การแก้ปัญหาความขัดแย้ง


57990252: สาขาวิชา: การบริหารการศึกษา; กศ.ม. (การบริหารการศึกษา)

คำสำคัญ: การแก้ปัญหาความขัดแย้ง/ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา/ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาสมุทรสาคร

รชตพล มีชั้นช่วง: การแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร (CONFLICT MANAGEMENT OF PRIMARY SCHOOL ADMISTRATORS UNDER SAMUTSAKHON PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE) คณะกรรมการควบคุมงานนิพนธ์: ลัดดา ผลวัฒนะ, กศ.ด. 125 หน้า. ปี พ.ศ. 2558.

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำแนกตามประสบการณ์ และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรสาคร กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie & Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา

ความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนในสถานศึกษา 5 ด้าน ประกอบด้วย การเอาชนะ การร่วมมือ

การประนีประนอม การหลีกเลี่ยง และการยอมมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแนวคิดของ Likert จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .23 - .69 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่าง วิเคราะห์หาความแตกต่างรายข้อด้วยวิธีของ sheffe

ผลการวิจัยพบว่า

1. การแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ผลการเปรียบเทียบการแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นวิธีการยอมให้แตกต่างกัน

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ผลการเปรียบเทียบการแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยรวมและ

รายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นวิธีการเอาชนะ วิธีการร่วมมือ และวิธีการยอมให้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

หมายเลขบันทึก: 659542เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2019 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2019 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท