ประกันคุณภาพการศึกษาสไตล์ญี่ปุ่น



ยังอยู่กับการประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง “Teaching and Learning in Higher Education in the 21st Century”  วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ที่ มทส. นะครับ    ผมนำเอาตอนหนึ่งของการบรรยายของ Professor Masahiro Inoue, Vice President,  Shibaura Institute of Technology (SIT), Tokyo ที่บรรยายเรื่อง Teaching and Learning in the 21st Century for Global Sustainability and Innovation    มาเล่าเรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษาสไตล์ญี่ปุ่น

คุณภาพของบัณฑิต (วิศวกรรมศาสตร์) ที่เขาเอาใจใส่มี ๑๒ ประการตามรูปที่ ๑   จะเห็นว่าเขามีวิธีแตก 21st Century Skills ออกมาให้เหมาะแก่วิชาชีพวิศวะ   ครบทั้ง ASK และผมเดาว่า เขาคงจะวัด I (Identity) แบบบูรณาการอยู่ใน ๑๒ ข้อนี้ โดยน่าจะอยู่ในข้อ ๖ - ๘ 

รูปที่ ๒ บอกกระบวนทัศน์ว่าด้วยคุณภาพการศึกษาของญี่ปุ่นชัดเจน    ว่าเขามองอย่างเป็นพลวัต    ใช้ PDCA Model ในการจัดการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา    เป็นโมเดลที่มาจาก Growth Mindset   ในขณะที่วงการศึกษาไทยมองคุณภาพการศึกษาที่ปัจจัยนำเข้า (input) ทำให้มีแนวโน้มที่จะมีกระบวนทัศน์แบบหยุดนิ่งตายตัว (Fixed Mindset)

มาที่การวัด learning outcome    เขาก็วัดแบบดูความก้าวหน้า หรือพลวัตของผลการเรียนรู้    โดยใช้ ๓ เครื่องมือคือ (1) Rubric,  (2) PROG (Progress Report on Generic Skills),  และ (3) E-Learning Portfolio   

ฟังการบรรยาย แล้วกลับมาอ่านสไลด์ของการบรรยาย ๑๐ แผ่นตามในรูปแล้ว    ผมตีความว่า การประกันคุณภาพการศึกษาสไตล์ญี่ปุ่น เน้นส่งเสริมให้นักศึกษาดูแลตนเอง    ว่ามีการเรียนก้าวหน้าไปตามข้อกำหนด competency, literacy, และ character ที่กำหนดแค่ไหนแล้ว    โดยใช้ E-Learning Portfolio เป็นตัวช่วย    และแน่นอนว่า อยู่ภายใต้การดูแลของอาจารย์    

ผมจึงตีความว่า การประกันคุณภาพการศึกษาสไตล์ญี่ปุ่น เป็นส่วนผสมระหว่าง formative assessment กับ  summative evaluation   โดยใน E-Learning Portfolio  มีพื้นที่ให้ นศ. ได้ใคร่ครวญสะท้อนคิดข้อเรียนรู้ของตนบันทึกไว้   เป็นเครื่องมือของการฝึก higher order thinking   จากการปฏิบัติ      

วิจารณ์ พานิช        

๓๑ ก.ค. ๖๑


1

2

3

 

4

5

6

7

8

9

10

หมายเลขบันทึก: 652307เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2018 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2018 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุญาต เผยแพร่นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท