เรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง


            โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคมเป็นหนึ่งในหลายโรงเรียนที่ได้รับโอกาสเข้าไปเรียนรู้ในโครงการSamsung smart learning Center รุ่นที่2เน้นการพัฒนาทักษะศตวรรษที่21ด้วยการเรียนรู้บนฐานของปัญหา นักเรียนได้ทำโครงงานบนสภาพปัญหาจริง ดังที่ผ่านมาแล้วของเราคือโครงงานจิตอาสารักษ์โคกหนองคอง นักเรียนได้พัฒนาศักยภาพเป็นระยะเวลา 3 ปี ผลงานเป็นที่ประจักษ์

            ในตัวของดิฉันที่รับบทเป็นที่ปรึกษาหลักของโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กลยุทธของโรงเรียนต่างๆ ในการจัดการเรียนรู้บนฐานปัญหา เป็นวง PLCที่เยี่ยมที่สุด 

            ตัวดิฉันเองได้ใช้โมเดล 3PBLในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้3PBL

          ตัวดิฉันและน้องทีมเชียงยืนพิทยาคมได้ถูกเชิญชวนจากทีมงานโครงการ Samsung smart learning Center ให้เป็น 1 ใน 25 ครูในโครงการทั่วประเทศ ครูผู้เป็นกระบวนกร จัดการเรียนรู้ในค่าย Samsung Discovery Camp ค่ายค้นอนาคต ที่โรงเรียนเทิงวิทยาคม จ.เชียงรายพวกเราได้ร่วมกันทำหลักสูตรโดยมี อาจารย์สมศักดิ์ กัณหา เป็นที่ปรึกษา คุณครูร่วมสร้างหลักสูตรที่ให้ผู้เรียนได้ค้นหาอนาคตของตนเอง มี ๔ ฐานกิจกรรม คือฐานค้นหาค่าพลัง ฐานโล่ป้องกันภัย ฐานกุญแจแห่งปัญญาและฐานดาบแห่งสัจจะ ส่วนตัวดิฉันเองได้รับบทบาทเป็นผู้อำนวยการค่าย และอบรมเชิงปฎิบัติการให้คุณครูที่นำนักเรียนมาร่วมกิจกรรมในประเด็น "ครูจะเตรียมลูกศิษย์อยู่รอดในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร"

          ในบทบาทเป็นผู้อำนวยการค่าย เป็นความความท้าทายของดิฉันมากเพราะเป็นบทบาทที่ตัวดิฉันชอบเลี่ยงที่สุด ต้องทำหน้าที่เปิด ปิด ค่าย ค้นพบว่า ในการกล่าวเปิดงานนั้นจะมีแค่ 3 ช่วงคือ ทักทายขอบคุณ สิ่งที่พวกเขาจะได้เรียนรู้ในวันนี้ และแนะนำทีมอำนวยการ เปิดงาน และในส่วนปิด ก็คล้ายๆกันคือ ขอบคุณ ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น อวยพร

           สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง คือการฝึก ทบทวน บ่อย ๆ จะช่วยให้เกิดความมั่นใจ ผ่านอุปสรรคไปด้วยดี ต่อไปจะไม่กลัวการกล่าวเปิด ปิดงานอีก 

             ในส่วนของการอบรมครู ในประเด็น "ครูจะเตรียมลูกศิษย์อยู่รอดในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร" ข้าพเจ้ารับอาสาในส่วนอุ่นเครื่อง เพราะเป็นงานที่ไม่ถนัดที่สุด ปกติ หน้าที่นี้จะเป็นของ อ.กุ้ง สุกัญญา มะลิวัลย์ และ แสน (ธีรวุฒิ) มันท้าทายดี ดิฉันใช้กิจกรรมอุ่นเครื่องด้วยการจับมือเป็นวงกลม วิ่งไปเรียกพลังที่กลางวง พร้อมกับร้องเฮ้ จากนั้นใช้นิ้วชี้สัมผัสเพื่อนๆคร๔ทุกคน หยุดที่ใครจับคู่ พร้อมถามชื่อเล่น มาจากโรงเรียนอะไร จัหวัดอะไร จากนั้นใช้สองนิ้วแตะกันพร้อมกับหัวไหล่ชนกัน ให้ครบทุกคน จับคู่สาม พร้อมคุยกันในประเด็นสอนวิชาอะไร มาครั้งนี้หวังว่าจะได้อะไรกลับไป จากนั้นใช้สามนิ้วแตะกันไหล่ชนไหล่ สะโพกชนกันพร้อมจับกลุ่มสี่คน นำเพื่อนเข้าโต๊ะ..เป็นเทคนิคการจับกลุ่ม

             ในส่วนของสาระน้องปุ้มจากโรงเรียนภูกระดึงเป็นผู้รับผิดชอบ ในประเด็น Envisioning the Future และทักษะศตวรรษที่21 "ครูจะเตรียมลูกศิษย์อยู่รอดในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร " ด้วยการให้ครูสื่อออกมาด้วยการวาดภาพ (ใคร / ทำอะไร / ที่ไหน)
จากนั้นแชร์กันภายในกลุ่ม สิ่งที่พบเห็นคือครูบางท่านไม่ยอมวาด บอกว่าวาดไม่เป็น นิ่งเฉย แต่เมื่อมองไปเห็นเพื่อนวาดก็พยายามและเป็นภาพออกมาจนได้ สุดยอดมาก จากการเฝ้าสังเกตพบว่าช่วงแชร์ในกลุ่ม ท่านแสดงความคิดเห็นเยี่ยมมาก  และพบว่าครูบางท่านมีจินตนาการสูงมาก สุดยอด ใครว่าครูไทยจินตนาการไม่เป็น กลุ่มไหนทำภาระกิจเสร็จก่อนร้องเฮ้ดังๆ เป็นเทคนิคการกดดันที่ดีมาก ฮาๆ แต่นอกเหนือสิ่งนั้นคือแววตาที่ท้อแท้ เมื่อพบกันครั้งแรก เริ่มฉายแววใคร่อยากรู้อยากเห็น 

              เมื่อแชร์ความคิดเห็นกันเรียบร้อยแล้ว (เกิดวง PLC ที่ยอดเยี่ยม) ครูเจ้ง จากโรงเรียนเทิงวิทยาคม ทำความเข้าใจกับครูในเรื่อง

รู้ทันโลก Global Awareness รู้ทำมาหากิน Financial,Economic,And Entrepreneurial Literacy รู้รักษาสุขภาพกาย ใจHealth Literacyมีส่วนร่วมทางสังคมและทางการเมือง Civic Literacy และรู้รักษาสิ่งแวดล้อม Environmental Literacy คุณครูนำเสนอเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนให้อยู่รอด ด้วยการทำ POP UP ( ฉัน / ต้องการ / แต่ / ดังนั้น / ท้ายที่สุด) จากนั้นำเสนอหน้าชั้น

          ขอแค่ครูเปิดใจ โลกเปลี่ยน  เราได้เครื่องมือที่สุดยอดในพัฒนาผู้เรียน 6 เครื่องมือ ขอแค่ครูนำไปใช้



หมายเลขบันทึก: 650853เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2018 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2018 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท