เมื่อเข้าฟังถิ่นแก้ว ฐานขวัญ นัยอีสาน นัยวรรณกรรม : นิทาน เรื่องเล่า ตำนาน โดยมองผ่านคติชนวิทยา


บทนำ

      ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ได้จัดการบรรยายทางวิชาการในหัวข้อ "ถิ่นแก้ว ฐานขวัญ นัยอีสาน นัยวรรณกรรม"
โดย  ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัย ประจำศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผศ.ดร.ภาณุพงศ์ อุดมศิลป์ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นวิทยากรบรรยาย    ในวันที่ 7 กันยายน 2560 ณ ห้องประชุมใหญ่ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ในโอกาสนี้ผู้เขียนได้เข้าร่วมรับฟัง  ทั้งยังได้สรุปประเด็นสำคัญจากการเข้าฟังบรรยาย  ดังจะกล่าวในลำดับต่อไป  ในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้           

นิทาน  ตำนาน  พื้นบ้านอีสาน

          นิทานพื้นบ้าน เป็นรูปแบบของการเล่าเรื่องราวที่บรรพบุรุษแต่งและเล่าสืบทอดต่อ ๆ กันมา
มีจุดประสงค์เพื่อความบันเทิง และผลพลอยได้จากการฟังนิทานคือการได้รับข้อคิดและคติธรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ฉะนั้น ในอดีตนิทานจึงมีบทบาทในการขัดเกลานิสัยของอนุชนอีกส่วนหนึ่งด้วย
          ปัจจุบันความบันเทิง และความก้าวหน้าทางวิทยาการ ทำให้มนุษย์สร้างสิ่งที่ให้ความ จึงมีผู้นำเอานิทานพื้นบ้านมาสร้างเป็นภาพยนตร์ โทรทัศน์ ในรูปแบบของการเสนอคติธรรมรูปแบบใหม่ เพื่อสอดคล้องกับความเจริญทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน นอกจากนี้นิทานพื้นบ้านยังมีความสำคัญ ต่อการศึกษาทางมานุษยวิทยาเพราะนิทานพื้นบ้านได้แทรกวิถีชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ของชาวบ้านไว้ และสามารถใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาประวัติศาสตร์ของสังคมพื้นบ้านได้อีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าบทบาทของนิทานพื้นบ้าน
ในปัจจุบันจึงมีความสำคัญต่อการศึกษาทางด้านมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์ ได้เป็นอย่างดี
          นิทานพื้นบ้านอีสาน เป็นวรรณกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของสังคมชาวอีสานได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าการดิ้นรนต่อสู้เพื่อเอาชนะภัยธรรมชาติ คือ ความแห้งแล้ง การอพยพย้ายถิ่น ที่อยู่อาศัย ความเชื่อและความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา การยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ
อันเป็นมรดกทางภูมิปัญญา เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นที่จดจำสืบทอดกันมาจากยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่ง หากเรื่องราวดังกล่าวไม่ได้รับการสืบทอด หรือบันทึกไว้ มรดกภูมิปัญญาเหล่านี้ก็จะหายไปจากสังคม           

          หากพิจารณาเรื่องเล่า   นิทาน  ตำนาน วรรณกรรมอีสาน  ดี ๆ แล้วจะเห็นถึงค่านิยมของสังคมอีสานที่ค่านิยมของสังคม อย่างมากมาย เช่น

                   1. การมีลูก สังคมอีสานเป็นสังคมเกษตรกรรม ประกอบอาชีพทำนาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการทำนาต้องอาศัยแรงงานจำนวนมาก ครอบครัวอีสานจึงนิยมมีลูกมาก รวมทั้งต้องปรนนิบัติดูแลบิดามารดาในเรื่องนี้กล่าวถึงสาวแถนที่อยู่กินกับหนุ่มเมืองชมพูแต่ไม่มีลูก เมื่อหนุ่มเมืองชมพูกลับบ้านเมืองของตนสาวแถนต้องอยู่คนเดียวไม่มีคนดูแล                                                                                                                  2. การรักษาศักดิ์ศรีของสตรี ชาวอีสานถือว่าผู้หญิงหรือผู้ชายจะอยู่กินฉันสามีภรรยาต้องให้ผู้ใหญ่รับรู้ก่อนและสู่ขอกัน ถ้าไม่ทำตามผู้หญิงจะถูกสังคมตำหนิ ในเรื่องพญาคันคาก ผู้แต่งได้กล่าวถึงค่านิยม เรื่องการรักษาศักดิ์ศรีของสตรี ตอนที่พระอินทร์อุ้มนางอุดรอุรุทีปมาแล้ว ก็ไม่นำไปให้พญาคันคาก โดยทันทีแต่จะพาไปไว้อีกห้อง ให้ถือศีลเป็นคนดี แล้วจึงไปอุ้มพญา คันคากไปหานาง                                                  3. การบวช ผู้ชายต้องบวช ทดแทนบุญคุณพ่อแม่และนิยมบวช ก่อนแต่งงาน อย่างเช่นในเรื่องพญาคันคาก กวีได้บรรยายความรู้สึกของพญาคันคาก ว่าเป็นคนชั่วเพราะไม่ได้บวชทดแทนบุญคุณของพญาเอกราช และพระนางแก้วเทวีเสียก่อนแล้วจึงแต่งงาน

วรรณกรรมพื้นบ้านกับการสร้างมูลค่า

          ในสังคมปัจจุบัน     มีการนำเรื่องเล่าพื้นบ้านมาใช้    ในฐานะทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยวในภาคอีสาน   โดยเน้นให้ผลิตภัณฑ์หรือการท่องเที่ยวเหล่านั้น “บอกเล่า” อดีตที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น ผ่านวรรณกรรมหรือเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับประเพณีในกลุ่มสังคมนั้น ๆ  ปรากฏการณ์ดังกล่าว   ใช้กลุ่มข้อมูลทั้งเรื่องเล่า  ตำนาน  วรรณกรรมที่เป็นที่รับรู้กันทั่วไป อาทิ กลุ่มนิทานเก่า
เช่น เรื่องพญาคันคาก ของจังหวัดยโสธร  ผาแดง – นางไอ่ ของจังหวัดอุดรธานี และกลุ่มข้อมูลที่เป็นเรื่องที่รับรู้ในท้องถิ่น อาทิ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ตำรับอาหารท้องถิ่น ฯลฯ และความเชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ
เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวชม  เป็นการสร้างรายได้ให้กับผู้คนในท้องถิ่น

สรุป

          จาการเข้าร่วมกิจกรรม ช่วยเพิ่มความเข้าใจและความซาบซึ้งในคุณค่าของวรรณกรรมอีสาน  รวมถึงยังได้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่สอดผสานกันในดินแดนแถบสุวรรณภูมิ และสภาพสังคมของเหตุการณ์บ้านเมือง  และทราบถึงมรดกทางวัฒนธรรม  ซึ่งส่วนใหญ่จะถ่ายทอดด้วยวิธีมุขปาฐะ กล่าวคือ มีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งด้วยวิธีการจดจำและเล่าสืบต่อกันมา แต่ก็มีจำนวนมากที่ได้รับการบันทึกไว้แล้ว และการเข้าร่วมรับฟังบรรยายทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของคติชนท้องถิ่น   ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าให้กับท้องถิ่นได้  ทำให้เราได้แนวคิดหลายอย่างที่สามารถนำไปต่อยอดและคิดนอกกรอบได้อย่างดี

หมายเลขบันทึก: 659362เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2019 18:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มกราคม 2019 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท