นักศึกษาเป็นพลังเปลี่ยนมหาวิทยาลัย



บทความ The iGen Shift  : Colleges Are Changing to Reach the Next Generation ใน นสพ. New York Times (1) ระบุชัดเจนว่านักศึกษา Gen Z ที่เป็นคนเกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๕๕   ที่เพิ่งเริ่มเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา     กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อวิธีการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย     ที่จะต้องปรับตัวรองรับบุคลิกของนักศึกษา Gen Z   

อ่านข่าวนี้แล้ว ผมตีความว่า วิธีคิดที่อยู่เบื้องหลังตัวละครในข่าวคือ    มหาวิทยาลัยเป็นธุรกิจบริการ  หรือสถานประกอบการ   ต้องหมั่นทำความเข้าใจความต้องการของ “ลูกค้า”    อุดมศึกษาในโลกทุนนิยม นักศึกษากลายเป็น “ลูกค้า”     ผู้บริหารและอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็น “ผู้ให้บริการ”   

ชอบหรือไม่ชอบ เราก็อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ที่มหาอำนาจเขาขับเคลื่อนโลกให้อยู่ใต้ระบบทุนนิยม    และมหาวิทยาลัยก็ถูกผลักดันไปในแนวทางนี้  

ยิ่งมีแนวโน้มที่มหาวิทยาลัยที่ปรับตัวไม่ได้ต้องปิดตัวลงจำนวนมาก    ยิ่งเป็นสัญญาณให้มหาวิทยาลัยต้อง transform ตนเอง 

ข่าวชิ้นนี้ขึ้นประเด็นพาดหัวว่า ผู้บริหารระดับอธิการบดีและคณบดีต้องหันมาสื่อสารกับนักศึกษา ว่าที่นักศึกษา ผู้ปกครอง ด้วย social media คือ Instagram และ Twitter    จะเป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัวไม่ได้อีกต่อไป

คนใน Gen Z  มีชีวิตแบบ super connected     ซึ่งก็เป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนต่อการเรียน    มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวหาทางใช้ให้เป็นจุดแข็ง ลดจุดอ่อน   

คนเหล่านี้ไม่อ่านหนังสือ หรืออ่านน้อยมาก    อีเมล์ก็ไม่ชอบใช้    เป็นความท้าทายต่อการปรับตัวของมหาวิทยาลัย

เป็นสัญญาณว่า มหาวิทยาลัยต้องมี Disruptive Change

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ส.ค. ๖๑


 

 

 

หมายเลขบันทึก: 655119เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2018 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2018 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท