มารู้จักอาหารเป็นพิษกันเถอะ


ในช่วงใกล้สิ้นปีที่วันลาพักร้อนยังใช้ไม่หมด ทำให้หลายคนเลือกช่วงนี้หนีร้อนไปยังที่สูง โดยเชื่อว่า “ยิ่งสูง ยิ่งหนาว” ทำให้ดอยต่าง ๆ เป็นสถานที่สุดฮิตให้กับใครหลาย ๆ คน ซึ่งการเตรียมความพร้อมเพื่อไปสัมผัสความหนาวนั้น และสิ่งที่หลายคนมักมองข้ามคือเรื่องของอาหารการกินนั่นเอง โรคอาหารเป็นพิษ เป็นคำกว้าง ๆ ที่ใช้อธิบายอาการป่วยที่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ รวมไปถึง อาหารที่ปรุงไม่สุกพอ อาหารค้างมื้อและไม่ได้แช่เย็น ซึ่งอาจจะทำให้เราเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษได้ โดยอาการส่วนใหญ่ที่เกิดจากอาหารเป็นพิษได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว เป็นต้น -_วิธีป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ_–เลือกอาหารที่ผ่านการเตรียมเป็นอย่างดี-ปรุงอาหารให้สุกทั่วถึงก่อนรับประทาน-ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ-ระมัดระวังอาหารที่ปรุงสุกแล้วอย่าให้มีการปนเปื้อน-อาหารที่ค้างมื้อต้องอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทาน-แยกอาหารดิบและอาหารสุก ให้ระมัดระวังการปนเปื้อน-ล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร โดยเฉพาะหลังจากเข้าห้องน้ำ-ให้พิถีพิถันเรื่องความสะอาดของพื้นที่การปรุงอาหาร-เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู หรือสัตว์อื่น ๆ-ใช้น้ำสะอาดในการปรุงอาหาร แล้วจะทำยังไง ถ้ามีอาการอาหารเป็นพิษเมื่อไปเที่ยว? เพราะในบางครั้งเราอาจหลงลืม หรือพลาดกันได้ และยามที่ไปท่องเที่ยวในที่ห่างไกลชุมชน ทำให้ต้องปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือดูแลรักษาตนเองตามอาการ โดยสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ซึ่งการรักษาโรคอาหารเป็นพิษมักจะรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น หากผู้ป่วยยังพอรับประทานอาหารได้ ควรดื่มน้ำเปล่า และจิบน้ำผสมผงเกลือแร่ (ORS) เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย แต่หากมีอาการอาเจียน ถ่ายเป็นมูกเลือดหรือถ่ายเป็นน้ำและมีไข้ ควรรีบนำส่งโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามผงเกลือแร่ (ORS) เป็นอีกหนึ่งไอเท็มสำคัญที่ควรมีติดเอาไว้ในกล่องปฐมพยาบาล

–นอกจากการดูแลรักษาตัวเองและการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษแล้ว นายแพทย์อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค ยังได้เตือน 10 เมนูที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษได้แก่
-ลาบ/ก้อยดิบ-ยำกุ้งเต้น-ยำหอยแครง/ยำทะเล-ข้าวผัดโรยเนื้อปู-อาหาร หรือขนมที่มีส่วนประกอบของกะทิสด-ขนมจีน-ข้าวมันไก่-ส้มตำ-สลัดผัก-น้ำแข็งที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานไม่ใช่ว่าห้ามรับประทาน แต่เมนูอาหารเหล่านี้ควรรับประทานเฉพาะที่ปรุงสุกใหม่ สะอาด และขอให้หลีกเลี่ยงการปรุงโดยวิธีลวกหรือพล่าสุก ๆ ดิบ ๆ รวมถึงยึดหลัก ‘กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ’ เพื่อป้องกันอาการของโรคอาหารเป็นพิษที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว

**แหล่งที่มา : http://www.thaihealth.or.th/Content/45880-หนูๆ+อุ่นใจ+ไป-กลับ+รถโรงเรียนปลอดภัย.html

หมายเลขบันทึก: 658377เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2018 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2018 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท