ตลาดนัดความรู้ อบต. ท้ายน้ำ อ. โพทะเล จ. พิจิตร


ตลาดนัดความรู้ ระดับ อบต. ครั้งแรกของประเทศไทย มีการบันทึก "ขุมความรู้" ไว้อย่างเป็นระบบ มีการกำหนดกิจกรรมต่อเนื่อง

ตลาดนัดความรู้ อบต. ท้ายน้ำ

วิจารณ์ พานิช

๔ มิ. ย. ๔๘

          ผมได้รับบันทึกการสัมมนาองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายน้ำ เรื่อง การดำเนินงานของ อบต.ท้ายน้ำ ที่มีประสิทธิภาพและพึงประสงค์ของประชาชน โดยใช้การจัดการความรู้ 3 – 5  พฤษภาคม  2548 ณ ทรัพย์ไพรวัลย์ แกรนด์ โฮเต็ล&รีสอร์ท จังหวัดพิษณุโลก   จากคุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์   เป็นรายงานหนาตั้ง ๓๐ หน้า     จะนำมาเล่าย่อๆ ว่า อบต. ท้ายน้ำ  อ. โพทะเล  จ. พิจิตร  เขาเริ่มต้นดำเนินการจัดการความรู้กันอย่างไร

           ผู้เข้าร่วมประชุม ๖๖ คน   จากสมาชิก อบต.    แกนนำชาวบ้าน   ผู้อำนวยการโรงเรียนในพื้นที่   เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่    และคณะ คุณอำนวยของการประชุม ซึ่งมาจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และนักศึกษา ช่วยงาน

           โปรดสังเกตองค์ประกอบของผู้เข้าร่วมประชุมให้ดีนะครับ   เพราะนี่คือปัจจัยหนึ่งของความสำเร็จในการประชุม หรือการจัดตลาดนัดความรู้    ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดปณิธานว่า อบต. ท้ายน้ำจะขับเคลื่อนความเจริญของตำบลด้วยความรู้    อบต. จะลงทุน และมีแผนงาน จัดการความรู้ของชาวบ้าน โดยชาวบ้าน

           หัวหน้าคณะผู้จัดตลาดนัดความรู้ครั้งนี้คือ คุณประกาศิต แจ่มจำรัส  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายน้ำ

       หลังจากมีการบรรยายให้ทราบหน้าที่ตามกฎหมายของ อบต.  ก็มาถึงกระบวนการจัดการความรู้    โดยมีคุณสุรเดช   เดชคุ้มวงศ์เป็นวิทยากร   ได้ตั้งเป้าหมาย ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ว่า การทำงานโดยใช้ปัญญา ใช้วิธีการยกตัวอย่างโฆษณาผู้ใหญ่ลี ของธนาคารกรุงไทย  ยกตัวอย่างเรื่องของปลาดาวที่เกยตื้นบนชายหาดนับล้านตัว มีเด็กผู้หญิงเก็บปลาดาวโยนลงทะเล ซึ่งไม่สามารถเก็บได้หมด แต่เป็นจุดเล็กๆที่สามารถทำได้ จึงอยากชวนคนท้ายน้ำให้เข้ามามีส่วนช่วยพัฒนาตำบลท้ายน้ำ โดยให้เล่าเรื่องสิ่งดีๆที่ภูมิใจที่ทำให้กับตำบลท้ายน้ำ ซึ่งสรุปผลการเล่าเรื่องดังนี้

ตาราง  ขุมทรัพย์ความรู้ เรื่องความภูมิใจ สิ่งดีๆในท้ายน้ำ

ประเด็นความรู้ที่ได้

ตัวอย่างประสบการณ์ / เรื่องเล่า

ปัจจัยสำเร็จ

สังคมและวัฒนธรรม

1 สงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส

   - ผู้สูงอายุ

   - ผู้พิการ

   - ทุนการศึกษาเด็ก

2 ประเพณีโขลกขนมจีน

3 ประเพณีอาบน้ำผู้สูงอายุกลางบ้าน

4

1 ผู้นำ

2 อบต.

3 ประเพณี

4 สิ่งแวดล้อม

5 การมีส่วนร่วม

6 ข้าราชการในท้องถิ่น

7 ทรัพยากร

การศึกษา

1 ศูนย์เด็กเล็ก

2 โรงเรียน

   - ผ้าป่าการศึกษา

   - รองเท้านักเรียน

   - นร.ที่พ่อแม่ติดเอดส์

เศรษฐกิจ

1 โรงงานน้ำดื่ม

2 กลุ่มอาชีพ / กลุ่มแม่บ้าน

สิ่งแวดล้อม

1 ภัยแล้ง

   - ประปา / น้ำสะอาด

สาธารณสุข

1 ใช้รถส่วนตัวในการส่งผู้ป่วย

 

           

ความภาคภูมิใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จ

    อบต.

            1. ประสาน การมีส่วนร่วมของประชาชน / ผู้นำ / ข้ราชการในท้องถิ่น

                2. สนับสนุนทรัพยากรผ่านทางแผนงาน / โครงการ

                3. จัดบริการ เช่น ศูนย์เด็กเล็ก / บริการใน อบต. การชำระภาษี

                4. การให้ข้อมูลประชาชน

                5. ช่วยสังคมทั้งทางแรงกายและทรัพย์สิน

                6. รักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างคุ้มค่า

ผู้นำชุมชน

            1. ต้องมีคุณสมบัติใฝ่รู้ เสียสละ มีความคิดสร้างสรรค์ และเป็นตัวอย่างที่ดี

                2. มีบทบาท สนับสนุน ประสาน ชักชวน

                3. แนะนำข้อมูลให้ความรู้

ข้าราชการในท้องถิ่น

            1. ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

                                1.1 เสียสละ                                                            1.2 จงรักภักดีต่อบ้านเมือง

                                1.3 รับผิดชอบ                                                         1.4 เมตตากรุณา

                                1.5 มีความรักในอาชีพ                                            1.6 รักถิ่นฐานบ้านเกิด

                                1.7 รับใช้ประชาชน

                2. ครูในท้องถิ่น

                                2.1 ประสานความร่วมมือ ช่วยเหลือ นร. เช่น ผ้าป่า กองทุนศึกษา รองเท้า

                                2.2 ฟื้นฟูประเพณี เช่น รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ โคมไฟ 5 ธันวา

         

ประชาชนมีส่วนร่วม

1. มีการทำงานเป็นกลุ่มโดยกรรมการ ซื่อสัตย์ โปร่งใส ใจสะอาด

2. ร่วมเรียนรู้ และแก้ไขปัญหา

3. มีความสามัคคี โดยใช้ 6 ร่วม

                                3.1 ร่วมคิด กำหนดปัญหาและเป้าหมาย

                                3.2 ร่วมมือ

                                3.3 ร่วมใจ

                                3.4 ร่วมทำ

ประเพณี

1.        รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ

2.        ลงแขกหวดป่า

3.        โขลกแป้งขนมจีนวันสงกรานต์ ม.8 ม.2

สิ่งแวดล้อม

1.       แก้ปัญหาภัยแล้งโดยการจัดหาประปาและน้ำสะอาด

2.       ขอรับสนับสนุนโรงงานทำน้ำสะอาดจากกรมทรัพยฯ

     หมายเหตุ                                                                                                                   

กระบวนการวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จ หรือความสามารถหลัก(core competence) จะมีความสำคัญอย่างสูง วิทยากรกระบวนการประจำกลุ่ม จะต้องสร้างบรรยากาศแห่งความสุข ความสนุก  และทำความรู้จักกัน สร้างปฏิสัมพันธ์ให้กับกลุ่ม สร้างความไว้วางใจกัน(trust)  ควบคุมการประชุมให้สมาชิกปฏิบัติตามกติกา และกระตุ้นกลุ่มแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง อิสระ หลากหลาย เจาะลึกข้อมูลที่สนใจ(probe) ใช้ความสามารถในการจับประเด็น ให้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือเสริมประเด็น ไม่ด่วนสรุปเอง ไม่ชี้นำจนเกินไป ไม่คาดคั้นผู้สนทนา และไม่ควรแสดงความรู้จนกลุ่มไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น

ในการสรุปประเด็นกลุ่มใหญ่ เพื่อสังเคราะห์เป็นความสามารถหลัก หรือกุญแจสู่ความสำเร็จ วิทยากรหลักจะต้องเพิ่มเติมข้อมูล และเชื่อมโยงประเด็น ความคิดจากกลุ่มต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาองค์ประกอบทางทฤษฎีมาในระดับหนึ่งแล้ว แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของเหตุปัจจัยความสำเร็จ และความล้มเหลว หรือปัญหาและอุปสรรค เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจเชิงระบบ(system thinking) และเพื่อสร้างความเข้าใจในเชิงลึก ควรสังเคราะห์ให้เห็นประเด็นในระบบวิธีคิดเบื้องหลังของความสำเร็จและความล้มเหลวในการทำงานพัฒนาสุขภาพภาคประชาชนอย่างลึกซึ้ง

สรุปประเด็น ความสามารถหลัก

1 ผู้นำ                                                      50            คะแนน

2 อบต.                                                     50            คะแนน

3 การมีส่วนร่วม                                      49            คะแนน

4 ประเพณี                                              19            คะแนน

5 สิ่งแวดล้อม                                          14            คะแนน

6 ข้าราชการในท้องถิ่น                           14            คะแนน

7 ทรัพยากร                                             1              คะแนน

          การสังเคราะห์ความสามารถหลัก จะดำเนินการโดยทีมวิทยากรร่วมปรึกษาหารือกับกลุ่มสมาชิก และทำการจัดลำดับความสำคัญ และแบ่งกลุ่มตามความสมัครใจ โดยใช้เวลา ประมาณ 1 ชั่วโมง โดยให้แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายประเด็นความสามารถหลัก แล้วสร้างตัวชี้วัดรายข้อ ตั้งแต่ระดับที่ ต่ำที่สุด หรือระดับพื้นฐาน คือ 1 ยกระดับไปสู่ระดับที่ดีที่สุด คือ ระดับ 5 โดยพิจารณาจากข้อมูลการนำเสนอตามปัจจัย      แห่งความสำเร็จ ความภาคภูมิใจ ที่ได้เสนอไว้ แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นตัวชี้วัดย่อยของแต่ละความสามารถ ซึ่งสามารถนำไปใช้วัดในทางรูปธรรมได้

          ผลการประชุมกลุ่ม แสดงประเด็นส่วนที่ความสามารถหลัก สูงที่สุด(ระดับที่ 5) มีองค์ประกอบ ดังนี้

ความสามารถหลัก

ระดับคุณภาพ

ระดับ 1

ระดับ 2

ระดับ 3

ระดับ 4

ระดับ 5

1. ผู้นำชุมชน

มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ รู้จริง

มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ รู้จริง

มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ รู้จริง

มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ รู้จริง

มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ รู้จริง

(ภาวะผู้นำ)

รับผิดชอบสูงในหน้าที่การงาน

ยึดหลักประชาธิปไตย ให้สมาชิกในท้องถิ่นมีส่วนร่วม

มีจิตใจดี มีเมตตา พรหมวิหาร 4

มีจิตใจดี มีเมตตา พรหมวิหาร 4

มีจิตใจดี มีเมตตา พรหมวิหาร 4

รับผิดชอบสูงในหน้าที่การงาน

ยึดหลักประชาธิปไตย ให้สมาชิกในท้องถิ่นมีส่วนร่วม

ยึดหลักประชาธิปไตย ให้สมาชิกในท้องถิ่นมีส่วนร่วม

ยึดหลักประชาธิปไตย ให้สมาชิกในท้องถิ่นมีส่วนร่วม

รับผิดชอบสูงในหน้าที่การงาน

ต้องอดทน มีใจสู้

ต้องอดทน มีใจสู้

เป็นตัวอย่างในการปฏิบัติงานให้ผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

รับผิดชอบสูงในหน้าที่การงาน

ความพร้อมของครอบครัว

เป็นตัวอย่างในการปฏิบัติงานให้ผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

รับผิดชอบสูงในหน้าที่การงาน

เป็นตัวอย่างในการปฏิบัติงานให้ผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

ความสามารถหลัก

ระดับคุณภาพ

ระดับ 1

ระดับ 2

ระดับ 3

ระดับ 4

ระดับ 5

2. อบต.

มีความรู้ความสามารถ

มีความรู้ความสามารถ

มีความรู้ความสามารถ

มีความรู้ความสามารถ

มีความรู้ความสามารถ

เสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต

เสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต

เสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต

เสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต

เสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต

มีมนุษยสัมพันธ์ดี

มีมนุษยสัมพันธ์ดี

มีมนุษยสัมพันธ์ดี

มีมนุษยสัมพันธ์ดี

ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้

ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้

ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้

มีวิสัยทัศน์ มองไกลและกว้าง

มีวิสัยทัศน์ มองไกลและกว้าง

ประชาชนยอมรับ

ประชาชนยอมรับ

ให้คำปรึกษาประชาชนได้ ใฝ่รู้

องค์กร อบต.

ใช้เงินงบประมาณคุ้มค่า

บริการประชาชนด้วยความเต็มใจ

มีระบบการทำแผนที่ดี ประชาชนร่วมยกร่าง

มีความโปร่งใส

มีความสามัคคีในทุกระดับ

ความสามารถหลัก

ระดับคุณภาพ

ระดับ 1

ระดับ 2

ระดับ 3

ระดับ 4

ระดับ 5

3.ประชาชนมีส่วนร่วม

ร่วมแรง ร่วมใจ เสียสละ

ร่วมแรง ร่วมใจ เสียสละ

ร่วมแรง ร่วมใจ เสียสละ

ร่วมแรง ร่วมใจ เสียสละ

ร่วมแรง ร่วมใจ เสียสละ

คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม

คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม

คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม

คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม

คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม

มีความสามัคคี ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก

มีความสามัคคี ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก

มีความสามัคคี ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก

มีความสามัคคี ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก

ร่วมคิด

ร่วมคิด

ร่วมคิด

ร่วมฟัง

ร่วมฟัง

ใช้ข้อมูล ข้อเท็จจริง มีระบบข้อมูล

ความสามารถหลัก

ระดับคุณภาพ

ระดับ 1

ระดับ 2

ระดับ 3

ระดับ 4

ระดับ 5

4. ข้าราชการ

ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม

ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม

ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม

หมายเลขบันทึก: 61เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2005 07:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-ขอให้ทำงานจริงอย่างที่เป็นนโยบายหน่อยอย่าดีแต่เขียนโครงการแล้วไม่ทำอะไรเลยอย่าเห็นประชาชนเป็นตัวหมากรุก นายก อบต.ท้ายน้ำที่ผ่านมาทำงานให้ประชาชนไม่เท่าเทียมกันเลย หมู่ไหนที่ไม่ได้ลงคะแนนให้ก็ไม่ให้งบประมาณขออะไรไปก็ไม่ได้ซักอย่างเลยถึงแม้จะมีความจำเป็นตาม ทำเหมือนกับว่าเขาไม่ได้เสียภาษีงั้นแหละขอให้ทบทวนการทำงานของ นายกด้วยครับ ...ก่อนที่เขาจะไม่เสียภาษีให้ อบต.?ไม่ใช่เอาเงินภาษีของชาวบ้านที่ทำนาทำไร่แถมมีหนี้สินกันทุกคน มาใช้ในทางที่ผิดเอาเที่ยวสนุกกันสบายทุกปีเลยหรือกลัวเงินจะไม่หมดถึงต้องเอาไปผลานกันทุกปีแทนที่จะเอาเงินส่วนนี้ไปทำประโยชน์อื่นๆมากกว่าเอาไปจัดเที่ยวกิน อ้างว่าจัดสัมนา ไม่มีใครได้ประโยชน์เลยสักคนขอฝากไว้ด้วย ผมจะติดตามการทำงานของท่าน นายกตลอดไปไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม................

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท