หากมีผู้ใช้สัญญานอินเตอร์เน็ตของ(บ้าน)ท่านเพื่อละเมิดลิขสิทธิ์ เจ้าของสัญญาณเน็ต (เช่น WIFI) จะมีความผิดหรือไม่?


ปัญหานี้แต่เดิมคงไม่เกี่ยวอะไรกับกฎหมายไทย เพราะที่ผ่านมากฎหมายไทยลงโทษแต่การกระทำละเมิดที่เป็นการกระทำโดยตรงของจำเลยเท่านั้น (เช่น ทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่ต่อสาธารณะชน). แต่เมื่อประเทศไทยกำลังเตรียมเข้าเป็นภาคีของ WIPO สิ่งที่ตามมาเป็นอันดับแรก คือ จะต้องเพิ่มการคุ้มครองสิทธิประเภท "making available to public" ซึ่งสิทธิประเภทนี้ไม่จำเป็นว่าการกระทำละเมิดจะต้องเป็น "การกระทำโดยตรง" ของผู้ต้องหา. แต่มุมมองของกฎหมายลิขสิทธิแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน เพราะแม้จะรับรองสิทธิประเภทเดียวกัน แต่บางประเทศก็มี "ระดับการคุ้มครองที่สูงกว่า" (high level of protection) ได้.

ในยุโรปปัญหาเรื่องนี้มีการโยงเอา Infosoc Directive มาตรา 3(1) ซึ่งคุ้มครอง "making available right" กับมาตรา 8(1), (2) ซึ่งว่าด้วยมาตราการที่ได้ผลและพอเพียงที่จะทำให้ผู้ละเมิดไม่กล้าทำผิดอีก (effective measure – ซึ่งอิงมาจาก TRIPs art. 40(1) อีกต่อหนึ่ง) มาใช้ตีความว่า ศาลก็มีอำนาจสั่งลงโทษเจ้าของสัญญาณอินเตอร์เน็ต หากพบว่ามีการใช้สัญญาณของบุคคลนั้นละเมิดลิขสิทธิ์แบบ file-sharing.

ที่ผ่านมาในยุโรป เช่น ศาลยุติธรรมสหพันธรัฐเยอรมันนี เคยมีการตีความว่า "เจ้าของสัญญาณอินเตอร์เน็ตย่อมได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้ละเมิด หากพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีคนอื่นใช้อินเตอร์เน็ตอยู่ด้วยในขณะที่มีการละเมิดเกิดขึ้น".

นอกจากนี้เมื่อเดือนก่อนเพิ่งมีคำพิพากษา Case C‑149/17 ออกมาจาก CJEU ว่าสิทธิขั้นพื้นฐานภายใต้กฎบัตรของ EU (โดยเฉพาะ มาตรา 7 เรื่องความเป็นส่วนตัว) ไม่สามารถนำมาใช้กีดกันไม่ให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถเรียกค่าเสียหายการละเมิดจากเจ้าของ "สัญญาณอินเตอร์เน็ต" ที่ถูกนำไปใช้ทำละเมิดได้ เพียงเพราะว่าเจ้าของสัญญาณอาจจะมีสมาชิกครอบครัวที่ร่วมใช้อินเตอร์เน็ตอยู่ด้วย (para 29) ทั้งนี้เพราะ CJEU ให้เหตุผลว่ากฎหมายลิขสิทธิของสหภาพยุโรปให้ "ความคุ้มครองในระดับสูง" ต่องานอันมีลิขสิทธิ์.

แต่อย่างไรก็ดีศาล CJEU ไม่ได้ห้ามแต่ละประเทศสมาชิกจะไปออกกฎหมายให้เป็นธรรม ภายใต้หลัก "ความได้สัดส่วน" ตาม ม. 52 ของ EU Charter (ตรงกับมาตรา 26 ของ รธน. ไทย).

กฎหมายไทยไม่ได้มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลแบบเปิดกว้าง ล้วงลูกได้ลึกเพื่อความ effective enforcement เหมือนกับกรณีของ Infosoc Directive ของ EU. อำนาจในทางแพ่งของศาลตาม มาตรา 64 ในกฎหมายลิขสิทธิ์ไทยค่อนข้างจำกัดและล้าสมัย เพราะยังไม่สนองความต้องการของ TRIPs มาตรา 41(1). แต่ความต้องการในอนาคตของเจ้าของลิขสิทธิอาจเปลี่ยนไปเพราะความซับซ้อนขึ้นของเทคโนโลยีก็ได้ ... เพราะถ้าหากความซับซ้อนของเทคโนโลยีทำให้การพิสูจน์การละเมิดโดยตรงทำได้ยาก การฟ้องตามความผิดอาญาก็คงเป็นเรื่องเสียแรงปล่าว และเจ้าของลิขสิทธิย่อมอาจจะต้องการให้มีกลไกการบังคับสิทธิทางแพ่งที่เปิดกว้างและทันสมัยกว่านี้.

เมื่อกลไกทางแพ่งล้าสมัยก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ในบ้านเราชอบพึ่งกฎหมายอาญา. 

http://ipkitten.blogspot.com/2018/10/cjeu-weighs-on-liability-of-owner-of.html

หมายเลขบันทึก: 659060เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2019 03:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มกราคม 2019 03:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท