มีความหมายใดในการเก็บขยะ (จิตอาสาจากเรื่องใกล้ตัว)


ขณะที่กลุ่มแกนนำก็ไม่ใช่แค่เรียนรู้เรื่องการจัดการขยะเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังได้ฝึกทักษะของการเป็นผู้นำไปในตัว อาทิ การออกแบบกิจกรรม การกำหนดพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย การวางแผนการดำเนินงาน การติดต่อประสานงานกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง การจัดหาอุปกรณ์และทรัพยากร การกำกับดูแลการทำกิจกรรม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การมอบหมายงาน-กำกับงาน การทำงานเป็นทีม การประเมินผลกิจกรรม การประเมินผลการเรียนรู้ ทั้งในรายบุคคลและภาพรวมของทีม หากแต่ยังได้ฝึกทักษะของการเป็นผู้นำไปในตัว อาทิ การออกแบบกิจกรรม การกำหนดพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย การวางแผนการดำเนินงาน การติดต่อประสานงานกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง การจัดหาอุปกรณ์และทรัพยากร การกำกับดูแลการทำกิจกรรม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การมอบหมายงาน-กำกับงาน การทำงานเป็นทีม การประเมินผลกิจกรรม การประเมินผลการเรียนรู้ ทั้งในรายบุคคลและภาพรวมของทีม

ผมมีความเชื่อว่าการบ่มเพาะเรื่อง “จิตอาสา” หรือ “จิตสาธารณะ”  สมควรที่จะเริ่มต้นจากเรื่องใกล้ตัวของเรานี่แหละ  ในฐานะของคนที่เฝ้าดูและมีส่วนหนุนเสริมการเรียนรู้ดังกล่าว  ผมจึงพยายามส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตได้ “ลงมือทำ” จากเรื่องใกล้ๆ ตัว และย้ำเน้นถึงการทำในแบบ “เป็นทีม”

แนวคิดยังกล่าวนี้  เป็นความโชคดีที่มี “เครือข่ายนิสิตจิตอาสาเพื่อสังคม”  (ทำดีเพื่อพ่อ ทำดีเพื่อแผ่นดิน)  และเครือข่ายนิสิต “๙ ต่อBefore After  ทำหน้าที่เป็นทั้งระบบและกลไกช่วยขับเคลื่อนการบ่มเพาะดังกล่าว –

หลักๆ แล้วเรื่องใกล้ตัวที่ผ่านมาก็ทำอยู่ไม่กี่อย่าง  และทุกอย่างที่ทำก็เน้นเป็นเรื่องภายในรั้วมหาวิทยาลัยเป็นสำคัญ เช่น  บริจาคโลหิต  เก็บขยะ  ตีเส้นจราจร  รื้อผักตบ  ฉีดพ่นจุลินทรีบำบัดน้ำเสียและกลิ่นเน่าเหม็น  พร้อมๆ กับการผูกโยงกิจกรรมกับกระแสหลัก  หรือเหตุการณ์ทางสังคมตามครรลองของการจัดกิจกรรมอันเป็นแนวคิด  “ฮีต 12 คองกิจกรรม-ฮีต 12 คองสังคม-ฮีต 12 คองมหาวิทยาลัย”



มีความหมายในในการเก็บขยะ

ระยะหลังนิสิตปลุกเร้าให้พี่ๆ น้องๆ ลุกขึ้นมาช่วยกันเก็บขยะในมหาวิทยาลัยถี่ครั้ง  อย่างน้อยก็เดือนละครั้ง หรือไม่ก็เก็บขยะในกิจกรรมสำคัญๆ เช่น การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยรอบคัดเลือก โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เดือนตุลาคม 2561) และพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2560-2561 เมื่อวันที่ 2 และ 4 ธันวาคม 2561

ครับ-ลุกขึ้นมาทำกิจกรรมสร้างสรรค์แบบง่ายๆ  จากเรื่องใกล้ตัว 

ในด้านกระบวนการนั้น  มีการเปิดรับสมัครคนเข้ามาร่วมเป็นอาสาสมัคร  เรียกได้ว่าคิดบนฐาน “ใจ” (ใจนำพาศรัทธานำทาง)  ใจล้วนๆ อย่างเดียวไม่พอ  ว่าด้วยการเก็บขยะก็มีการเติมเต็มความรู้ว่าด้วยขยะไปตัว  อาทิ ประเภทขยะ  การคัดแลกขยะ การจัดเก็บขยะ การนำไปแปรรูป

และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการเก็บขยะในกระแสหลัก หรือกิจกรรมที่ว่านั้น  ย่อมให้นิสิตจิตอาสาได้เรียนรู้ว่า “บ้านเรามีงานอะไร”  แม้ตัวเองจะไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา  แม้ตัวเองจะไม่ใช่คนรับปริญญา  หรือช่วยงานในงานนั้นๆ ก็เถอะ  แต่การลุกมาช่วยกันเก็บขยะเช่นนี้ก็ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องที่ว่านั้นไปโดยปริยาย  พอๆ กับการเรียนรู้เรื่องราวของมหาวิทยาลัยไปในตัว

ครับ-เรียกได้ว่าได้เรียนรู้เรื่องจิตอาสาคู่ไปกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์อันเป็นกิจกรรมนั้นๆ  พอๆ กับการเรียนรู้ที่จะ “รักมหาวิทยาลัย”และแสดงออกอย่างสร้างสรรค์  มิใช่เก็บตัวเงียบเป็น “ทองไม่รู้ร้อน”  ในแบบ “ธุระไม่ใช่” 

หรือปล่อยให้เวลาว่างเป็นเวลาเลื่อนลอยไร้หมุดหมายต่อการเรียนรู้ไปซะงั้น

ขณะที่กลุ่มแกนนำก็ไม่ใช่แค่เรียนรู้เรื่องการจัดการขยะเพียงอย่างเดียว  หากแต่ยังได้ฝึกทักษะของการเป็นผู้นำไปในตัว  อาทิ การออกแบบกิจกรรม การกำหนดพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย  การวางแผนการดำเนินงาน  การติดต่อประสานงานกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง  ประชาสัมพันธ์กิจกรรม การใช้สื่อและผลิตสื่อ  การจัดหาอุปกรณ์และทรัพยากร  การกำกับดูแลการทำกิจกรรม  การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า  การมอบหมายงาน-กำกับงาน   การทำงานเป็นทีม  การทำงานเชิงเครือข่าย  การประเมินผลกิจกรรม  การประเมินผลการเรียนรู้  ทั้งในรายบุคคลและภาพรวมของทีม 

ใช่ครับ- สิ่งเหล่านี้คือ “ทักษะที่ผู้นำนิสิต” ต้องเรียนรู้และฝึกฝนให้มีในตัวตน  ซึ่งเราเรียกว่า Soft skills 

นี่คือการเรียนรู้เล็กๆ  ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ไม่ใช่คิดอะไรไม่ออกก็บอกสี (ทาสี)  หรือคิดอะไรไม่ออกก็บอกขยะ (เก็บขยะ)  เสียทั้งหมดหรอกนะครับ  จริงๆ ก็คือการชวนให้นิสิตได้ลุกมาทำกิจกรรมจิตอาสาง่ายๆ  ใช้เวลาว่างสู่กิจกรรมนอกหลักสูตรจากเรื่องใกล้ตัวและผูกโยงเข้าสู่กิจกรรมหลัก  เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้กิจกรรมเนื่องในวาระนั้นๆ

โดยส่วนตัวของผมแล้ว  แอบหวังลึกๆ  ว่าทำกิจกรรมเหล่านี้ในแต่ละครั้ง  นิสิตจะเกิดภาวะของการตระหนักรู้เรื่องบทบาทหน้าที่ของตนเอง ผสมผสานไปกับการทำหน้าที่พลเมืองของสังคมไปตัว  หรือกระทั่งเกิดแรงบันดาลใจในการลุกขึ้นมาเป็น “ผู้นำ”  มิใช่รอแต่จะเป็น “ผู้ตาม”  อยู่ร่ำไป  จนในที่สุดผู้ตามก็ล้นบ้านล้นเมือง

และที่ผมอยากจะย้ำอีกรอบว่า  เรื่องการบ่มเพาะจิตอาสา-จิตสาธารณะนั้น  บางทีก็สมควรสร้างจากเรื่องง่ายๆ ใกล้ๆ ตัวเรานี่แหละ  ไม่เห็นจำเป็นต้องกระทำการณ์บนฐานของโครงการและงบประมาณอันใหญ่โตก็ได้   ค่อยๆ ทำในบาทบาทและสถานะของตนเอง  ทำไปเรียนรู้ไปอย่างต่อเนื่อง  ที่สุดแล้วย่อมนำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ต่อตัวเองและสังคม

นั่นคือสิ่งที่ผมแอบหวัง และเชื่อมั่นเสมอมา

แต่ที่แน่ ในอนาคต ผมยังอยากให้นิสิตเหล่านี้ได้ยกระดับการเรียนรู้เชิงวิชาการในเรื่อง "ขยะ" ให้มากขึ้น ทั้งสถานะการณ์ของขยะในมหาวิทยาลัย  ปริมาณขยะและการจัดการขยะในจังหวัดมหาสารคาม  รวมถึงระดับท้องถิ่น ภูมิภาค -ประเทศชาติ ฯลฯ

หากแต่วันนี้  ก็เริ่มต้นจากการเรียนรู้เรื่องจิตอาสาผ่านการลงมือทำ (เก็บขยะ-คัดแยกขยะ)  ไปพรางๆ เสียก่อน


ภาพ : เครือข่ายนิสิตจิตอาสาเพื่อสังคม/ ต่อBefore After/พนัส  ปรีวาสนา
เขียน : อังคารที่ 11 ธันวาคม 2561

หมายเลขบันทึก: 658660เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2018 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2018 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

-สวัสดีครับอาจารย์-ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใดๆ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างพลังใจเสริมพลังความคิดแบบทางบวกเสมอนะครับ-บทบาททางสังคมของคนเราย่อมแตกต่างกันออกไปแต่ผมเชื่อว่าจุดหมายปลายทางคงไม่แตกต่างกัน ในแง่ของการดำรงชีพบนโลกใบนี้ก็เช่นกันนะขอรับ-ด้วยความระลึกถึงคำสอนสั่งของครูบาอาจารย์ทุกๆ ท่านที่ได้กรุณาพร่ำสอน-นี่คือความสำเร็จของการ”การศึกษา”ที่บางทีก็มิได้อาจวัดได้ด้วยหลักการใดๆ -ขอบคุณโครงการดี ดี ที่ช่วยให้นิสิตกลุ่มนี้จะได้พัฒนาตัวเองให้เป็นเด็ก 3 D ต่อไปนะครับ-ด้วยจิตคารวะอาจารย์แผ่นดินขอรับ..

สวัสดีครับ อ.เพชรน้ำหนึ่ง

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งนะครับ เพราะนิสิต เรียนรู้ปตามสถานะของเขา ทำตาม “หน้าตัก” อันหมายถึงบทบาทและหน้าที่ของเขา เสมือนเตรียมความพร้อมก่อนออกไปใช้ชีวิตจริงเมื่อจบการศึกษา การงานในทำนองนี้ จึงไม่จำเป็นต้องถึงขั้นวัดด้วยความยิ่งใหญ่เป็นรูปธรรม เหมือนคนทั่วไป แต่หากการงานของเขามีพลังพอต่อการเปลี่ยนแปลงตัวเอง และคนรอบข้างได้บ้าง ผมว่านั่นก็วิเศษสุดแล้วครับ

ขอบพระคณครับ

เก็บขยะ.. นั้นเก็บไม่หมด.. ถ้าทุกคนไม่ร่วมใจ.. สุดท้าย.. คือความเหนื่อยล้า…หากทุกคน.. ร่วใจกัน.. ไม่ผลิต ขยะ.. ประเภท.. ถาวร..​ทำลาย.. ยาก.. งานจะน้อยลง.. จนไม่มี.. ขยะ.. ถาวร.. (.. เป็นจิตอาสา.. หาต้นเหตุ)…..

ครับ คุณยายธี

การเก็บ ไม่ใช่การแก้ที่ต้นเหตุทว่า งานนี้ ยังไงเสียขยะก็มากมายเหลือเกินภายในมหาวิทยาลัย รณรงค์เรื่องนี้ชัดมากแต่บรรดาร้านรวงข้างนอก และญาติที่จับจ่ายใช้สอยถือเข้ามาในบริเวณงาน คือข้อจำกัด

งานนี้ จึงจำต้องเก็บและใช้สภาวะ -สถาการณ์นี้ให้นิสิตได้เรียนรู้ไปในตัว ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท