4. Positive Psychology กับผู้นำ


หลังจากเกมเมื่อวันเสาร์ที่ 22 ธ.ค.2561 ได้ทำให้แฟนๆ ปีศาจแดง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ได้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนผู้จัดการทีมจากเดิม โชเซ่ มูริญโญ เป็น โอเล่ กุนนาร์ โซลชา

วันนี้ผมเลยอยากเปรียบเทียบการคุมทีมระหว่าง โชเซ่ มูรินโญ่ กับ โอเล่ กุนนาร์ โซลชา โดยใช้ทฤษฎี Positive Psychology นะครับ
ก่อนอื่นขอขอบคุณ ดร.ภิญโญ รัตนาพันธ์ุ ที่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ Positive Psychology ครับ

การคุมทีมต่างๆ ของมูรินโญแบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ ฤดูกาลแรกเป็นการสร้างรากฐานเพื่อความสำเร็จ ฤดูกาลที่สองเป็นการคว้าความสำเร็จ และฤดูกาลที่สามที่มักจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงและทำให้เขาออกจากทีมไปด้วยความเกลียดชังทั้งจากสโมสรและแฟนบอล

ซึ่งเขาเคยเป็นแบบนี้มาตลอดกับ เชลซี, อินเตอร์มิลาน และเรอัล มาดริด

เพราะภายใต้การคุมทีมของมูรินโญเล่นอย่างตื่นกลัว เน้นผลการแข่งขัน ตั้งรับอย่างเดียวอย่างที่เรียกกันว่า "ระบบรถบัส" ส่งผลให้แฟนบอลก็ไม่ส่งเสียงเชียร์เลยทั้งนี้เมื่อการแข่งขันเป็นไปตามที่ตนตั้งเป้าไว้ก็จะแสดงความชื่นชมลูกทีมน้อยมาก แต่ถ้าหากทีมแพ้จะมีการตำหนิลูกทีมของตัวเอง โดยใช้ทัศนะคติเชิงลบ ทำให้นักเตะอยู่ในอาการหวาดกลัวที่จะเล่น ทำให้หมดกำลังใจ

ขอยกตัวอย่างคำพูดของมูริญโญครับ

“กับปอร์โต้ — แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ตกรอบกับเรอัล มาดริด — แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ตกรอบเรื่องราวทำนองนี้ก็ไม่เห็นแปลกอะไรเลยสำหรับสโมสรแห่งนี้”ซึ่งคำพูดนี้ มูรินโญ่กล่าวหลังเกมส์ที่แมนยูถูกเซบีญ่าเขี่ยตกรอบเมื่อฤดูกาลที่ผ่านมาทั้งๆ ที่ชื่อชั้นต่างกันมากมาย

ผมตั้งข้อสังเกตจากการเรียนรู้ทฤษฎี Positive Psychology มาใช้คือ ถ้าหากมูริญโญ ลองเปลี่ยนทัศคติในการคิดและพูดด้วยคำพูดเชิงบวก เช่น“เราพยายามแล้ว ในครั้งต่อไปเราจะทำให้ดีมากขึ้นไปอีกสำหรับการเข้ารอบต่อไป” ซึ่งเป็นคำพูดเชิงบวก จะทำให้บรรยากาศในทีมเปลี่ยนเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะไม่จบด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับโชเซ่ในชณะนี้ เพราะจะสร้างขวัญและกำลังใจให้กับลูกทีมเป็นอย่างมาก แม้นัดนั้นจะไม่ประสบความสำเร็จก็ตาม

ส่วนทางด้าน โซลชา ที่พึ่งกลับบ้านโรงละครแห่งความฝัน แต่ในฐานะที่ยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้น ในเกมแรกของการคุมทีมปีศาจแดงที่ผ่านมาเป็นการคุมทีมกะทันหัน และเขาได้มีโอกาสเจอลูกทีม 1-2 วันก่อนเตะ และไม่ได้ให้ Tactic อะไรเลย นอกจากพูดกับนักเตะว่า "ให้นักเตะเล่นในสไตล์ของตัวเอง" ด้วยความมั่นใจและความไว้เนื้อเชื่อใจในลูกทีม ซึ่งผลลัพธ์ออกมาชนะคาร์ดิฟฟ 1-5

ทัศนคติเป็นอีกสิ่งที่สำคัญสำหรับการเป็นผู้จัดการทีม ซึ่งเปรียบเสมือนประภาคารที่จะนำพาและส่องนำทางให้เรือสามารถขับเคลื่อนไปได้ด้วยความราบรื่น ถ้าหากผู้จัดการทีมที่มีทัศนคติที่ดี มักจะนำพาทีมให้ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

จากบทความนี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานในลักษณะของการทำงานเป็นทีมได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นหัวหน้าทีมหากใช้ทฤษฎี Positive Psychology เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการทีม จะทำให้ทีมประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

หมายเลขบันทึก: 658911เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2018 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ธันวาคม 2018 08:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท