Lossy คือ อะไร ?


Lossy คือ อะไร ?

เป็นไฟล์แบบที่มีการตัดข้อมูลบางสวนออกไปเพื่อให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง โดยให้มีผลกระทบต่อคุณภาพ เสียงน้อยที่สุด ไฟล์แบบนี้จึงไม่เป็นที่นิยมของนักฟังเพลงที่ต้องการคุณภาพสูง หรือผู้ที่จะนำไฟล์เพลงไปดัดแปลงต่อ เพราะรู้อยู่ตั้งแต่ต้นแล้วว่าคุณภาพเสียงจะด้อยลง ไฟล์เพลงแบบนี้มีข้อดีที่สำคัญคือมีขนาดเล็กมาก โดยอาจจะลดขนาดลงได้ถึง 90% ในขณะที่คุณภาพเสียงด้อยลงเล็กน้อย จึงเหมาะสำหรับการฟังที่ไมได้ต้องการคุณภาพมากนัก หรือใช้กับอุปกรณ์ที่เก็บขอมูลได้น้อย เช่น เครื่องฟังเพลงขนาดเล็กๆหนึ่งในรูปแบบที่แพร่หลายของไฟล์เพลงแบบนี้คือ Mp3 ซึ่งมีการกำหนดให้เป็นมาตรฐานตั้งแต่ปี 1993 โดยไฟล์เพลงแบบ Mp3 มีขนาดเล็กลงมาก และเสียงที่ได้ก็ใกล้เคียงต้นฉบับ สามารถปรับคุณภาพเสียงได้ ซึ่งขนาดของไฟล์ที่ลดลงมากๆ แต่ยังเสียงดี และส่งผ่านอินเทอร์เน็ตได้ง่ายๆ ทำให้ไฟล์เพลงแบบ Mp3 ได้รับความนิยมไปทั่วโลก


ในปี 1997 หลังจากที่ Mp3 ไดรับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก ได้มีการพัฒนาวิธีการใหม่ในการแปลงเพลงให้ได้คุณภาพที่ดีกว่า Mp3 ขึ้นไปอีก โดยหนึ่งในรูปแบบที่ไดรับความนิยมคือ Advanced Audio Coding (AAC) ซึ่งจากการมีคุณภาพที่ดีขึ้น และการสนับสนุนจากบริษัทใหญ่หลายราย ทำให AAC เป็นฟอร์แมตมาตรฐานของอุปกรณ์และโปรแกรมต่างๆ จำนวนมาก รวมถึง YouTube, iPhone, iPod, iPad, Nintendo DSi, Nintendo 3DS, iTunes และ PlayStation 3จนทำให้ AAC กลายมาเป็นฟอร์แมตที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากควบคูกับ Mp3 ที่ถึงแม้ Mp3 จะสู้ไม่ได้ในแง่คุณภาพเสียงที่ขนาดไฟล์เท่ากัน แต่การเกิดขึ้นก่อน และการมีไฟล์เพลงแบบ Mp3 อยู่ในตลาดแล้วมากมาย ทำให้ทั้ง Mp3 และ AAC เป็นไฟล์เพลงแบบ Lossy ยอดนิยมจนถึงทุกวันนี้.


การบีบอัดข้อมูลเสียงแบบตัดทิ้งข้อมูลออกไปบ้าง (Lossy data compression) จะตัดเยอะแค่ไหนขึ้นอยู่กับ bitrate ที่ใช้ ส่วนจะตัดอย่างไรบ้างขึ้นอยู่กับโมเดลเสียงที่มนุษย์รับรู้ ที่อยู่ในโปรแกรมเข้ารหัสเสียง (psychoacoustic model)

ไฟล์ข้อมูลที่ได้จากการคัดลอกแผ่นต้นฉบับ (Clone Disk) โดยอาศัยโปรแกรมเขียนต่าง ๆ ในการสร้างไฟล์อิมเมจ ที่ได้ข้อมูลเดียวกับแผ่นต้นฉบับ มีมากมายหลายสกุล แล้วแต่โปรแกรมที่ใช้คัดลอก สะดวกต่อการเขียนแผ่น แต่ยุ่งยากในการเปิดใช้งาน



จะเห็นว่าการบีบอัดข้อมูลแบบ Lossy  มักจะใช้กับข้อมูลที่มนุษย์รับรู้

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ไฟล์เสียงประเภท mp3 ซึ่งทำการตัดเสียง

ในย่านความถี่ ที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยินออกไป

การบีบอัดข้อมูลแบบ Lossy จะมีแนวคิดต่างกันไป โดยใช้หลักว่าความผิดเพี้ยนของข้อมูล

เล็กน้อยเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ เช่น ตาของมนุษย์ไม่สามารถแยกความแตกต่างของบางสีได้หมด

ก็ไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลทุกสีทุกตำแหน่ง เก็บเพียงบางสีที่แยกความแตกต่างได้ก็พอ

ดังจะเห็นตัวอย่างจากไฟล์ประเภท jpg ใช้การบีบอัดข้อมูลแบบ Lossy จะทำให้ได้ขนาดไฟล์ภาพที่เล็กลงมาก แต่ก็สูญเสียรายละเอียดบางอย่างไป


ไฟล์แบบ  lossy  มีการตัดข้อมูลออกมาบ้างระหว่างการแปลงไฟล์ เราจึงควรหลีกเลี่ยงการนำไฟล์ lossy มาแปลงไฟล์ซ้ำๆ เช่นเอา mp3 ที่ 128 kbps มาแปลงเป็น ogg ที่ 160 kbps เสียงที่ได้ก็จะแย่กว่า mp3 ด้วยซ้ำ เพราะข้อมูลเรามีอยู่เท่านี้ แต่เราไปแปลงมันอีก ให้มันตัดทอนข้อมูลลงไปอีกครับ รวมถึงการแปลงจาก lossy ไปยัง lossless ด้วย  อย่าง mp3 -> flac ขนาดไฟล์จะใหญ่ขึ้นมาก แต่คุณภาพก็เท่ากับ mp3 การเซฟเป็นไฟล์แบบ lossy  ซ้ำๆ ก็ทำให้เสียคุณภาพได้ ถ้าเปิดไฟล์ mp3 ขึ้นมาตัดต่อ แล้วเซฟทับลงไปในไฟล์เดิม ยิ่งเซฟทับบ่อยครั้งเท่าไหร่ คุณภาพไฟล์ก็จะเสียไปเยอะเท่านั้น


เนื้อหาเพื่อการศึกษา

หมายเลขบันทึก: 659250เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2019 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มกราคม 2019 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท