ประชุมวิชาการสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย


  

วันที่ ๒๕ - ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๑ ผมไปร่วมการประชุม Recent Advances in Genomics and Genetics Conference 2018 (RAGG 2018) “Innovative Genomicsand Genetics” จัดโดยสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย  ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์  สุขุมวิท ๑๑   โดยได้รับเชิญไปร่วมประชุมในฐานะที่ปรึกษาของสมาคม  

หลายท่านอาจไม่ทราบว่า เดิมผมเป็นนักพันธุศาสตร์

ไม่เคยคิดเลยว่า ภายในชีวิตของตนเองจะได้เห็นความก้าวหน้าของพันธุศาสตร์อย่างที่ได้ไปฟังในสองวันนี้   ในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ผมได้ฟังปาฐกถาพิเศษ ๖ เรื่องใน ๙ เรื่องตามที่กำหนดไว้ในรายการ

 

Innovative Genomics and Human Health

โดย ศ. ดร.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ชี้ให้เห็น platform ใหม่ของการทำวิจัยด้านมนุษยพันธุศาสตร์    ที่แพทย์ทางคลินิกสาขาต่างๆ กับนักพันธุศาสตร์ของมนุษย์จะต้องมีเวลาประชุมร่วมกันบ่อยๆ เพื่อหาทางร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ เพื่อเชื่อม Genotypic Database – Genomic Database   

สมัยก่อนเราสอนพันธุศาสตร์แก่นักศึกษาแพทย์ว่า ยีนผิดปกติมี variable expression   คือแสดงความผิดปกติต่างๆ กัน   บางคนที่มียีนผิดปกติที่ทำให้มีความผิดปกติของ phenotype แต่กลับปกติ   เราเรียกว่า non-penetrant   ทั้งหมดนั้น คิดกะนว่าเป็นคุณสมบัติของยีนนั้นๆ เอง  

เดี๋ยวนี้ จากพลังของการทำ whole genome sequencing  เรารู้แล้วว่า เกิดจาก variability ของดีเอ็นเอส่วนอื่น    อ. หมอวรศักดิ์ ได้วิจัยค้นพบคำอธิบายความผิดปกติที่จีโนมของผู้ป่วยโรคพันธุกรรมแปลกๆ มากมาย    ชี้ให้เห็นว่า ยุคนี้เป็นยุคขยายความรู้ว่าด้วย rare disease

ช่วงรับประทานอาหารเที่ยง ผมมีโอกาสซักถามขอความรู้จาก อ. หมอวรศักดิ์    และได้เห็นความจำเป็นว่า ประเทศไทยต้องการกลไกการจัดการความร่วมมือวิจัย   เพื่อให้เกิดพลังการสร้างความรู้อย่างเป็นระบบ    ลดความสูญเสียทรัพยากรจากการที่ต่างหน่วยย่อยต่างทำ ไม่ร่วมมือกัน    เรื่องนี้ผมเห็นมากว่าห้าสิบปี    ตอนนี้ดีขึ้นบ้าง แต่ก็ยังเป็นจุดอ่อนของวงการวิชาการไทย  

  

Fundamental Biodiversity Research and Bioresource Utilization – A Case Study of SIAM SNAIL Company

โดย ศ. ดร. สมศักดิ์ ปัญหา  ภาควิชาชีววิทยา  คณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    ผมได้ทบทวนกระบวนการวิวัฒนาการหอยขึ้นบก   หอยมีรอยเมือก  ที่มีประโยชน์ต่อชีวิตอื่นในป่า คือเป็นอาหาร   เมือกหอยเป็น polysaccharides  บำรุงผิวพรรณ   “หอยเป็น skin care ตัวแม่”   วิวัฒนาการมาเพื่อการดำรงชีวิต    ได้เข้าใจว่าหอยบางชนิดสามารถสร้าง superglue ขึ้นมาใช้ในการวางไข่ที่ใบไม้  

ดร. สมศักดิ์วิจัยหอยมา ๓๐ ปี   พบสปีชี่ส์ ใหม่ ๒๔๗ ชนิด    ผมถ่ายรูปเปลือกหอยสวยๆ จากสไลด์ของท่านมากมาย  เช่น หอยนก   หอยนกขมิ้น   

แน่นอนว่า ประเด็นหลักคือเรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ที่พบว่าสิ่งที่ตนเองวิจัยเป็น bioresource ที่สามารถทำรายได้มหาศาล เพราะพัฒนาเป็นเครื่องสำอางได้    แต่นักวิจัยผู้คร่ำหวอดวิชาการกลายเป็นทารกในวงการธุรกิจเครื่องสำอาง ที่ไม่ได้เป็น “พื้นที่สะอาด” อย่างในวงการวิชาการ   ยังต้องรอเวลาบ่มเพาะธุรกิจที่เพิ่งเริ่มมาได้ ๒ ปี ของบริษัท Siam Snail ภายใต้แบรนด์ Snail 8   ผมขอตัวอย่างสินค้าไปดูรายละเอียดที่บ้าน พบว่าต้องไปจ้างโรงงานที่เกาหลีผลิต

  

นวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพและการตลาดเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของสังคมไทย (Health Food Innovation and Commercialization for Well-Being of Thai Society)

โดย ศ. ดร. กมล เลิศรัตน์  ศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน  คณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น   ฟังแล้วเห็นโอกาสอีกมากมายในการสร้างนวัตกรรมด้านอาหาร ทั้งเพื่อธุรกิจ และเพื่อสุขภาพของคนไทยและพลเมืองโลก   

ผมติดใจการผลิตสารสีม่วงจากซังข้าวโพด ซึ่งเป็นของเหลือทิ้ง    เป็นสารบำรุงสุขภาพ    และได้เข้าใจ การปรุงและออกแบบอาหาร food designer  

 

Animal Genomics กับ Meat industries  

โดย รศ. ดร. มนต์ชัย ภาควิชาสัตวศาสตร์  คณะเกษตรศาสตร์ ดวงจินดา มข. 

ได้เรียนรู้การประยุกต์ genomics ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์อย่างกว้างขวาง  เช่น ขจัดโรค  ไส้เลื่อนทองแดงในหมู  

ไก่กระดูกดำ  

ตรวจสารตกค้าง เทคโน ดีเอ็นเอ ใช้เงินต่ำที่สุด

 

Genetic and Genomic Startup

โดย นพ. วีรยุทธ ประพันธ์พจน์ บริษัทศูนย์พันธุศาสตร์การแพทย์ จำกัด    เล่าเรื่องหลักการของการก่อตั้งบริษัท start-up   แต่ตอนกินอาหารเที่ยง ผมได้โอกาสซักถามธุรกิจให้บริการการตรวจและให้คำแนะนำปรึกษาทางพันธุศาสตร์   ว่าการตรวจไม่ยาก  แต่ขาดแคลนนักให้คำแนะนำทางพันธุศาสตร์ 

 

Clinical Pharmacogenomics 

โดย รศ. ดร. กุลประพัทธ์ สุขเกษม  

 

วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๑

 

Thai Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) as a Foreseeable Future NIPT

โดย รศ. นพ. พัญญู พันธ์บูรณะ  ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี   

 

DNA Prokids Project

พ.ต.อ. วาที เล่าเรื่องความคิดใช้ การตรวจ genomics  ช่วยหาพ่อแม่เด็กเร่ร่อน    แต่กรมพินิจและคุ้มครองเด็กบอกว่าขัดต่อสิทธิมนุษยชน  

 

Human Cytogenetics Consortium

ผศ. ดร. ชาตรี เศรษฐเสถียร

 

เรื่องมะเร็ง ๒ เรื่อง

รศ. นพ. มานพ พิทักษ์ภากร  Precision Medicine   และ รศ. ดร. ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง Targeted Therapy

 

Genome Engineering

อ. ดร. เมธิจิต วัฒนพานิช

๓ วิธี   ใหม่สุดคือ CRISP-CAS9   และทำได้ ๓ แบบคือ in-vitro, in-vivo และ in-zygote   อันหลังนี้เสมือน play God คือสร้างมนุษย์พันธุ์ใหม่   เป็นเรื่องเชิงจริยธรรม  และมีการออกกฎหมายห้าม  

 

International Spread of Multi-drug Resistant

รศ. นพ. ดร. ชาญวิทย์ ตรีพุทธรัตน์  ภาควิชาจุลชีววิทยา  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล   

 

การปรับปรุงพันธุ์โค

ผศ. ดร. ศกร คุณวุฒิฤทธิรณ  ภาควิชาสัตวบาล  คณะเกษตร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์    ผลงานจากความร่วมมือของ Cattle Genetic Improvement Consortium    ซึ่งหมายความว่าฟาร์มโคมากกว่า ๓๐๐ ฟาร์ม ร่วมมือในงานวิจัยนี้

 

การพัฒนาประชากรกุ้งก้ามกราม

ณิชนันทน์ แมคมิงแลนด์  ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  คณะประมง  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  

เป็นการเลี้ยงให้มีเพศเมียล้วน   เพราะให้ผลผลิตในภาพรวมมากกว่า    แม้เพศผู้โตเร็วกว่า  แต่กัดกินกันมากกว่า   

 

การศึกษา ดีเอ็นเอ โบราณของสัตว์

ผศ. ดร. วรรณรดา สุราช    ช่วยให้เข้าใจมนุษย์ด้วย  

วิจารณ์ พานิช        

๒๖ มิ.ย. ๖๑


หมายเลขบันทึก: 649258เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2018 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2018 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท