อาหารไม่ใช่แค่เสน่ห์ปลายจวัก


แต่มันคือมิติแห่งวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ถิ่นฐาน และศาสตร์

ปี 2018 กลุ่มโซเชี่ยลด้านอาหารเป็นกลุ่มที่มีสมาชิกมากไม่น้อยกว่ากลุ่มความสนใจอื่นๆ อิป้าเองก็เป็นสมาชิกกลุ่มครัวในบ้านอาหารทำเอง เพื่อนๆหลายคนเห็นอิป้าทำอาหารกินเอง ก็ถามว่าทำไมไม่อัดคลิปน่าจะสื่อสารได้ดีกว่า – ไม่ ป้าเร้าใจไม่พอ 555+ จากการเป็นสมชิกกลุ่ม และการทำอาหารกินเอง ก็ทำให้ประเมินตัวเองว่า อันตัวเรานี่หนาก็มีความสามารถทางด้านอาหารเหมือนกันนะ และจากการแลกเปลี่ยนก็ทำให้ได้สูตรเมนูต่างๆ อาหารไทย ที่เป็นอาหารประจำถิ่น  อาหารฟิวชั่นแบบไทยประยุกต์ และอาหารอินเตอร์ หรือแม้แต่อาหารขี้เดา

นางเอกตลอดกาลของอาหารไทย อิป้่ายกให้ "พริกน้ำปลา" เคยได้ยินคนโบราณพูดไหมคะ กินข้าวคลุกน้ำปลาก็อร่อย

ใครมาทานข้าวบ้านป้าแล้วมักติดใจพริกน้ำปลาทุกราย ไม่อยากโม้

สังเกตว่าวัยรุ่น จะชอบกินอาหาร  เนื้อๆ ไปแนวฝรั่ง ญี่ปุ่น เกาหลี ฟิวชั่น ประมาณนั้นรวมทั้งอิป้าตอนเป็นวัยรุ่นด้วย 

เครื่องปรุง น้ำมันมะกอก  น้ำส้มบัลซามิก สมุนไพร เนย นม นี่มีหมด ลงทุนแม้กระทั่งซื้อไวน์มาหมักเนื้อ  

ดูมีแต่เนื้อก็หนักไป อาจจะมีผักสลัดแนม  สปาเก็ตตี้ มักกะโรนีผัด

ตอนวัยรุ่นชอบนักอาหารจานเดียว อาหารทานเล่น...ทานเล่นๆ ไม่รู้มาอ้วนเอาตอนไหน

ส้มตำนี่มาเลย 3 ครก เผ้ด จี๊ดๆ ซี้ดๆ

โตมาหน่อยก็สนุกกับอาหารไทย พวกต้องใช้เครื่องแกง กะทินี่ชอบมาก ไม่ว่าจะเป็นแกงเผ็ด แกงคั่ว หลน ผัดเผ็ด 

ดูว่าการทำอาหารที่มีความยาก มันขั้นกว่า...เอาไว้คุย

สมัยนี้ช่างง่ายแสนง่ายกับเครื่องแกงสำเร็จรูป และกะทิกล่อง...แต่ความขั้นกว่ายังอยู่ที่ 

จะทำอย่างไรให้หน้าแกงจะสีสวย รสชาติจะกล่อมกล่อมเจือหวานได้ไหม ที่สำคัญคือการวัตถุให้สอดคล้องกัน แกงคั่วสับปะรดไม่เคยเห็นใส่ปลานะ

พออายุค่อนมาเลขสาม แกงเผ็ด แกงคั่วเริ่มใช่วัตถุดิบที่มีรสขม น้ำแกงมันอร่อยจริงๆนะ

กินของขม-ชมเด็กสาว กินมะระกับใบยอได้นี่ รับประกันเรื่องอายุได้เลย ....แก่ 555+


พอแก่มา ก็จริงนะ อาหารพื้นพื้นเลย แบบพื้นบ้าน ปลานึ่งจิ้มแจ่ว ต้ม อ่อม น้ำพริก แบบต้องมีผัก ลดมัน ลดเนื้อ เขยิบเข้าหาอาหารแนวสุขภาพ เพราะรู้สึกว่า ตัวเบาขึ้น

สังขารมันก็เปลี่ยนไป เมนูอาหารก็เปลี่ยนไปด้วย เผ็ดจี๊ด ซี๊ดน้อยลง เปรี้ยวไม่ได้--อิป้าเข็ดฟัน


แม้ว่าเมนูอาหารจะเปลี่ยนไปแค่ไหน แต่สน่ห์ของการทำอาหารในบ้านนั้นคือ  การมีส่วนร่วมของคนในบ้าน  ตั้งแต่การช่วยกันคิดเมนู การไปจ่ายตลาด การทำอาหาร และช่วยกันกิน จะน่าเบื่อหน่อยตรงล้างจานนี่แหล่ะ


วันไหนทำขนมจีน ก็ล้างผัก เด็ดผักกันมือเป็นระวิง

พอยุคสมัยเปลี่ยน คนเรายุ่งยากมากขึ้น หลายบ้านต้องกินข้าวนอกบ้าน พึ่ง 7/11 มากขึ้น สิ่งที่หายไปคือ เสน่ห์ปลายจวัก เด็กๆ สมัยนี้ทำอาหารได้ก็หมายถึง ฉีกเครื่องปรุงสำเร็จลงปรุงกับวัตถุดิบ เท่านั้นก็อร่อย

-แกงจืดใส่เกลือนะ -จะใส่น้ำปลาในแกงต้องให้น้ำเดือด แล้วอย่าคน ไม่งั้น น้ำแกงจะคาว

-บวดมัน ต้มถั่ว -รอให้มันกับถั่วสุกก่อน ถึงเติมน้ำตาล ไม่งั้น มันกะถั่วจะไม่สุก

-ใบแมงลัก โหระพา กับกระเพราเขียวมีความแตกต่างกัน ใช้กันคนละงาน

-กระเทียมไทย กระเทียมจีนให้กลิ่นและสัมผัสต่างกัน

-เครื่องแกงเลียง กับแกงอ่อมมันต่างกันตรงพริกไทยใช่ไหม

-แกงหัวปลี ทำยังงัยให้หัวปลีสีสวย ก็แช่น้ำมะนาวหรือมะขามไว่ก่อนสิ

นี่ยังไม่รวมเรื่องเครื่องแกงของแต่ละภาคที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สมุนไพรที่มีรสชาติและกลิ่นที่แตกต่างกันไป 

พริกแห้ง พริกสด ให้เลือกใช้กับเมนูที่มีวัตถุดิบที่หลากหลาย

การทำอาหารปลา ที่ต้องฝีมือไม่งั้นกลิ่นคาวจะทำให้เสียบรรยากาศ

กินของสดเหลือ เอางัยดีที่จะไม้ต้องทิ้ง การถนอมอาหารจึงเป็รคำตอบ

นอกจากความอร่อย การถนอมอาหารยังเป็นมิติเศรษฐกิจอีกด้วย...ทั้งประหยัด และช่วยเก็บของที่มีมากในฤดูกาลหนึ่งเผื่อไว้กินไปถึงฤดูกาลที่ขายแคลนด้วย--มันคือความไม่ประมาท

ถนอมได้ทั้งคาวทั้งหวาน บางอย่างทำไมต้องถามหาน้ำปูนใสก่อน บางอย่างทำไมถามหาสารส้มใช้สารส้ม ข้อสังเกต "เกลือ" มักจะมีบทบาทอย่างมากในการถนอมอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารคาวและการดอง

อีกแหล่ะ เด็กสมัยนี้ถ้าถามว่ารู้จักน้ำปูนใสไหม ก็คงบอกว่าหาได้ในกูเกิ้ล แต่หากถามว่าเคยเห็นไหม...อาจจะมีมากว่า 80% ที่ไม่เคยเห็น

ส่วนเตยหอม  อิป้าตั้งฉายาให้นางเป็น "นักสงคมสงเคราะห์" ใส่ในของคาวก็ให้กลิ่นดีขึ้น เช่น ข้าวต้ม น้ำก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ใช้กับของหวานนี่เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าพอมีโอ่งอ่างกะละมังแตก ก็ปลูกไว้สักต้นพอได้เก็บใบมาใช้

ในศตวรรษที่ 21 นี้ คงจะกล่าวขอบคุณกูเกิ้ลและอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้การเผยแพร่สูตรอาหารสะดวกขึ้น แค่มีมือถือเอง...ไม่งั้น คำว่าเสน่ห์ปลายจวัก...คงเหลือแค่เสน่ห์ แต่ปลายจวักหายไปกับวันเวลาที่ผ่านพ้นมาและโลกที่หมุนเร็วขึ้น

ไม่ว่าอาหารหน้าตาจะดีแค่ไหน ราคาแพงเท่าไหร แต่สาระของอาหารกับการกิน คือ 

1)โภชนาการครบหมู่ สอดคล้องกับช่วงวัย  ไข่ลูกเขยราดน้ำหวานๆเปรี้ยวๆ ของชอบในวัยเด็ก

2)แนวคิด You are as You eat กินอะไรเป็นอย่างนั้น กระแสนิยมแห่งการบริโภควัตถุดิบแบบอินทรีย์ กินผักพื้นบ้านและผักริมรั้ว กินคลีนๆๆ

3)กินอาหารตามฤดูกาล เพื่อให้แน่ใจว่าได้ทานอาหารที่สดใหม่ และธรรมชาติมักจะจัดสรรธาตุอาหารให้สอดคล้องกับฤดูกาล รวมถึงร่างกายมนุษย์...มันคือสิ่งมหัศจรรย์

อาหาร นอกจาก"อิ่ม" แล้วยังเป็นการรักษาวัฒนธรรมความ “เป็น อยู่ คือ”ของมนุษย์แต่ละถิ่นอีกด้วย 

เรื่องราวของอาหารมันสนุก และมีที่มา ไหนจะอาหารวัฒนธรรม อาหารเดินทาง การจัดจาน....นี่หล่ะเสน่ห์

และขอจบด้วย...ลาบเลือด อาหารวัฒนธรรมของชาวอีสานและชาวเหนือ...อาจจะต่างสูตร แต่มันคือวัฒนธรรม ที่คนนอกวัฒนธรรมต้องให้ความเคารพ

หมายเลขบันทึก: 649205เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2018 00:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2018 01:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท