การปรับเปลี่ยนเกณฑ์ Baldrige 2019-2020


Baldrige Excellence Framework เน้นการสร้างความตระหนักรู้ของ business ecosystems, organizational culture, supply networks, and cybersecurity และทำให้เกณฑ์สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น จากมุมมองของผู้ใช้

การปรับเปลี่ยนเกณฑ์ Baldrige 2019-2020

พลตรี มารวย  ส่งทานินทร์

[email protected]

22 ธันวาคม 2561

บทความเรื่อง การปรับเปลี่ยนเกณฑ์ Baldrige 2019-2020 นี้ นำมาจาก เว็บไซต์ https://www.nist.gov/sites/default/files/documents/2018/12/14/changes-from-the-2017-2018-baldrige-framework.pdf

ผู้ที่ต้องการเอกสารนี้แบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ https://www.slideshare.net/maruay/changes-in-baldrige-framework-2019-2020

การปรับเปลี่ยนเกณฑ์

  • เพื่อให้เกิดความสมดุลของ มาตรฐานเพื่อความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน และ การเป็นมิตรกับผู้ใช้เกณฑ์ สำหรับองค์กรที่มีวุฒิภาวะที่แตกต่างกัน การเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏในปี ค.ศ. 2019-2020 นั้น Baldrige Excellence Framework เน้นการสร้างความตระหนักรู้ของ business ecosystems, organizational culture, supply networks, and cybersecurity และทำให้เกณฑ์สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น จากมุมมองของผู้ใช้

ระบบนิเวศธุรกิจ (Business Ecosystems)

  • ในขณะที่องค์กรต่าง ๆ นำเสนอ ผลิตภัณฑ์และบริการแบบสหวิทยาการ (multidisciplinary products and services) มากขึ้น ผู้นำจำเป็นต้องนำองค์กร ให้เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมข้ามระบบ ทั้งในประเทศและในบางครั้งทั่วโลก ซึ่งเรียกว่า ระบบนิเวศ (ecosystems)
  • เครือข่ายความร่วมมือที่กว้างขวางและพึ่งพาซึ่งกันและกันเหล่านี้ อาจรวมถึงพันธมิตรแบบดั้งเดิม ผู้ให้ความร่วมมือ และยังรวมถึงคู่แข่ง องค์กรนอกภาคส่วน ชุมชน และลูกค้า

เครือข่ายอุปทาน (Supply network)

  • เกี่ยวข้องกับแนวคิดของระบบนิเวศ ของการผลิตสินค้าและบริการที่ส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นมากกว่าห่วงโซ่ง่าย ๆ จากผู้ส่งมอบ ไปยังผู้ส่งมอบ ไปยังองค์กร
  • องค์กรที่ซับซ้อน อาจมีการประสานกิจกรรมของผู้ส่งมอบจำนวนมาก และบางองค์กรอาจเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายที่ซับซ้อนขององค์กรอีกแห่ง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการผลิตหรือการส่งมอบ

วัฒนธรรม (Culture)

  • วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture) เป็นความเชื่อร่วมกัน เป็นบรรทัดฐาน และเป็นค่านิยม ที่สร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่ซ้ำกันภายในของแต่ละองค์กร ซึ่งมีผลอย่างลึกซึ้งต่อการตัดสินใจ ความผูกพันของบุคลากร ความผูกพันของลูกค้า และความสำเร็จขององค์กร

ความปลอดภัย และความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Security and Cybersecurity)

  • เกณฑ์ได้ระบุถึงความปลอดภัยของระบบข้อมูล และการรักษาความลับของข้อมูล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 และเพิ่มเติมข้อพิจารณาที่สำคัญเหล่านี้ในปี ค.ศ. 2017-2018
  • เมื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกองค์กร จึงมีการขยายคำถามเกณฑ์ เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์

การทำให้เข้าใจง่าย

  • มีการปรับปรุงหัวข้อเกณฑ์หลายหัวข้อ คำถามและหมายเหตุบางส่วนได้ถูกลบออก มีการจัดระเบียบใหม่ ปรับปรุง ย้าย หรือเปลี่ยนถ้อยคำ เพื่อช่วยให้เข้าใจง่าย
  • เนื้อหาจากคำถามบางข้อ ถูกย้ายไปยังหมายเหตุ เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับให้องค์กรไว้พิจารณา

คำถามของเกณฑ์ (เดิมคือ ข้อกำหนด)

  • คำถามพื้นฐาน คำถามโดยรวม และ คำถามย่อย ในหัวข้อเกณฑ์จะถามเกี่ยวกับกระบวนการ การปฏิบัติ และผลลัพธ์ ที่พบในองค์กรที่มีสมรรถนะสูง
  • คำถามเหล่านี้ มีความสำคัญแตกต่างกันในองค์กรที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ใช้ และเพื่อมั่นใจได้ว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จและยั่งยืน
  • โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระดับคำถามย่อย ไม่ใช่หัวข้อตรวจสอบข้อกำหนด ที่ทุกองค์กรต้องปฏิบัติตาม

โครงร่างองค์กร

  • 1. ลักษณะองค์กร ถามเกี่ยวกับลักษณะของวัฒนธรรมองค์กร นอกเหนือจากค่านิยม และเกี่ยวกับโครงสร้างและกลไกของระบบภาวะผู้นำ

หมวด 1 การนำองค์กร

  • หัวข้อ 1.1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง มีคำถามเกี่ยวกับการสร้างและตอกย้ำวัฒนธรรมองค์กร (organizational culture)
  • หัวข้อ 1.2 และที่อื่น ๆ ในเกณฑ์ ความรับผิดชอบทางสังคม (societal responsibilities) ได้เปลี่ยนเป็น การช่วยเหลือสังคม (societal contributions) เพราะการช่วยสังคมเป็นมากกว่าสิ่งที่ต้องทำ เป็นการทำให้เหนือกว่าความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้ลูกค้าและบุคลากรเกิดความผูกพัน และสร้างความแตกต่างในตลาด

หมวด 3 ลูกค้า

  • หัวข้อ 3.1 เปลี่ยนเป็น ความคาดหวังของลูกค้า (Customer Expectations) ที่มีประเด็นพิจารณาสองข้อคือ การรับฟังลูกค้า และ การแบ่งกลุ่มลูกค้าและการนำเสนอผลิตภัณฑ์
  • หัวข้อ 3.2 ความผูกพันของลูกค้า มีประเด็นพิจารณาสามข้อคือ ความสัมพันธ์และการสนับสนุนลูกค้า ความพึงพอใจและความผูกพันของลูกค้า และการใช้เสียงของลูกค้าและข้อมูลการตลาด

หมวด 5 บุคลากร

  • หัวข้อ 5.2 ความผูกพันของบุคลากร ถามว่าองค์กรเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรอย่างไร ได้เพิ่มประเด็นพิจารณาคือ การจัดการผลการดำเนินการและการพัฒนาบุคลากร (Performance Management and Development) เพื่อรับรู้ถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ระหว่างการจัดการผลการดำเนินการและการพัฒนาบุคลากร รวมถึงมีคำถามเกี่ยวกับการเรียนรู้และการพัฒนา ประสิทธิผลการเรียนรู้และการพัฒนา และการพัฒนาอาชีพ

หมวด 6 การปฏิบัติการ

  • หัวข้อ 6.1 กระบวนการทำงาน ประเด็นพิจารณาที่สาม คือการจัดการเครือข่ายอุปทาน (Supply-Network Management) มีคำถามเกี่ยวกับการความสอดคล้องไปในทางเดียวกันของเครือข่ายอุปทาน การทำงานร่วมกัน ความคล่องตัว และการสื่อสารกับผู้ส่งมอบ
  • หัวข้อที่ 6.2 ในประเด็นพิจารณาที่สอง มีคำถามเกี่ยวกับบทบาทของบุคลากร ลูกค้า พันธมิตร และผู้ส่งมอบ ในการสร้างความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ และเกี่ยวกับการปกป้องทรัพย์สินที่สำคัญ

หมวด 7 ผลลัพธ์

  • เพื่อลดความสับสนเกี่ยวกับความซ้ำซ้อน ระหว่างคำถามเกณฑ์และแนวทางการให้คะแนนผลลัพธ์ คำศัพท์ที่สะท้อนปัจจัยการประเมินของ ระดับ แนวโน้ม และ การเปรียบเทียบ ถูกลบออกจากหัวข้อผลลัพธ์
  • อย่างไรก็ตาม องค์กรควรรวมข้อมูลนี้ตามความเหมาะสม ในการตอบสนอง

หัวข้อ 7.5

  • หัวข้อ 7.5 ผลลัพธ์ด้านการเงิน การตลาด และกลยุทธ์ ให้แสดงผลลัพธ์ด้านกลยุทธ์ โดยตระหนักว่า การดำเนินการตามกลยุทธ์นั้น เกี่ยวข้องกับความสำเร็จทางการเงินและการตลาดอย่างใกล้ชิด

******************************************

หมายเลขบันทึก: 658887เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2018 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2018 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท