๘๘๔. ยุบ ควบ รวม..โรงเรียนขนาดเล็ก..อีกแล้ว


เพราะเขามี “โมเดล”การบริหาร..มีนวัตกรรมการจัดการ..ที่อยู่บนรากฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง..มิใช่เพ้อฝันไปวันๆ มิใช่ “อยาก”แต่ไม่ลงมือทำ แต่ลงมือปฏิบัติจริงอย่างเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา..ทำงานหนักอย่างอดทนและรอคอยว่าสักวัน..จะเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์..

        พูดมาเกือบทศวรรษแล้ว..แต่ยังทำไม่ได้ มาพูดตอนนี้ระวังเสียคะแนน “ประชารัฐ”นะ ของแบบนี้มันต้องใช้เวลา ต้องศึกษาข้อมูลและมีเกณฑ์ที่ชัดเจน

    การรับฟังนักเศรษฐศาสตร์ระดับ “ธนาคารโลก” ในแง่ “คุ้มทุน”ก็จริงอยู่ แต่ต้องมองรอบด้าน นี่มันประเทศไทย..ที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเป็นของเราเอง..ซึ่งต้องมองที่ “ภูมิสังคม”ด้วย

        กลิ่นไอ..ของการยุบควบรวม..ยังมีอยู่และรับรู้ได้ทุกจังหวัด คือเด็กน้อยและไม่มีผู้บริหาร..กศจ.ก็มิได้ให้ตำแหน่ง ผอ.อยู่แล้ว..”แขวนลอย” เพื่อรอเวลา...

        ก่อนหน้านี้ก็มีกรณีตัวอย่าง..เล็กมากๆที่อยู่ในเมือง นักเรียนถูกดูดจนต้องอพยพไปควบรวม..กับโรงเรียนเล็กที่มีคุณภาพ จนกลายเป็นโรงเรียนขนาดกลาง ที่มีการบริหารจัดการที่ดี..จะสรุปว่าลงทุนน้อยแล้ว “คุณภาพ”ดีขึ้น..คงยังพูดไม่ได้เต็มปาก..เพราะไม่มีงานวิจัยรองรับ และไม่ได้ดีขึ้นเหมือนกันทุกเขตฯ

        ผมไม่ได้ปฏิเสธการยุบควบรวม..แต่ต้องคัดสรรและพิถีพิถันในวิธีคิดและวิธีทำ เพราะโรงเรียนใหญ่สมัยนี้..ก็มิได้ดีเหมือนกันหมด..บางแห่งก็แทบจะเอาตัวไม่รอดด้วยซ้ำ..

        อย่าคิดว่า”นโยบาย”เก่าๆเอามาปัดฝุ่น ทำให้เป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล แล้วจะเนรมิตอะไรได้ทุกอย่าง..”เงิน”มีความสำคัญก็จริง แต่ถ้ามันเฟ้อก็ทำให้การศึกษาตกต่ำและล้มเหลวได้..,มีตัวอย่างให้เห็นมาแล้ว..มิใช่หรือ?

        จงทำอย่างรอบคอบ เพราะโรงเรียนขนาดเล็กหลายหมื่นโรง..ใช้นวัตกรรมและสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในโครงการพระราชดำริของ “พ่อหลวง”และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ..”เวลา”จะเป็นเครื่องพิสูจน์โรงเรียนขนาดเล็กที่มี “ความพร้อม” พวกท่านทั้งหลายอย่ามัวแต่ “คิดมาก”และห่วงใย..มากมายนัก

        เอาเวลาไป “ประเมินตนเอง”บ้าง ว่าสร้างงานอะไรออกไป..แล้วจะเข้าใจว่ามันบั่นทอนการเรียนการสอนของครูและนักเรียน..การทำให้ครูและนักเรียนห่างเหินกัน ก็เท่ากับบั่นทอน“หัวใจ”ของการเรียนรู้...

        สุดท้ายนี้..ก็อย่าลืมศึกษาหาข้อมูล จะพบว่ามีโรงเรียนขนาดเล็กมากมาย ที่เขายืนได้ด้วยขาของเขาเอง ไม่ได้พึ่งพิงเขตพื้นที่การศึกษาและ สพฐ. ..ขอรับการสนับสนุนจากภาคเอกชนทั้งงบประมาณสร้างอาคารเรียนและแหล่งเรียนรู้ หาเงินเองเพื่อจ้างครูพิเศษ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของลูกหลานชาวบ้านที่อยู่ในเขตบริการ..ถึงขนาด..นอกเขตบริการก็ย้ายลูกหลานมาเรียน..เพราะอะไร?

        ก็เพราะเขามี “โมเดล”การบริหาร..มีนวัตกรรมการจัดการ..ที่อยู่บนรากฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง..มิใช่เพ้อฝันไปวันๆ มิใช่ “อยาก”แต่ไม่ลงมือทำ แต่ลงมือปฏิบัติจริงอย่างเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา..ทำงานหนักอย่างอดทนและรอคอยว่าสักวัน..จะเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์..

        พวกท่านมี “อำนาจ”และเก่งกาจกันทั้งนั้น..นั่งอยู่แต่หอคอยงาช้าง บางครั้งก็ไม่ยอมฟังใคร แนะนำให้ลงไปดูเขาบ้าง ว่าเขาทำงานกันอย่างไร?..

        ใจเย็นๆ..เรื่องยุบควบรวม..ทำแผนให้ชัดเจน ศึกษาให้รอบด้าน ประสานการทำงาน..ค่อยๆยุบไม่ต้องเยอะ..เพราะการที่พวกท่านเยอะนี่แหละ..การศึกษาไทยถึงเป็นแบบนี้.....

ชยันต์  เพชรศรีจันทร์

๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๖๒

       

หมายเลขบันทึก: 659672เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2019 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2019 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นโยบายหลัง ๆ ดูชัดเจนว่าอยู่บนหอคอยงาช้างจริง ๆ แถมไม่พอ

ยังไม่รับฟังเสียงของผู้ปฏิบัติระดับล่างด้วย

มหาวิทยาลัยก็เป็นเช่นนั้นแล ท่าน ผอ. ;(…

ขอบคุณครับอาจารย์ เราก็คงทำได้แค่คิดดังๆ และทำงานในหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด โดยที่ไม่หวาดหวั่นอุปสรรคใดๆ..ใช่ไหมครับ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท