AAR R2R กรมควบคุมโรค


AAR R2R กรมควบคุมโรค

ติดตามความก้าวหน้าในการขับเคลื่อน R2R ของเครือข่ายกรมควบคุมโรค โดยนักวิจัยมาจากตัวแทน สคร. จาก 13 เขต ซึ่งมีโอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วมอยู่สามระยะ ได้มองเห็นความก้าวหน้าและความตั้งใจของความพยายามที่จะพัฒนางานประจำด้วยเครื่องมือ R2R

ชื่นชมการบริหารจัดการโครงการ

  • การเปิดโอกาสให้ทุกเขตมาเรียนรู้ร่วมกัน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ การเปิดพื้นที่ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้น
  • Research Design ยังเป็นจุดอ่อนของนักวิจัย ซึ่งบางครั้งทำให้ผลงานบางผลงานดูเหมือนคล้าย CQI 

สะท้อนคิดในลักษณะงานพัฒนาที่ดูก้ำกึ่งคล้ายงาน CQI เช่น การพัฒนางาน การพัฒนาแนวทาง การพัฒนารูปแบบ ซึ่งลักษณะงานต้องมีการออกแบบให้คมชัดเพื่อพิสูจน์ดูว่าแนวทางหรือรูปแบบนั้นมีการออกแบบที่ใหม่และต้องการพิสูจน์ผลให้ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร มีการคำถามการวิจัยชัดเจน หรือมีการตั้งสมมติฐานเพื่อนำไปสู่การพิสูจน์และหาคำตอบ

  • รูปแบบการวิจัยในลักษณะนี้ ที่น่าสนใจ คือ Action Research ที่มี PAOR หรือ Loop ในการพัฒนาครบ Loop ชัดเจนและอาจจะมากกว่า 1 Loop
  • หรืออาจใช้รูปแบบ Research & Development ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ออกมาคือนวัตกรรม หรือรูปแบบการวิจัยใหม่ๆ หรือโมเดลใหม่ๆ ที่น่าจะสนใจที่แตกต่างจากแบบเดิมและให้ผลได้ดีกว่าแบบเดิม

สิ่งที่ได้เรียนรู้กับตัวเอง

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจและรู้สึกชื่นชมมากคือ ความพยายามที่อยากพัฒนางานประจำด้วยการทำวิจัย ทำให้มีความเชื่อส่วนตัวว่า ถ้าเราออกแบบกระบวนการเรียนรู้ดีดี ให้คนทำงานมีความตื่นรู้และเกิดแรงบันดาลใจอยากทำ R2R น่าจะเป็นเรื่องที่ท้าทายและสนุกในการขับเคลื่อน

28-08-61


คำสำคัญ (Tags): #km#r2r#กรมควบคุมโรค
หมายเลขบันทึก: 650860เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2018 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2018 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท