ทริปสเปน-โปรตุเกส (4) Ola ! Lisboa เมืองหลวงของดินแดนทาร์ตไข่และฝอยทอง


(ขยายภาพนี้จะเห็นวิหารเจโรนิโม อนุสาวรีย์แห่งชัยชนะ หอคอยเบเล็ม ในมุมสูง)

ลิสบอน( อังกฤษ:Lisbon)

หรือ ลิสบัว(โปรตุเกส:Lisboa) 

เมืองหลวงของประเทศโปรตุเกส ตั้งอยู่ริมชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของคาบสมุทรไอบีเรีย เป็นเมืองหลวงที่มีภูมิอากาศอบอุ่นที่สุดในยุโรปเนื่องจากได้รับอิทธิพลของกระแสน้ำกัลฟ์สตรีม

วิหารเจโรนิโม( Jeronimos Monastry Church) วิหารเก่าแก่สร้างขึ้นในศควรรษที่ 16 โดยกษัตริย์แมนูแอล ที่1 ผู้ซึ่งประสบความสำเร็จจากการส่งนักเดินเรือล่องมหาสมุทรเพื่อค้นหาแผ่นดินใหม่ในโลก เป็นวิหารที่ฝังศพของวาสโกดากามา ( Vasaco Da Gamaนักเดินเรือท่องโลกผู้ยิ่งใหญ่ของโปรตุเกส ใช้เวลาในการก่อสร้าง 70 ปี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก ในปี 1983 ฝั่งตรงข้ามกับวิหารเจโรนิโมเป็นสวนสาธารณะที่ร่มรื่นสวยงาม

อนุสาวรีย์แห่งชัยชนะ( Discoveries Monument) สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกิส สร้างขึ้นในปีค.ศ.1960 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการที่โปรตุเกสเป็นประเทศนักสำรวจทางทะเลที่ยิ่งใหญ่และเฉลิมฉลองพระชนมายุครบรอบ 500 ปีของเจ้าชายเฮนรี่ เดอะเนวิเกเตอร์ โอรสของกษัตริย์ John ที่ 1 แห่งโปรตุเกส ผู้มีบทบาทสำคัญในการเดินเรือสำรวจ

หอคอยเบเล็ม ( Belem Tower )เดิมสร้างไว้กลางน้ำเพื่อเป็นป้อมรักษาการณ์ดูแบการเดินเรือเข้าออก เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินเรือออกไปสำรวจและค้นพบโลกของวาสโก ดากามา นักเดินเรือชาวโปรตุเกส เป็นสถาปัตยกรรมแบบมานูแอลไลน์หรือ Portuguese Late Gothic ที่สวยงาม

ถนนคนเดินมีชื่อว่า Rua Palma เริ่มต้นที่จัตุรัสOld Sguare เป็นจุดที่จะไปตามหาทาร์ตไข่และฝอยทอง ในย่านนี้มีร้านขายของที่ระลึก โรงละครและร้านขายขนมเรียงรายอยู่หลายร้าน ชาวโปรตุเกสนิยมดื่มกาแฟและรับประทานขนมหวานที่ทำจากไข่แดง แป้งและน้ำตาล ขนมโปรตุเกสที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกได้แก่ทาร์ตไข่ ( Padtel de Nata )ที่มีเอกลักษณ์ตรงรอยไหม้เป็นจุดๆที่หน้าขนม รสชาตินุ่มนวลไม่หวานจัด ส่วนฝอยทอง ( Fios de Ovos) ทำด้วยไข่แดงคล้ายฝอยทองในบ้านเราแต่จะเคลือบน้ำตาลทับอีกชั้นหนึ่งให้มีความแข็งทำเป็นรูปสามเหลี่ยม บางร้านจะห่อด้วยกระดาษเป็นม้วนๆแบบโรตี

ในช่วงค.ศ ที่16ตรงกับตอนปลายกรุงศรีอยุธยามีการเดินเรือจากลิสบอนเพื่อการค้าขายและขยายอาณาเขตมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขนมหวานของโปรตุเกสจึงได้แพร่หลายเข้ามาและได้รับการดัดแปลงเป็นขนมไทยอีกหลากหลายชนิด

หมายเลขบันทึก: 659668เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2019 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ธันวาคม 2021 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท