COMMUNITY SURVIVOR AND LEARNING SKILL


เรื่องเล่าจากเพื่อนร่วมชั้นคนหนึ่ง เธอเริ่มรู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาที่หนักขึ้นมากๆ ตอนเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลาย เธอเป็นลูกคนสุดท้องที่มีทั้งพี่สาวและพี่ชาย ในช่วงเวลานั้น เธอรับรู้ได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างเธอและพ่อแม่เริ่มห่างเหินข้นเรื่อยๆ เพราะดูเหมือนพวกท่านกำลังพุ่งเป้า ทุ่มเทให้กับตัวพี่ชายอยู่มาก เธอต้องย้ายโรงเรียนเพื่อไปเรียนชั้นมัธยมปลายอีกอำเภอหนึ่ง วึ่งไกลจากบ้านที่อาศัยอยู่กว่า 1ชม. เธอต้องต่นแต่เช้าออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้า และกลับถึงบ้านช่วงหกโมงเย็น กลับบมาก็นั่งกินข้าวคนเดียวที่ที่บ้านเตรียมไวให้ ขึ้นห้องทำการบ้าน นอน ตื่นมามีคนไปส่ง พ่อแม่กลับบ้านดึก ไม่มีโอกาสได้เจอ พูดคุยกัน

ตารางการใช้ชีวิตวนลูปอยู่อย่างนี้ ทำให้เธอเบื่อ ไม่อยากกลับบ้าน เริ่มออกไปนอนบ้านเพื่อน ครั้งแรกที่เธอตัดสินใจว่าจะไปนอนบ้านเพื่อน เธอโทรไปบอกแม่ คำตอบที่ได้กลับมาคือท่านไม่ได้ว่าอะไร เธอรู้สึกน้อยใจนิดหน่อยว่าไม่เป็นห่วงเธอหน่อยเหรอ แต่เธอก็คิดว่าตอนนั้นแม่คงมีปัญหาอื่นที่ต้องคิดหนักมากกว่านี้ และจากเด็กที่ตั้งใจเรียน ก็เริ่มละเลย ไม่สนใจ นั่งหลังห้อง ตอนนั้นเธอรู้สึกสับสน ไม่รู้ว่าต้องทำตัวอย่างไร

จนกระทั่ง ม.6 ที่เธอต้องเลือกศึกษาต่อเข้ามหาวิทยาลัย เธอตัดสินใจเลือกที่จะเข้าเรียนคณะที่เธอต้องการ ด้วยเธอและแน่นอนว่าเป็นเพื่อนของเธอที่เห็นด้วยว่าเป็นสิ่งที่เธอถนัดและน่าจะไปได้ดีกับมัน แต่อยูมาวันหนึ่ง แม่ได้เดินเข้ามาหาเธอและพูดดว่าให้เรียนอีกคณะนึง เพราะมีคนรู้จักเรียนอยู่และเข้าก็ไปได้ดีกับสิ่งนี้ และยังบอกอีกว่าจะเลือกอะไรก็ให้คิดถึงพ่อแม่ด้วย ทันทีที่ฟังจบ เธอรู้สึกโกรธ.... จะเรียกแบบนั้นก็ไม่ถูกนัก เอาเป็นน้อยใจดีกว่า จึงพูดบางอย่างตอบกลับไป “รู้ได้ยังไงว่ามันจะไม่ดี รู้จักกันดีขนาดไหน ทุกวันนี้เคยคุยกันมากเท่าไหร่ เจอหน้ากันแค่ไหน ถึงมาตัดสินใจแทนให้” หลังจากที่พูดไป เธอเห็นแม่เธอที่ร้องไห้เดินออกไป

หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แม่ไม่เข้ามาถามเธอเรื่องนี้อีกเลย แต่ในใจเธอรู้สึกผิดที่ทำให้แม่ร้องให้ ทำให้เธอกลับมาคิดใหม่ว่าเธอเลือกที่จะทำสิ่งที่ชอบอย่างเดียวไม่ได้ เธอจึงเข้าไปคุยกับแม่ใหม่ ครั้งนี้ใช้เหตุผลเข้าหา เธอตัดสินใจที่จะอยู่ตรงกลางระหว่างความต้องการของแม่และเธอ เลือกเข้าเรียนในคณะที่ศึกษาอยู่ปัจจุบัน และค่อยหาเวลาว่างทำในสิ่งที่ชอบ เธอเริ่มเปลี่ยนวิธีคิดจากการตั้งคำถามในทุกเรื่องที่เธอไม่เข้าใจ เป็นการปล่อยวางไปบ้าง อะไรที่ผ่านมาแล้วจะกลับไปคิดให้ปวดหัวไปอีกทำไม

เรื่องนี้ทำให้เรียนรู้ว่าความสัมพัรธ์ในครอบครัวเป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างคาดไม่ถึง ทำให้ย้อนดูตัวเองที่มีพี่น้องหลายคนเหมือนกัน ว่าเราไปทำอะไรที่เบียดเบียนน้องเราหรือไม่ เราละเลยคนในครอบครัวของเราไปหรือเปล่า วันนี้เราพูดคุย เข้าใจว่าพวกเขาทุกข์ใจกับเรื่องใดหรือไม่ เพราะครอบครัวเป็นที่พึ่งพิงซึ่งกันและกันที่อบอุ่นปลอดภัยที่สุดแล้ว

ฉัตรธิยา สมอทอง 5923004              

20181219115539.pdf

หมายเลขบันทึก: 658841เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2018 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2018 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความรู้สึกนึกคิดของแม่เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน ซึ่งบางครั้งเราซึ่งเป็นเด็กอาจนำความรู้สึกของตนเองที่ผสมผสานความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจในสิ่งที่เรามองว่าพ่อแม่ไม่รักในขณะนั้น ซึ่งจริง ๆ แล้วด้วยภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบของพ่อแม่ เขาจึงต้องแสดงออกเช่นนั้น แต่แม่ก็คือแม่ เชื่อว่าท่านยังรักและห่วงใยเราเสมอ เพียงแต่จะแสดงออกของแม่แต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน ซึ่งท้ายสุดแล้วท่านก็เป็นห่วงเรายิ่งกว่าสิ่งใดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท