ชีวิตที่พอเพียง 3259. KM กับความรู้ที่สั่งสมโดยไม่รู้ตัว



ในการประชุมเตรียมจัดการประชุมถอดบทเรียนให้แก่บริษัทที่มีการดำเนินการต่อเนื่องมากว่าครึ่งศตวรรษแห่งหนึ่ง     สคส. ได้รับโจทย์ให้จัดกระบวนการถอดความรู้ของผู้ใหญ่ในบริษัทท่านหนึ่งที่ทำงานในบริษัทมากว่า ๔๐ ปี     ท่านผู้นี้สั่งสมความรู้เรื่องสำคัญที่เป็นแก่นความรู้ในธุรกิจของบริษัทไว้   โดยที่เวลานี้ท่านอายุเลย ๖๐ ไปหลายปีแล้ว    อยากพักผ่อนเต็มที    แต่บริษัทก็ยังต้องขอร้องให้ท่านทำงานต่อไป    เพราะยังไม่มีคนแทน   

การตั้งโจทย์ ให้ท่านเล่าเรื่องราวต่างๆที่สะท้อนความรู้ของท่าน จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง   

เราประชุมหารือกันภายใน สคส.ว่าจะตั้งคำถามอย่างไร   จึงจะสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย แต่อบอวลไปด้วยความรู้สึกเห็นคุณค่าของตัวท่านผู้รู้ท่านนี้   และเห็นคุณค่าของความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) ที่ท่านมี    

นี่คือทักษะฝังลึก (tacit skills) ที่ สคส. มี    โดยเรารู้ว่าคนเราจะปลดปล่อยความรู้ฝังลึกออกมาในบรรยากาศเชิงบวก  ที่เน้นคุณค่าของความรู้ภายในตัวบุคคล    นอกจากบรรยากาศเชิงบวกแล้วยังต้องมีคำถามเด็ดเชิงบวก   ให้ท่านเล่าเรื่องราวออกมา     และวิธีทำให้ท่านเล่าเรื่องต้องตั้งคำถามในเชิงสนใจพลวัตของการพัฒนางานในระยะยาว    ว่ามีจุดเริ่มต้นในลักษณะใด    ได้ผ่านความสำเร็จและล้มเหลวใหญ่ๆอะไรบ้าง   ทำไมจึงเกิดความสำเร็จหรือล้มเหลวเหล่านั้น     ในการพัฒนางานบางเรื่องที่ถือว่าประสบความสำเร็จสูงยิ่ง     หากท่านมีโอกาสเริ่มใหม่ท่านจะทำแตกต่างจากเดิมอย่างไรบ้าง   

ในเหตุการณ์และเรื่องเล่ามีความรู้ฝังลึกของผู้เกี่ยวข้องฝังแฝงอยู่   

วิจารณ์ พานิช

๑๖ ก.ค. ๖๑


 

หมายเลขบันทึก: 652304เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2018 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2018 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท