เก็บตก : งานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 3 (ห้องปูนแก่งคอย)


สำหรับเรื่องการเรียนรู้ และการจัดการความรู้นั้นปูนเรา คิดว่าเป็นเรื่องที่ทำอย่างต่อเนื่อง

นับเป็นครั้งแรกของผมที่ได้เข้าร่วมงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ และก็พึ่งรู้ครับว่านี่เป็นการจัดครั้งที่ 3 เข้าไปแล้ว 2 ครั้งแรกบุญยังไม่ถึงจึงไม่ทราบแม้แต่ข่าวคราว

        การไปในครั้งนี้ผมเข้าร่วมในฐานะวิทยากรประจำห้องย่อยของปูนแก่งคอย เราไปกันทั้งหมด 9 ชีวิต ด้วยความที่เราไม่เคยร่วมงานมาก่อนจึงไม่ทราบรูปแบบของงาน แต่ทางทีมงานก็เตรียมกันคร่าวๆ ว่าไปครั้งนี้เราจะนำเสนอเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งก็สรุปกันคร่าวๆว่า เรามีเวลาในการเปิดห้องย่อย 2 ครั้ง

          ช่วงเช้า : เรานำเสนอแนวคิด และการดำเนินการ เรื่องของการใช้กระบวนการเรียนรู้มาพัฒนาองค์กร โดยมุ่งเน้นการพัฒนาที่ คน เป็นหลัก และการพัฒนาคนนั้น เรามุ่งเน้นการพัฒนาที่ ใจของคนในองค์กร ก่อน ซึ่งมีทั้งการสร้าง Camp เพื่อการเรียนรู้ เช่นโครงการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ , การสร้างเวที Show &Shared ,การเรียนรู้จากภายนอกทั้งที่เป็นชุมชน องค์กร และสถาบันต่างๆ  

        ช่วงบ่าย : เรานำเสนอตัวอย่างโครงการ OCOP ( One  Cell One Project) ซึ่งเป็นโครงการที่ให้พนักงานได้ร่วมกันคิด และลงมือทำ พร้อมทั้งใส่กระบวนการเรียนรู้เข้าไป ด้วยเครื่องมือ Reflection (ทบทวนผลการทำงาน) และ Show &Share (แลกเปลี่ยนเรียนรู้) เป็นหลัก

        รูปแบบการนำเสนอ เราเน้นที่ความเป็นกันเอง แบบเรียบง่าย ถึงแม้ทางทีมงานผู้จัดได้เตรียมโต๊ะ ที่นั่งไว้บนเวทีอย่างดี แต่พวกเราได้ยกออก แล้วจัดเป็น วงเล่า ที่นั่งข้างล่างของเวที แทน ซึ่งดูเป็นกันเองมากกว่า เมื่อถึงเวลาที่เราเปิด วงเล่า ก็ได้มีนักจัดการความรู้ให้ความสนใจเข้าฟังค่อนข้างหนาตาพอสมควร ก็นับว่าเกินกว่าที่คิดไว้ ซึ่งก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งที่จากการถาม และการให้ข้อคิดเห็นไว้ให้คิดต่ออีกมากมาย

         หลายๆท่านที่มาคุยกับผมและถามว่าปูนแก่งคอย ทำสำเร็จแล้วหรือ แล้วจะทำอะไรต่อไป ซึ่งผมก็ได้บอกกับท่านเหล่านั้นว่า สำหรับเรื่องการเรียนรู้ และการจัดการความรู้นั้นปูนเรา คิดว่าเป็นเรื่องที่ทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ทำแล้วเสร็จ หรือประเมินว่าสำเร็จแล้วหยุดหากเป็นเช่นนั้นเกลียวความรู้คงต้องสะดุดหยุดลงไม่สามารถที่จะถ่ายถอด หรือพัฒนาจากคนรุ่นหนึ่งสู้รุ่นหนึ่งได้ พูดง่ายๆว่าหากเราหยุดเรียนรู้ ก็เหมือนกับว่าเราหยุดการพัฒนา ซึ่งเท่ากับว่าเราหยุดที่จะเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์แล้ว สุดท้ายเราคงจะจบลงเหมือนกับ ไดโนเสาร์ที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปได้   ส่วนว่าจะทำอย่างไรต่อไปนั้นก็คงต้องคิดกันต่อไปครับ 

หมายเลขบันทึก: 65009เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2006 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท