เรียนรู้เรื่องการจัดตั้งกระทรวงใหม่



ในการประชุมคณะกรรมการบริหาร สถาบันคลังสมองของชาติ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑   มีการนำเสนอเรื่องสืบเนื่อง เรื่อง ร่าง พรบ. จัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา    ซึ่งได้รับแจ้งว่ายกเลิกร่างดังกล่าว    เปลี่ยนเป็นร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม    ซึ่งเวลานี้ผ่านความเห็นชอบของ ครม. แล้ว    และขณะนี้อยู่ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ ศ. ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ เป็นกรรมการร่าง พรบ. นี้ด้วย   

ศ. ดร. สุรพล เล่าให้ที่ประชุมสรุปได้ว่า มติ ครม. ไม่ค่อยชัด    และความเห็นของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ไม่ค่อยตรงกัน    และยังไม่ชัดเจนว่า เมื่อตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม แล้ว สวนช. จะยังอยู่หรือเปลี่ยนสถานะไป  

ศ. ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน ประธานคณะกรรมการ ให้ความเห็นว่า    พรบ. นี้ควรแยกฝ่ายปฏิบัติกับฝ่ายนโยบาย   และเน้นเรื่องพัฒนาคน ให้ทำงานตามบริบทใหม่ ใช้ทักษะใหม่ เพื่อให้งานบรรลุผลได้   

ผมมีความเห็น ๓ ข้อสำหรับพิจารณาใส่ลงใน พรบ. ดังนี้

  • ควรระบุกลไกการเรียนรู้ของระบบ    คือมีระบบข้อมูลเพื่อ feedback   และปรับตัวของระบบ    รวมทั้งน่าจะมี Innovation Systems Research Institute ที่ส่งเสริมการวิจัยสถานภาพระบบนวัตกรรมของประเทศ    ในทุกกระทรวง และทุก sector
  • ควรยึดนวัตกรรมเป็น platform หลักในการทำงานของกระทรวงใหม่นี้   มีกลไกให้มีการทำงานบูรณาการกันทั้ง เรื่องอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม    และเนื่องจากหวังใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ    กระทรวงนี้จึงต้องทำงานบูรณาการกับทุกกระทรวง และทุก sector ของสังคม    เน้นบทบาทเด่นของ real sector 
  • เสนอให้เขียน พรบ. ให้เน้นการบริหารผลลัพธ์  ไม่ใช่เน้นบริหารอำนาจ ()     

วิจารณ์ พานิช

๑๗ ก.ค. ๖๑


 

 

 

หมายเลขบันทึก: 650292เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2018 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2018 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท