ตัวอย่างการออกแบบสื่อตาม ADDIE Model เรื่องสื่อการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง คำกริยา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3


ถ้านักศึกษาได้รับมอบหมายให้สอนวิชาภาษาอังกฤษในชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านโคกกระโดน มีนักเรียน 12 คน ฐานะยากจน ให้ออกแบบการสอนโดยใช้ ADDIE Model

 

1. การวิเคราะห์ (Analysis)

          - โรงเรียนอยู่ในพื้นที่ชนบท มีนักเรียนเพียง 12 คน ฐานนะยากจน

          - อุปกรณ์และสื่อการสอนต่างๆไม่ได้มีพร้อมครบทุกอย่าง พอที่จะเอื้ออำนวยในการสอนให้น่าสนใจ ควรจัดหาสื่อประกอบการสอนเท่าที่ทำได้

          - การสอนสามารถเน้นนักเรียนได้ทุกคน เนื่องจากมีจำนวนนักเรียนน้อย และสามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง

          - เนื้อหาบทเรียนจะสอนคำกริยาที่เป็นรูปธรรมก่อน แล้วค่อยสอนคำกริยาที่เป็นนามธรรม รวมทั้งการเขียนประโยคสั้นๆ และมีกิจกรรมแทรกในบทเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น

2. การออกแบบ (Design)

       2.1 การศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์

          - เริ่มสอนคำกริยาที่เป็นรูปธรรมก่อน โดยใช้ท่าทางประกอบ แล้วจึงสอนคำกริยาที่เป็นนามประธรรม โดยใช้บัตรภาพหรือคำอธิบายประกอบ

          - เมื่อนักเรียนสามารถจดจำคำกริยาได้แล้ว จึงเริ่มสอนการเขียนประโยคสั้นๆ

       2.2 การออกแบบการเรียนการสอน

          - ออกแบบการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยการเขียนแผนการเรียนรู้ กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน

          - ในแต่ละคาบเรียน นักเรียนต้องได้ฝึกออกเสียงคำกริยาตามครู และฝึกออกเสียงด้วยตัวเอง

          - ในบางคาบเรียนอาจจะต้องใช้บัตรภาพประกอบ หรือให้นักเรียนได้ลองค้นหาคำกริยาจากพจนานุกรม

          - มีเกมประกอบการเรียนหรือเพลงหรือกิจกรรมอื่นๆที่ช่วยให้นักเรียนจดจำคำกริยาได้ง่ายขึ้น

          - ในการประเมินผู้เรียนอ่านคำกริยาและบอกความหมายก่อนและหลังเรียน เพื่อประเมินผู้ว่าสามารถจดจำคำกริยาได้หรือไม่ และสังเกตจากความเข้าใจในการทำกิจกรรมอื่นที่แทรกระหว่างเรียน

3. การพัฒนา (Development)

          - บทเรียนสามารถปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นได้ตลอดเวลา ตามศักยภาพของนักเรียนหรือสถานการณ์ต่างๆที่อาจะเกิดขึ้นในห้องเรียน

          - มีการทบทวนบทเรียนในท้ายคาบ

          - ประเมินความเข้าใจของนักเรียนแต่ละคนว่ามีมากน้อยเพียงใด แล้วลองปรับหรือพัฒนารูปแบบการสอนตามความเหมาะสมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

          - กิจรรมอื่นๆ เกม หรือเพลง ควรมีประกอบการสอนบ่อยๆ เพราะจะพัฒนาการเรียนของนักเรียนได้ดี รวมทั้งสามารถประเมินความเข้าใจของนักเรียนได้ง่าย

4. การนำไปใช้ (Implement)

       4.1 การปฏิบัติภาคสนาม

          - จากการวางแผน และรูปแบบการสอนต้องทำให้ผู้เรียนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ให้ได้

       4.2 การเผยแพร่ระบบ

          - หากรูปแบบการสอนนี้ทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้น ระบบนี้จะสามารถใช้ในสถานศึกษาได้ยาวนานและอาจจะถูกพัฒนารูปแบบให้ดีขึ้นไปกว่านี้

5. การประเมิน (Evaluation)

          - มีการประเมินผู้เรียนทั้งก่อนและหลังบทเรียน เพื่อประเมินความเข้าใจในการเรียนรู้

          - รูปแบบการสอนหากใช้แล้วผู้เรียนมีการพัฒนาได้น้อย ควรปรับปรุงรูปแบบหรือจัดรูปแบบใหม่ ต้องคำนึงตลอดเวลาว่าผู้เรียนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ควรนำรูปแบบนั้นมาปรับปรุงให้เร็วที่สุด

หมายเลขบันทึก: 658419เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2018 21:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2018 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท