Community survivors and learning process skills


กิจกรรมบำบัดกับความคิด

จากการบ้านอาจารย์ให้โทรหาสัมภาษณ์บุคคลที่มีปัญหา หรือความบกพร่องที่เกิดขึ้นกับร่างกาย หรือจิตใจ เราได้เลือกที่จะโทรหาเพื่อนสมัยตอนอยู่มัธยมคนหนึ่ง ที่มีปัญหาเป็นโรคซึมเศร้า...

จากการพูดคุยสอบถามในเบื้องต้น สาเหตุที่ทำให้เพื่อนคนนี้มีภาวะซึมเศร้า เกิดมาจากเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดจากปัญหาครอบครัวมากระทบกับจิตใจ มีการทะเลาะกับครอบครัวอยู่บ่อยครั้งถึงความเข้าใจไม่ตรงกัน ประกอบกับเพื่อนมีบุคลิกเป็นคนโลกส่วนตัวสูง และความเป็นตัวของตัวเองสูง ทำให้มีการสะสมปัญหานี้มาเรื่อยๆ และสิ่งที่ทำให้เกิดจุดชี้ขาดว่าตนเองกำลังเป็นโรคนี้ คือเกิดจากรุ่นพี่ผู้หญิงคนหนึ่งมากระตุ้น

เมื่อได้สอบถามถึงผลกระทบ เพื่อนได้กล่าวว่า มันไม่ได้กระทบกับชีวิตประจำวันอะไรเลย สามารถไปเรียน และทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติ สภาพร่างกายก็ปกติดี มีเพียงอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยเท่านั้น มีเพียงประสิทธิบางการทำงานบางอย่างเท่านั้นที่ลดลง ไม่ได้กระทบกับผลลัพธ์มากนัก แต่สิ่งมันแย่คือความคิด จากปกติที่เป็นคนที่ใช้ชีวิตคนเดียวอยู่แล้ว ระดับความคิดเองก็อยู่ในระดับที่ว่าไม่สามารถปล่อยผ่านให้ช่างมันได้ และยิ่งมามีภาวะนี้ด้วยแล้วทำให้กลายเป็นคนที่ negative thinking ยิ่งกว่าเดิม มองโลกในแง่ร้ายกว่าเดิม รู้สึกแย่กับตัวเองมากกว่าเดิม และมีความกลัวเกิดขึ้น ความกลัวเกิดขึ้นนี้ไม่ได้เกิดจากว่ากลัวคนอื่นมากระทำให้ตัวเองรู้สึกแย่ แต่เป็นความกลัวตัวเอง กลัวว่าโรคที่ตัวเองเป็นจะไปส่งผลกระทบกับผู้อื่น และทำให้รู้สึกว่าตัวเองโจมตีจากโรคขึ้นหนักกว่าเดิม

และเพื่อนยังได้บอกอีกว่าจริงๆไม่สามารถก้าวข้ามปัญหานั้นมาได้หรอก แต่เป็นการหยุดพักกับตัวเองมากกว่า เพื่อนได้ยกตัวอย่างมาว่าอย่างคนอื่นเป็นแผล เลือดไหล ถ้าได้ทำแผลรักษาดีๆแผลมันก็จะหายไป แต่กับตนเองเป็นแผลมีเลือดไหลก็ทำเพียงปล่อยให้เลือดมันหยุดไหลและแห้งไปเอง เกิดเป็นแผลเป็นที่ติดตัว และเราก็ต้องอยู่กับรอยแผลนั้นไปตลอด มันไม่มีทางหาย ทางเราได้สอบถามเพิ่มเติมอีกว่าได้มีโทรไปหาใครสักคนเพื่อเล่าระบายออกมาให้ฟังไหม หรือได้คุยกับครอบครัวให้ช่วยแก้ปัญหาหรือไม่ เพื่อนได้แจ้งว่าไม่มีเพื่อนสนิทที่จะเล่าให้ฟัง มีเพียงตัวข้าพเจ้าเท่านั้นที่ทราบถึงปัญหานี้ แต่ว่าได้มีการพบนักจิตวิทยาเพื่อพูดคุยบำบัด แต่เป็นการบำบัดที่แค่เล่าให้ฟังแค่นั้น และคำแนะนำที่ได้รับมาคือวิธีการที่ให้ปรับตัวเข้ากับสังคมให้ได้เท่านั้น ดังนั้นส่วนมากการก้าวข้ามปัญหาต่างๆเหล่านี้จึงเป็นการจัดการด้วยตนเองมากกว่า

หลังจากการสัมภาษณ์จบ ทำให้ข้าพเจ้าได้ตระหนักว่า คนที่เป็นโรคเดียวกันอาจจะมีวิธีฟื้นฟูที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกันไปก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการที่จะฟื้นฟูได้ คือ ความคิด โดยเราจะต้องมีทัศนคติที่ดีก่อน อย่างอื่นจึงจะพัฒนาขึ้นตาม

นศ.กบ.อาภาพร หทัยทิพรัตน์ 5923017 #3

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 658764เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2018 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2018 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท