สหกรณ์ต้องใช้จิตวิทยาสังคมทางเศรษฐกิจ


ถาม...ท่านอาจารย์ช่วยกรุณา

เมตตาขยายข้อสงสัยสักนิดครับ

เนื่องด้วยผมไม่ใช่สายตรงทาง

สหกรณ์ จึงเกิดข้อสงสัยว่านิยามนี้

ทำไมความหมายของกรมส่งเสริม

จึงให้คำว่า คุณค่า ไม่ใช่ค่านิยม

ตามที่อาจารย์บรรยายครับผม

ตอบ..

ขอตอบตามหลักวิชาการนะครับ

การทีผมใช้คำว่า Values แปลเป็น

ไทยว่า "ค่านิยม" เป็นเพราะเหตุผล

ที่ว่า คำนิยม นั้นเป็นบรรทัดฐาน

ทางสังคมใช้วัดพฤติกรรมของกลุ่มคน

ส่วนคำว่า"คุณค่า"เป็นเรื่องของจิตใจ

มีลักษณะเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้

มองไม่เห็นเป็นได้เพียงคุณค่าทางจิตใจ

ไม่สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานทางสังคม

ความเป็นสหกรณ์ได้ แม้ว่าคุณค่า

จะมาก่อนแต่เป็นสิ่งมองไม่เห็น

การวัดคุณค่าก็ต้องวัดกันที่พฤติกรรม

จึงเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ทางจิต

ที่เรียกว่า จิตวิทยา ค่านิยมสหกรณ์

จึงเป็นเรื่องของจิตวิทยาสังคมทาง

เศรษฐกิจ และตามหลักวิชาของ

ภาษาศาสตร์ รากศัพท์ของคำว่า

value นั้นแปลว่า คุณค่า ก็จริง

แต่ถ้าเมื่อใดเขียนมี s ท้ายคำ

ก็ไม่ได้หมายความว่า หลาย ๆ คุณค่า

แต่ความหมายจะเปลี่ยนไป คือแปลว่า

ค่านิยม เพราะเป็น often plural เสมอ

เช่นเดียวกับคำว่า water ที่แปลว่า น้ำ

พอเติม s ไม่ได้แปลว่าหลาย ๆ น้ำ

หรือน้ำเยอะ ๆ แต่แปลว่าแหล่งน้ำ

ต้นน้ำลำธาร ครับ

เมื่อพูดูถึงจิตวิทยาสังคมทางเศรษฐกิจ

นักสหกรณ์ไทยไม่ค่อยจะมีใครสนใจ

มากนัก กลับไปให้ความสำคัญกับ

เศรษฐกิจและหน่วยย่อยที่เป็นธุรกิจ

อย่างเดียวกันมาก ซึ่งเคยล้มเหลวมา

แล้วในประเทศรัสเซียที่นำเอาเศรษฐกิจ

สังคมนิยมบริสุทธิ์ของคาร์ลมาร์ค

ไปใช้ เช่น การเลิกล้มระบบเงินตรา

และแรงงานแลกสินค้าและบริการ

และมองข้ามเรื่องจิตวิทยาสังคม

ว่ามนุษย์สนใจตนเอง จึงล้มเหลว

ตั้งแต่ต้น ชาวสหกรณ์จึง

ไม่ได้มองด้านเศรษฐกิจแต่เพียง

มิติเดียวยังต้องคำนึงถึงด้านสังคม

และวัฒธรรมร่วมด้วย ในนิยาม

ความหมายของคำว่า values

ในบริบทของสหกรณ์ ผมจึง

หมายถึงค่านิยม เพราะใช้เป็น

บรรทัดฐานวัดสังคมความเป็น

สหกรณ์และเป็นเรื่องของ

จิตวิทยาสังคมทางเศรษฐกิจ

ที่ว่าด้วยการช่วยตนเอง การร่วม

มือร่วมใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

เพื่อสร้างผลผลิต สร้างผลประโยชน์

ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน

อันเป็นรายได้ส่วนรวม การทำ

สหกรณ์โดยใช้เนื้อแท้ทาง

เศรษฐศาตร์อย่างเดียวตามทฤษฎี

โดยไม่ได้ผสมผสานจิตวิทยาสังคม

ตามที่ องค์กรสัมพันธภาพสหกรณ์

ระหว่างประเทศให้มาควบคู่มากับ

หลัการสหกรณ์ สหกรณ์อาจพบกับ

ความล้มเหลว ดังประสบการณ์ที่

เกิดขึ้นในหลาย ๆ สหกรณ์ และ

ความล้มเหลวของเศรษฐกิจของ

ประเทศรัฐเซีย ตามที่ยกตัวอย่างมา

หมายเลขบันทึก: 658906เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2018 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ธันวาคม 2018 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท