื่อต้องการการศึกษาจากครู ในการให้ความรู้จะเป็นการยืนอยู่หน้าห้อง  บางครั้งอาจมีโน้ตชั้นเรียน, ใบความรู้, หนังสือเรียน, วิดีโอต่างๆ, และอาจเป็นการใช้เว็บก็ได้  โดยส่วนใหญ่แล้ว นักเรียนจะรับความรู้ผ่านสื่อต่างๆ ที่ครูจัดไว้ให้ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเข้าร่วมกิจกรรมที่ปรากฏในสื่อต่างๆ แต่กิจกรรมเหล่านี้ยังแยกส่วนจากกลุ่มชาติพันธุ์ หรือลักษณะทางวัฒนธรรมที่เด็กดำรงอยู่  น้อยครั้งนักที่ผลลัพธ์ของกิจกรรมจะเข้ามีส่วนปรับปรุงในสื่อการสอน นักเรียนเพียงแค่ใช้พวกกิจกรรมก็พอแล้ว

-การศึกษา 2.0

Steve Hargadon ได้บันทึกไว้ในปี 2007 ว่า

“เว็บ 2.0 คือการเปิดเผยให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันใหม่ระหว่างปัจเจกบุคคล และธุรกิจ รวมทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงการคิดใหม่ๆทำนองว่าเทคโนโลยีทำให้เราสะดวกสบาย หรือมีการสร้างสรรค์ มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับบทสนทนาซึ่งเกิดขึ้นแบบตรงๆ และไม่เกี่ยวอันใดกับระบบจากบนลงล่าง แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับปฏิกิริยาสะท้อนกลับของเพื่อน หรือมองแบบให้กำลังใจ  มันเป็นการสร้างขึ้นใหม่ในวิธีการเรียนรู้ และบางครั้ง เรายังสามารถวาดภาพวิธีการนำประสบการณ์ไปสู่สถาบันการเรียนรู้

การศึกษาแบบ 2.0 ใกล้เคียงกับเว็บ 2.0 ซึ่งก็คือมีการปฏิสัมพันธ์ที่มากขึ้นระหว่างครูกับนักเรียน, นักเรียนกับนักเรียน, และนักเรียนกับเนื้อหา/ผู้ชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนบางแห่ง และนักการศึกษามักจะใช้วิธีการแบบร่วมมือ, โครงการการเรียนรู้ทั้งโลก การใช้โปรแกม Skype ในห้องเรียน, การใช้วิกี, บล็อก, และการใช้เครือข่ายทางสังคมอื่นๆในชั้นเรียน  แต่ในปี 2013 (ตอนนี้ปี 2017) สิ่งนี้เป็นการปฏิบัติแบบวิถีประชา และไม่ใช่ข้อยกเว้นแต่อย่างใด

-การศึกษา 3.0

การศึกษาแบบ 3.0 มีความเชื่อที่ว่าเนื้อหาเป็นสิ่งอิสระ และหาได้เมื่อต้องการ มันจะเป็นการเรียนรู้ตามความสนใจ และเรียนด้วยตนเอง สำหรับวิธีการสอนก็จะเป็นการแก้ปัญหา, นวัตกรรม, และความสร้างสรรค์ สิ่งเหล่านี้จะขับเคลื่อนการศึกษา

“สิ่งที่กำหนดในการศึกษาแบบ 3.0 คือโอกาสต่างๆในการศึกษาที่ข้ามวัฒนธรรม ข้ามสถาบัน และร่ำรวยด้วยสิ่งของต่างๆ ซึ่งผู้เรียนโดยเองจะเป็นผู้เล่นในเกมหลัก ในฐานะผู้สร้างสิ่งต่างๆของความรู้ที่มีแบ่งปันไปสู่คนอื่น และผลประโยชน์ทางสังคม รวมทั้งเครือข่ายทางสังคมจะมีบทบาทอย่างยิ่ง ความแตกต่างระหว่างสื่อ, ประชาชน, และกระบวนการจะเห็นได้ไม่แจ่มชัดนัก รวมทั้งเรื่องของเทศะและเวลาด้วย

การตระเตรียมทางสถาบัน,นโยบาย, และยุทธวิธี ต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อตอบสนองต่อการท้าทายของโอกาสที่ถูกนำเสนอได้ มีการเน้นเรื่องกระบวนการสอนและการเรียนรู้ด้วยการเน้นที่ไปที่การเปลี่ยนแปลงทางสถาบัน ซึ่งตามโดยการล่มสลายของขอบเขตระหว่างครูกับนักเรียน, สถาบันมัธยม, และหลักวิชาต่างๆ”

การศึกษาแบบ 3.0 คือ การใช้วิธีการแบบสร้างสรรค์นิยม (constructivist) และ การสอนความเป็นคน (heutagogical) ในการสอนและการเรียนรู้ ครู, นักเรียน, เครือข่าย, การเชื่อมโยง, สื่อ, ทรัพยากร, เครื่องมือ สร้างสภาวะที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งมีศักยภาพในการตอบสนองผู้เรียนที่เป็นปัจเจกบุคคล, นักการศึกษา, หรือแม้กระทั่งความต้องการทางสังคม

Derek W. Keats และ J. Philipp Schmidt further ได้พรรณนาถึงองค์ประกอบแต่ละอันของการศึกษาแบบ 3.0 ไว้ดังนี้

การศึกษา

-การกระจายอย่างกว้างขวางของบทเรียนผ่านเว็บ

-ความสนใจในทางเลือกอื่นๆของวิธีสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง อย่าง การสร้างสรรค์นิยม หรือการเรียนรู้การใช้ทรัพยากร ฯลฯ

-การร่วมมือกันระหว่างสถาบัน, ภูมิภาค, และท้องถิ่น เพื่อที่จะสร้างเนื้อหาทางการศึกษาที่มีขนาดใหญ่

-การตระหนักรู้ของความจำเป็นในการเรียนรู้ก่อนหน้า

-การเพิ่มขึ้นของการใช้อินเตอร์เน็ทเพื่อหาข้อมูล และการเรียนรู้แบบจำกัดเวลา

สังคม

-การเพิ่มขึ้นของการใช้เทคโนโลยีเชิงข้อมูลในชีวิตประจำวัน และเพื่อจุดประสงค์ทางสังคม

-การเพิ่มขึ้นของพื้นที่เสมือนจริงเชิงสังคม

-นิยามใหม่ของตัวตน และสังคม ที่รวมทั้งโครงสร้างสังคมที่เน้นคอมพิวเตอร์เข้าไปในนั้นด้วย

เทคโนโลยี

-การมีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และการใช้อินเตอร์เน็ทอย่างกว้างขวาง

-การเกิดขึ้นของเว็บแบบ 2.0 เช่น บล็อก, podcasts, เครื่องมือปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ฯลฯ

-แหล่งละมุนภัณฑ์ที่ให้ใครต่อใครโหลดและมีอิสระในการโหลด

-การพัฒนาของระบบลิขสิทธิ์แบบใหม่ที่ไม่ใช่แบบเดิม ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ใช้และใช้ต่อไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์อีกต่อไป

สรุป

อุปกรณ์การทำให้มีการศึกษาแบบ 3.0 มีอยู่เต็มไปหมด แต่ทำไมถึงไม่มีใครวางแผนหรือเติมเต็มความคิด, เครื่องมือ, ยุทธวิธีในระบบเสียล่ะ?  เวลาในการวางแผนสำหรับการศึกษาแบบ 3.0 เป็นอดีตไปแล้ว แต่การกระทำตอนนี้ยังดีกว่าที่ไม่ทำอะไรเลย

แปลและเรียบเรียงจาก

Jackie Gerstein. The Difference Between Education 1.0 & 3.0

https://www.teachthought.com/the-future-of-learning/past-time-education-3-0/

หมายเลขบันทึก: 659962เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2019 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2019 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท