ชีวิตที่พอเพียง 3279. KM กับ ดินแดนที่ไม่ชัดเจน



ยังอยู่กับการประชุมพูดคุยกับ “ผู้ทรงความรู้ที่หายาก” ท่านหนึ่ง ของบริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง    เพื่อเตรียมการ “ถอดความรู้” ที่หายากของท่าน    เมื่อเช้าวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๑  

ท่านบอกว่า ทีมงานของท่านมีข้อจำกัดในการร่วมขบวนเรียนรู้กับท่าน    เพราะคนเหล่านั้นติดอยู่ใน “ดินแดนแห่งความสบายใจ” (comfort zone)    ไม่ยอมออกจากดินแดนนั้น สู่ “ดินแดนแห่งการเรียนรู้” ที่ไม่คุ้นเคย    เช่นคนเหล่านั้นทำงานด้านการเลี้ยงสัตว์    มีความสบายใจอยู่กับการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์    เมื่อจะคุยกันเรื่องอาหารสัตว์ คนเหล่านั้ก็รู้สึกว่า เป็นเรื่องที่อยู่นอกภารกิจของตน   

KM เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ   เรียนรู้จากการเชื่อมโยงงานหนึ่งกับอีกงานหนึ่ง     ความรู้ด้านหนึ่งกับอีกด้านหนึ่ง    รวมทั้งเข้าไปเชื่อมโยงการตีความผลการปฏิบัติเข้ากับความรู้เชิงทฤษฎีที่มีอยู่    เพื่อทำให้ความรู้ปฏิบัติ ในการทำงานมีความชัดเจน คุณภาพงาน ยกระดับขึ้น

ความกล้า เข้าไปในดินแดนที่ไม่ชัดเจน  ไม่มั่นใจในความเข้าใจของตนเอง จึงเป็นเรื่องสำคัญต่อการเรียนรู้    และการจัดการความรู้   

วิจารณ์ พานิช

๒๔ ส.ค. ๖๑


 

หมายเลขบันทึก: 655120เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2018 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2018 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พวกชอบอยู่ comfort zone เราจะทำยังไงถึงจะดึงมาได้คะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท