การจัดการขยะของเทศบาลขามเรียง


วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ ผมและทีมผู้ประสานงานรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ขอเข้าพบเพื่อเรียนรู้จาก จ.อ.บัวทอง หาญสุโพธิ์ ปลัดเทศบาลขามเรียง ขณะนี้ท่านปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีเทศบาลขามเรียง  เราได้รับการตอนรับอย่างอบอุ่นและให้เกียรติมาก ๆ ...  ขอขอบพระคุณท่านมากที่ให้ข้อมูลการจัดการขยะและยังจะสนับสนุนแนวทางการรณรงค์ให้แยกขยะในมหาวิทยาลัย นี่คือความสุขที่ได้จากการทำงานเพื่อนชุมชน เพราะเราเจอแต่คนที่หวังดีต่อกันและกัน

ข้อมูลเบื้องต้นของเทศบาลขามเรียง

จากการสืบค้นข้อมูลทุติยภูมิทางเว็บไซต์ พบข้อมูลที่เผยแพร่อย่างเปิดเผย โปร่งใสดีครับ ผมจับเอาเฉพาะข้อมูลที่อาจเกี่ยวข้องกับการศึกษาชุมชนของนิสิต มมส. ในบริบทของรายวิชาฯ มาไว้ดังนี้ครับ

  • เทศบาลขามเรียง มีประชากรทั้งหมดประมาณ ๑๕,๐๐๐ กว่าคน เป็นผู้หญิง ๙,๐๐๐ ผู้ชาย ๖,๐๐๐ คน  เทศบาลได้เผยแพร่แผนพัฒนา ๔ ปี (๒๕๖๑-๒๕๖๔) ทางเว็บไซต์ ผมคัดลอกมาไว้เฉพาะตารางประชากร คลิกที่นี่ครับ
  • ข้อมูลที่น่าสนใจแสดงดังตารางด้านล่างครับ  จำนวนประชากรส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงวัย ๑๘ - ๖๐ ปี ถึงกว่าร้อยละ ๘๐  ที่เป็นเช่นนี้ เพราะมหาวิทยลัยตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลขามเรียง ดังนั้นจำนวนประชากรจึงรวมถึงนิสิตทุกคนที่ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัยด้วย 

ช่วงอายุและจำนวนประชากร

ชาย

หญิง

หมายเหตุ

จำนวนประชากร/เยาวชน

๑,๐๔๙

๑,๑๗๘
(อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี)

จำนวนประชากร

๕,๐๐๐

๘,๓๗๙

(อายุ ๑๘ – ๖๐ ปี)

จำนวนประชากรผู้สูงอายุ

๔๙๙
๖๕๓
(อายุมากกว่า ๖๐ปี)

รวม

๖,๕๔๘

๑๐,๒๑๐
ทั้งสิ้น ๑๖,๗๕๘

  • เทศบาลขามเรียงมีทั้งหมด ๒๑ หมู่บ้าน ดังแผนที่นี้ 


  • สังเกตว่า มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่บนพื้นที่รอยต่อระหว่างตำบลขามเรียงและตำบลท่าขอนยาง นิสิตจำนวนมากอาศัยอยู่ทั้งในเขตพื้นที่ของสองเทศบาลในลักษณะของประชากรแฝง  ถ้าคำนวณง่ายๆ เรารู้ว่าประชากรแฝงที่เป็นนิสิตและบุคลากรในมหาวิทยาลัยรวมแล้วประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน  ประชากรแฝงของเทศบาลท่าขอนยางมีประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน แสดงว่าที่เหลืออยู่ ๒๐,๐๐๐ คน  เป็นประชากรแฝงของเทศบาลขามเรียง นั่นแสดงว่า มีประชากรแฝงที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนราษฎร์จำนวนกว่า ๑๐,๐๐๐ คน.... น่าเสียดายที่ประชากรแฝงเหล่านี้ไม่ย้ายทะเบียนราษฎร์เข้ามา โดยเฉพาะในเขตเทศบาลท่าขอนยาง
การจัดการขยะของเทศบาลขามเรียง
  • ขณะนี้ (พ.ย. ๖๑) เทศบาลขามเรียง มีระบบการคัดแยกขยะอินทรีย์แยกจากขยะอนันทรีย์อย่างชัดเจน โดยใช้คำแยกง่าย ๆ ว่า "ขยะเปียก" และ "ขยะแห้ง" ... นี่น่าจะเป็นคำตอบว่า ปริมาณขยะจากขามเรียงที่ไปทิ้งที่บ่อหนองปลิงประมาณวันละ ๕ ตัน 
  • วิธีการแยก "ขยะเปียก" มี ๒ แนวทาง ได้แก่ 
    • ขยะเปียกจากบ้านเรือน ครัวเรือนใจชุมชน ในหมู่บ้านพื้นที่รอบมหาวิทยาลัย  เทศบาลได้ส่งเสริมให้ทำปุ๋ยด้วยหมักด้วยการทิ้งลงในถังดำก้นกลวงปิดฝา โดยสนับสนุนถังดำที่มีฝาปิดสนิทขนาด  ๑๐๐ ลิตร 
      • จากการลงพื้นที่สอบถาม เทศบาลเริ่มจากกลุ่มตัวแทนชาวบ้านส่วนหนึ่งก่อน ตอนนี้ได้จัดอบรมให้ความรู้ไปแล้ว  
      • ครัวเรือนหนึ่งที่ผมได้ไปเยี่ยมสัมภาษณ์ บอกว่า  เศษอาหารจากครัวเรือนของตน เพียงแค่เอามาเลี้ยงไก่ก็ไม่พอแล้ว จึงไม่มีเศษอาหารเหลือที่จะทิ้งลงถัง 
      • จากการสอบถาม สอง-สาม ครัวเรือน พอจะสรุปได้ว่า ปัญหาเรื่องขยะเปียกไม่ได้มาจากครัวเรือน 
กรีนโคน
ขอบคุณผู้สร้างสรรค์ภาพ (ไม่ทราบที่มา)

    • ขยะเปียกจากร้านอาหารหรือหอพัก  ทุก ๆ วัน จะมีรถเก็บขยะเปียกตระเวนเก็บขยะเปียกจากถังหน้าร้านค้าหรือจุดนัดหมายที่แต่ละหอพักที่แม่บ้านแต่ละหอพักทราบดี นำไปขุดหลุดดินฝังกลบ ณ พื้นที่ที่กำหนด 
      • ถังที่ใช้เก็บเศษอาหารจากหน้าร้านจะเป็นพังขนาดกลางดังรูป มีฝาปิดมิดชิด และทางเทศบาลจะใส่น้ำหมักอีเอ็มรองก้นไว้ จึงทำให้ไม่มีกลิ่นเหม็น
 (เห็นไหมครับ ถังอยู่ใต้ต้นมะยมนั่นไง ดูสภาพก็จะประเมินได้ว่าใช้มาหลายเดือนหลายปีเลยครับ)
      • ขยะเปียกในแต่ละวันจะได้ประมาณ ๓-๔ ถังขนาด ๒๐๐ ลิตร (น่าจะประมาณ ๑ ตัน)
      • พื้นที่ฝังกลบอยู่ห่างไปทางทิศเหนือของที่ทำการฯ ประมาณ ๔ กิโลเมตร เป็นพื้นที่โนนขนาด ๓ ไร่ ... ผมตามไปดูและได้สัมภาษณ์คุณตาที่ดูแลอยู่แถวนั้นมาฝากท่านด้วยครับ 
(สังเกตว่า แทบจะมองไม่ออกว่าเป็นพื้นที่ฝังกลบขยะ ขยะจะกลายเป็นปุ๋ยภายในเวลาประมาณ ๔-๖ เดือน)



ความเห็นท่านปลัดเกี่ยวกับแผนการส่งเสริมการแยกขยะของรายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน

ผมแจ้งท่านปลัดบัวทอง และเล่าให้ท่านฟังว่า 
  • การเข้าพบท่านเพื่อที่จะมาศึกษาหาความเป็นไปได้ในการจัดการขยะร่วมกัน บูรณาการกัน ด้วยเราตระหนักดีว่า ผู้ที่ทิ้งขยะส่วนใหญ่ไม่ใช่ใคร ก็คือนิสิตและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าไปมีส่วนไม่มากก็น้อย ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ทั้งกับร้านค้า อาหาร และกิจการหอพัก  
  • ปีการศึกษาหน้าจะมีนิสิตลงทะเบียนเรียนรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนประมาณ ๗,๐๐๐ คน ... ทีมเรากำลังเตรียมข้อมูลเรื่องปัญหาขยะและการจัดการขยะในพื้นที่รอบๆ มหาวิทยาลัย เพื่อนำเสนอให้อาจารย์ผู้สอนฟัง และจะขอความร่วมมือให้ร่วมกันกำหนดมาตรการหรือวิธีการ หรือกลไกในรายวิชา เพื่อส่งเสริมให้นิสิตคัดแยกขยะ และช่วยกันขับเคลื่อนเรื่องการแก้ไขปัญหาขยะ 
  • ถ้าสมมตินิสิตเริ่มแยกขยะ ห้างร้านต่างๆ เริ่มแยกขยะ สิ่งที่เราต้องเตรียมก็คือ ต้องมีรถจากเทศบาลทั้งสองแห่งไปไปเก็บขยะเปียกในตอนเช้าตามจุดที่กำหนด นำไปฝังกลบ และจัดทำตารางเวลาจัดเก็บขยะประเภทอื่นๆ หรืออาจมีแนวคิดอื่นๆ จากอาจารย์ผู้สอน ผู้เชี่ยวชาญ 
ท่านเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ และได้มอบเบอร์โทรศัพท์ให้ผมเพื่อติดต่อท่านโดยตรงด้วย และได้แนะนำให้พบกับท่าน ผอ.กองสาธารณสุขฯ  เสียดายที่ท่านไม่อยู่ที่ทำการฯ ขณะนั้น ... เดี๋ยวค่อยขอเข้าพบท่านอีกที 

หากท่านอาจารย์ผู้สอนเข้ามาอ่านถึงตรงนี้ ท่านมีความเห็นดีด้วยกับแนวทางนี้ไหมครับ 
หมายเลขบันทึก: 657862เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2018 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2018 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่น่าสนใจครับ

ข้อสังเกตุ.. “. การกำจัด.. ขยะปนเปื้อน”.. ที่เป็นปัญหาใหญ่… ขยะล้นประเทศมีมานาน เท่ากับอายุการผลิต พลาสติค….บุคคลากรรัฐ..ให้ความสนใจหรือวางแผนที่รัดกุม..แทบจะไม่มี…วิธีกำจัดขยะ..ที่เอาไปเทรวมกันเป็นภูเขานั้น..ตามกาลเวลา..เพิ่มมลพิษ..ทั้งอากาศ ดินน้ำ.. ตามระยะเวลา.. เป็นการขจัดขยะที่ล้าหลังมากๆ..(ถ้าจะอ้างว่าไม่มีงบประมาณและ. ถ้าอยากจะ เจริญด้านวัตถุ… ดังที่รัฐประกาศ.เกริ่น..)…. ก็ควรจะแก้ไข.. ก่อนที่จะสายเกินแก้.. ฝากไว้ ให้นักศึกษาช่วยกันคิด .. และหาวิธีที่ลงมือ ทำ.. ค่ะ.อ.ต๋อย. ที่อยากเห็น จากมวลเล็กๆ คือ หมู่บ้าน ปลอด ขยะ.. (พลาสติค).. หรือเขตมหาวิทยาลัยเป็นเขตุแรก.. ดูซิว่านักศึกษาเรา.. จะเข้มแข็งสักแค่ไหน… 5

ขอบพระคุณครับ จะลองละลุยสัก ๑ ปี ตามกำลังครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท