การเรียนรู้ตลอดชีวิต
ผมอยากรู้ว่าสังคมไทย และสังคมโลกมองเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างไร จึงเข้า อินเทอร์เน็ต ใช้กูเกิ้ลค้นด้วยคำหลัก “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” ค้นได้ ๒๔๕ เรื่อง ทั้งหมดเป็นเรื่องจากผู้ให้บริการการศึกษาในประเทศไทย ลองค้นใหม่ด้วยคำหลัก “lifelong learning” ได้มา ๑๐.๕ ล้านเรื่อง ลองดูผ่านๆ ก็เป็นเรื่องจากผู้ให้บริการการศึกษา (ในต่างประเทศ) ทั้งหมดเช่นเดียวกัน
เอาใหม่ ค้นใน www.wikipedia.org ได้ผลมาดังนี้
Lifelong learningis the concept that "It's never too soon or too late for learning", a philosophy that has taken root in organisations such as the UK Government's Department for Education and Skills (http://www.dfes.gov.uk).
Lifelong learning sees citizens provided with learning opportunities at all ages and in numerous contexts: at work, at home and through leisure activities, not just through formal channels such as school and higher education.
Lifelong education is a form of pedagogy often accomplished through distance learning or e-learning, home schooling or correspondence courses. It also includes postgraduate programs for those who want to improve their qualification, bring their skills up to date or retrain for a new line of work. Internal corporate training has similar goals.
Sometimes it aims to provide educational opportunities outside standard educational systems — which can be cost-prohibitive, if available at all.
The reason why lifelong education became important is the acceleration of scientific and technological progress. Despite the increased duration of primary, secondary and university education (14-18 years depending on the country), the knowledge and skills acquired there are usually not sufficient for 3-4 decades long professional career.
[edit]
Retrieved from "http://en.wikipedia.org/wiki/Lifelong_learning"
ก็ทำนองเดียวกันอีก โลกมีวาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตเฉพาะวาทกรรมของนักการศึกษา หรือด้านผู้จัดบริการการศึกษาเท่านั้น ไม่มีวาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มาจากด้านผู้เรียนรู้เลย เราไม่มีมุมมองต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตเชื่อมโยงกับชีวิตจริง เชื่อมโยงกับการประกอบอาชีพ หรืองานประจำ เราไม่มีมุมมองต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มาจากผู้เรียนเลย วาทกรรมเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต มาจาก supply side ทั้งสิ้น ไม่มีจาก demand side เลย
การเรียนรู้ช่างเป็นกิจกรรมที่ถูกผูกขาดจริงหนอ
นักกิจกรรมจัดการความรู้ คือ “คุณกิจ” ทั้งหลายร่วมกัน ลุกขึ้นมาบอกสังคมไทย และบอกสังคมโลก ว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิตทำอย่างไร จะดีไหม เรามานิยามคำว่า “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” ใหม่ ภายใต้มุมมอง และประสบการณ์ด้านการจัดการความรู้ ดีไหม
ผมจะเอารายงานการดำเนินการโรงเรียนชาวนาของมูลนิธิข้าวขวัญมาลงเป็นตอนๆ สัปดาห์ละ ๒ ครั้ง เพื่อให้ผู้สนใจการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้เห็นภาพว่าการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชาวบ้านธรรมดาๆ ทั่วๆ ไป ควรเป็นอย่างไร ผมเชื่อมั่นว่า แนวทางของโรงเรียนชาวนา เป็นแนวทางหนึ่งที่ใช้ได้ผลมาก ในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชาวบ้าน และอาจนำไปปรับใช้ได้ในบริบทอื่นๆ เกษตรกรรมแบบอื่น รวมทั้งในการประกอบธุรกิจ และในโรงงานอุตสาหกรรม แต่มีเงื่อนไข หรือความเชื่อ/ทิฐิ สำคัญ คือเน้นการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ไม่โลภ
วิจารณ์ พานิช
๔ มิ.ย. ๔๘
ผมคิดว่าหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับคนไทยในปัจจุบัน เพราะเป็นการเรียนรู้ที่ไม่ยึดติดกับกระบวนการของระบบการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิตคือสิ่งที่คนไทยทุกคนสามารถพัฒนาตนเองได้ทุกที่ ทุกเวลา และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชาติของเรา ดังนั้นผมจะเป็นผู้หนึงในการติดตามผลงานที่คุณจะนำมาเผยแพร่เกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยความเคารพอย่างสูง
ขอแสดงความชื่นชมของ Blog นี้ที่ได้ทำให้ผู้ที่กำลังจะใช้ KM มาพัฒนาตนเองและพัฒนาองค์กร ได้มีความรู้เพิ่มขึ้น แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน สำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้น เป็นสิ่งที่คิดว่าสำคัญมากสำหรับชีวิตของเราในปัจจุบัน คนเราไม่จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้กันแต่เฉพาะในชั้นเรียนไม่ว่าจะเป็นระดับไหน เราสามารถเรียนรู้จากการทำ KM หรือจากประสบการณ์ต่างๆ ชีวิตเราทั้งชีวิตสามารถเรียนรู้กันได้ไม่มีวันสิ้นสุด การศึกษาในชั้นเรียนก็เป็นมุมหนึ่งที่ทำให้เราสามารถจัดระเบียบความคิดให้เป็นระบบโดยมีเครื่องมือ (ข้อสอบ)วัด/ประเมิน สิ่งที่ได้ศึกษาไปเท่านั้น แต่คนที่หาประสบการณ์จากการใช้ชีวิตประจำวันไปตลอดนั้น เป็นคนที่นับว่าใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่า
ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต
KM มือใหม่