นักศึกษาญี่ปุ่นเป็นครูฝึกอาจารย์



ยังอยู่กับการประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง “Teaching and Learning in Higher Education in the 21st Century”  วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ที่ มทส. นะครับ    ตอนบ่ายมีรายการ FD Program at SIT : SCOT & TP Workshop โดย Emiko Hirose Horton, Faculty Developer, Educational Innovation Center, School of Architecture, SIT   ที่ผมไม่ได้ฟัง เพราะต้องรีบกลับก่อน   แต่ได้รับแจกเอกสาร PowerPoint printout กลับมาบ้าน    ซึ่งเมื่ออ่านก็พบนวัตกรรมที่น่าพิศวง    คือการใช้นักศึกษาเป็นครูฝึกอาจารย์ ที่เรียกว่า SCOT – Student Consulting on Teaching

 SCOT เป็นรูปแบบหนึ่งของ student-engaged Faculty Development Program    โปรดสังเกตว่า ที่ SIT เขาเอาจริงเอาจังกับการพัฒนาอาจารย์มากนะครับ   SIT เป็นสถาบันเทคโนโลยีเล็กๆ มีนักศึกษาทั้งหมดราวๆ ๙ พันคนเท่านั้น   แต่เขามุ่งจัดการศึกษาที่มีคุณภาพระดับสูงสุด    เขาถึงกับมีหน่วยงาน Educational Innovation Center

นักศึกษาที่จะเป็น SCOT ได้ ต้องผ่านการฝึกอบรม และผ่านทดสอบ    ดังรายละเอียดในรูปที่ ๓ และ ๔   สถานภาพปัจจุบันของกิจการ SCOT อยู่ในรูปที่ ๒  

SCOT เป็นบริการ มีไว้ให้อาจารย์เข้ามาขอใช้บริการ    โดยมีขั้นตอนตามในรูปที่ ๕   และผลงานของ SCOT แสดงในรูปที่ ๖   ปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จอยู่ในรูปที่ ๗  

โปรดสังเกตนะครับว่า SCOT ไม่ได้ทำหน้าที่ประเมินอาจารย์    แต่ทำหน้าที่เข้าไปสังเกตเหตุการณ์ในชั้นเรียน  จดบันทึกสิ่งที่พบเห็น สำหรับเป็นรายงานเชิง feedback   รวมทั้งร่วมทำ reflection ร่วมกับอาจารย์ผู้ใช้บริการ  

กล่าวง่ายๆ ว่า SCOT ทำหน้าที่กระจกส่องให้อาจารย์มองเห็นตัวเอง ว่าสอนอย่างไร    โดยที่ “กระจก” นั้น สะท้อนภาพจากมุมมองของนักศึกษา 

โครงการ SCOT นี้    มีเป้าหมายพัฒนาทั้งอาจารย์และนักศึกษา     

วิจารณ์ พานิช        

๓๑ ก.ค. ๖๑


1

2

3

4

5

6

 7

หมายเลขบันทึก: 652793เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2018 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2018 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท