"การฟังอย่างลึกซึ้ง" หรือ "Deep Listening"


"การฟังอย่างลึกซึ้ง" หรือ ที่เรียกว่า Deep Listening คืออะไร ... มีคำตอบเป็นคำอธิบายมากมายจาก "ผู้รู้" สืบค้นดูไม่ยากเลยในโลกอินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ดี ทุกคนน่าจะมีความหมายในใจของตนเอง อยากจะบันทึกอธิบาย ถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองไปสู่นิสิตหรือผู้สนใจ ที่สนใจในคำคำนี้ 

เราน่าจะนิยามให้ตรงกันก่อนว่า "การฟัง" คืออะไร  เราใช้อวัยวะหรือเครื่องมือใดบ้างใน "การฟัง" การฟังสามารถแยกได้เป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง ก่อนจะไปให้ความหมายและองค์ประกอบหรือลักษณะของการฟังอย่างลึกซึ้ง สุดท้ายจะขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับแนวทางการฝึกฟังอย่างลึกซึ้งกับนิสิตหรือผู้สนใจเข้ามาอ่าน 

"ฟัง" หมายถึงอะไร

"ฟัง" มี ๒ ความหมาย (ศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔) คือ

  • การตั้งใจสดับ รับเสียงด้วยหู ได้ยิน เช่น ฟังอออก ฟังไม่ออก ฟังได้ ฟังไม่ได้ศัพท์ ...  แสดงว่ามีความหมายมุ่งไปที่การใช้ใจฟัง ตั้งใจฟัง ใช้หูรับเสียง เพื่อทำความเข้าใจ
  • เชื่อตามถ้อยคำ เช่น ให้ฟังผู้บังคับบัญชา บอกไม่ฟัง เชื่อฟัง ฯลฯ ... ในความหมายนี้ ไม่เพียงเข้าใจ แต่หมายถึงยอมรับหรือเชื่อฟังด้วยใจด้วย

ฟังอย่างลึกซึ้ง หมายถึงอะไร

ฟังอย่างลึกซึ้ง หมายถึง "การฟังด้วยตัวและหัวใจ" ขอแสดงความคิดรวบยอดทั้งหมดด้วยภาพนี้ 

จากการศึกษา เราอาจแบ่งการฟังได้เป็น ๓ ระดับ ได้แก่ 

  • ฟังด้วยหู ฟังแบบไม่ได้ตั้งใจฟัง ได้ยิน (Hearing) แต่ไม่ได้ฟัง 
  • ฟังด้วยหัว ใช้สมองคิดพิจารณา เปรียบเทียบ วิเคราะห์ คิดเป็นเหตุเป็นผล เพื่อทำความเข้าใจ ตอบสนอง หรืออภิปราย วิพากษ์ วิจารรณ์ 
  • ฟัวด้วยหัวใจ ใช้หัวใจรับรู้ความรู้สึก และรับรู้ความต้องการที่แท้จริงๆ ของผู้พูด 

หรือ อาจแบ่งได้เป็น ๓ แบบ ตามคุณประโยชน์ของการฟัง ดังนี้ 

  • ฟังเพื่อสื่อสาร ได้แก่ การฟังทั่วๆ ไปในการทำงาน หรือในชีวิตประจำวัน ฟังเอาความ ฟังเอาเรื่อ  ... น่าจะเน้นการฟังแบบ "ฟังด้วยหัว" 
  • ฟังอย่างลึกซึ้ง ได้แก่ การฟังลึกลงไปถึงระดับ "ฟังด้วยหัวใจ" รับรู้ความรู้สึกและความต้องการที่แท้จริงของผู้พูด พยายามจะให้ลึกลงไปในจิตใจของผู้พูด 
  • ฟังเพื่อพัฒนาตนเอง ได้แก่ การฟังอย่างมีสติ รับรู้ความรู้สึกของตนเอง รู้สึกตัว เห็นกายใจในปัจจุบันขณะฟัง เป็นการเจริญสติภาวนา เป็นหนทางสู่การวิปัสสนา สู่การบรรลุเข้าถึงความจริงแห่งอริยสัจ  อาจเรียกว่าเป็น "การฟังอย่างลึกซึ้งเข้าไปในกายใจของตนเอง"

ผมสรุปว่า การฟังอย่างลึกซึ้งที่สื่อสารนิยามและสอนกันทั่วไป คือการฟังอย่างลึกซึ้งเข้าไปในใจของผู้พูดและกายใจของผู้ฟังด้วย  จึงขอตั้งชื่อใหม่ให้เหมาะสมและตรงกว่าว่า  "การฟังทั้งตัวและหัวใจ" 

วิธีฝึกฟังอย่างลึกซึ้ง

ศึกษาธรรมะ และปฏิบัติธรรม เจริญสติ ภาวนา นั่นเอง (ไม่ใช่นั่งสมาธิ)

เทคนิคการประเมินตนเอง

มีปราชญ์ผู้รู้หลายท่าน ชี้ให้สังเกตคำว่า Listen ที่แปลว่าฟัง และ คำว่า Silent ที่แปลว่าเงียบ  ซึ่งมีตัวอักษรเหมือนกันทั้ง ๖ ตัว แต่เพียงสลับที่กัน และเชื่อมโยง การฟังกับความเงียบ ว่า การฟังที่ดี คือ ความเงียบจากเสียงภายนอก ฟังให้ได้ยินเพียงภายใน และจะดีที่สุดคือ ฟังจนเสียงภายในดับไป (ไม่คิด รู้ตัวทั่วพร้อมในขณะปัจจุบัน)  

ผมวาดภาพจากโครงคิดแบบใช้ "อักษร" หรือ "ภาษา" เป็นเหตุ ได้ดังภาพนี้ 


สังเกตว่า 

  • L อาจจะมาจากคำว่า Love คือฟังด้วยความรัก ความเมตตา ฟังด้วยความสมัครใจ 
  • i อาจจะมาจากคำว่า Its คือ อัตตา ตัวตน ฟังให้เห็นความต้องการหรือตัวตนที่แท้จริงของผู้พูดและผู้ฟัง(ตนเอง) ในขณะนั้นๆ 
  • s อาจจะมาจากคำว่า Skin คือ สัมผัสรับรู้ด้วยผิวกาย
  • t อาจจะมาจากคำว่า  Tung คือ สัมผัสรสด้วยลิ้น รับรู้รสชาติของน้ำลายตนเอง 
  • e อาจจะมาจากคำว่า  ear คือ หู และ eye คือ ตา 
  • n อาจจะมาจากคำว่า nose คือ รับรู้กลิ่นด้วยจมูก

สรุปคือ Listen หมายถึง "การฟังทั้งตัวและหัวใจ"

หมายเลขบันทึก: 652311เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2018 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2018 06:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท