ชีวิตที่พอเพียง 3226. มูลนิธิสยามกัมมาจล


  

วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๑ ผมไปคุยยุทธศาสตร์ที่มูลนิธิสยามกัมมาจลกับคุณเปา (ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร) ผู้จัดการมูลนิธิ    ในการหารือนอกรอบ    เพื่อหาทางทำให้งานใหญ่สองงานเดินไปได้ ใน ๓ปีข้างหน้า

ด่านแรกคือคณะกรรมการ CSR ของธนาคารไทยพาณิชย์   ที่จะต้องพิจารณาอนุมัติภายใต้นโยบายว่ามูลนิธิสยามกัมมาจลทำงานพัฒนาเยาวชน เน้นที่การพัฒนานิสัยใจคอ หรือบุคลิก   

โครงการแรก เป็นการขยายผลโครงการพัฒนาองค์กรระดับจังหวัดเพื่อพัฒนาเยาวชน activecitizen ร่วมกับองค์กรภาคี    ต่อจากโครงการที่ดำเนินการมาแล้วในปี ๒๕๕๗ – ๒๕๖๐   โดยสนับสนุนร่วมกับ สสส.   ดำเนินการใน ๔ จังหวัดคือ น่าน  ศรีสะเกษ สมุทรสงคราม  และสงขลา    โดยโครงการขยายผลจะดำเนินการในปี ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔   ดำเนินการใน ๙จังหวัดคือเพิ่ม เชียงใหม่  ตาก  นครราชสีมา นครปฐม  และสุราษฎร์ธานี   สนับสนุนร่วมกันโดย สกว., สสส.,กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์  และ SCBF   โดยที่ SCBF ลงทุนนิดเดียวเพื่อดำเนินการด้านการเรียนรู้ของภาคีต่างๆ จากโครงการ

ผมเสนอแนะคุณเปาว่า   ในแต่ละจังหวัดน่าจะเชื่อมเข้าสู่มหาวิทยาลัยและโรงเรียนด้วย    ให้นักเรียนและนักศึกษาได้ทำกิจกรรม CCA อย่างที่เราไปเห็นที่สิงคโปร์()   เพื่อปลูกฝังจิตสาธารณะ    รวมทั้งหาทางให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ ใช้เป็นลู่ทางเสาะหาเด็กที่มีจิตใจดีเห็นแก่ส่วนรวม และสมองดีพอสมควร เข้าเรียนในหมาวิทยาลัย  

นอกจากนั้น ผมยังเสนอว่าการสื่อสารงานเพื่อส่วนรวมนั้น ต้องสื่อสารแบบมีมิติที่ลึกและจริงจัง    ไม่ใช่สื่อแบบฉาบฉวยเพื่อความเด่นดัง    คณะผู้สนับสนุนและดำเนินการโครงการพึงระมัดระวังเรื่องการสื่อสารกิจกรรมและผลงาน  

โครงการที่ ๒ คือ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา    เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ที่จังหวัดระยองและศรีสะเกษ (ทั้งจังหวัด) ดำเนินการในจังหวัดละ ๑๐๐ โรงเรียน ในปีแรก    โครงการ ๓ ปี    ดำเนินการและสนับสนุนโดยภาคี ๕ กลุ่ม ได้แก่กระทรวงศึกษาธิการ ภาคธุรกิจและชุมชนในพื้นที่ ภาควิชาการ (ทีดีอาร์ไอ โรงเรียนรุ่งอรุณ สถาบันอาศรมศิลป์)  ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน empower การหัฒนาครู   และแหล่งทุน (สกว.  กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์  SCBF)

ผมให้ความเห็นว่าต้องระวังเรื่องการพัฒนาครู   ต้องอย่าเน้นไปสอนครูหรือจับครูมารับการฝึกอบรม   ต้องเน้นส่งเสริมการเรียนรู้ของครูจากการปฏิบัติในห้องเรียน    เพื่อสร้างความมั่นใจและศักดิ์ศรีครู    ผมเอ่ยถึงหนังสือ  Enhancing Practice through Classroom Research: A teacher’s guide to professional development (2)   ที่ครู ๔คนรวมตัวกันเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครู   และต่อมาใช้ในการทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก    แล้วนำประสบการณ์ตรงของตนมาเขียนหนังสือเล่มนี้    สื่อให้เห็นคุณค่าและวิธีการของ การวิจัยชั้นเรียน  ต่อพัฒนาการของความเป็นครู

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาต้องเป็นพื้นที่เรียนรู้ของนักเรียน  ครู ผู้ปกครอง  และทุกคนในพื้นที่  

ผมให้ความเห็นว่า จุดสำคัญที่สุดคือเด็กเล็ก   ในปัจจุบันทั่วโลกมีแนวโน้มที่เด็กจะถูกบั่นทอนศักยภาพทางสมอง โดยความรักและความหวังดีผิดๆของผู้ใหญ่ตามบันทึกชุด พลังแห่งวัยเยาว์ ()   และ (), ()    ต้องหาทางส่งเสริมความเข้มแข็งของครูเด็กเล็กอย่างเป็นระบบ    ให้ครูเด็กเล็กสมรรถนะสูงที่ได้รับการรับรองสมรรถนะ ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเงินเดือนเฉลี่ยของครูทั้งประเทศคือเดือนละ ๔๑,๐๐๐ บาท

วิจารณ์ พานิช

๑๔ มิ.ย. ๖๑


 

หมายเลขบันทึก: 649189เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2018 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กรกฎาคม 2018 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท