ชีวิตที่พอเพียง 3219. KM 4.0 กับ virtual whip



ผมคิดคำ virtual whip ขึ้นมาในเช้าวันที่๕ มิถุนายน ๒๕๖๑  จากการหารือ KMPlatform กับผู้บริหารระดับสูงสุดของบริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง (สมมติว่าชื่อ บริษัท ก)    

การพูดคุยนำไปสู่ยุทธศาสตร์ top-down และ bottom-up ในการยกระดับผลประกอบการของบริษัท ก    เชื่อมโยงกับการสร้าง KM Platform ให้เหมาะสมกับบริบทของบริษัท ก

ผมได้เสนอว่า KM Platform ที่ดี    จะทำให้หน่วยงานย่อยที่มีproductivity ต่ำ   นิ่งเฉยอยู่ไม่ได้   เพราะจะมีสารสนเทศ (information) ด้าน productivity,quality, etc. ที่เป็นเป้าหมายของบริษัท ขึ้น IT Portal เป็นรายหน่วยงานย่อย   ให้ผู้บริหารของหน่วยงานย่อยเข้าไปดู(ผ่านระบบรักษาความลับ) ได้    หน่วยงานที่ผลงานมีproductivity, quality, etc. ต่ำก็จะรู้ตัว   

เมื่อเทียบกับระดับ productivity,quality, etc. ที่ผู้บริหารบริษัทกำหนด    หัวหน้าหน่วยงานย่อยและทีมงานก็จะอยู่เฉยไม่ได้  ต้องหาทางปรับปรุงผลงานของหน่วย  

นี่คือ KM Platform ที่มี “ความรู้” ให้บริการแก่หน่วยงานย่อย   เพื่อให้รู้ตัวว่าต้องปรับปรุงในเรื่องใด    ความรู้นี้เองที่ทำหน้าที่“ลงแส้” แบบ virtual ต่อหัวหน้าหน่วยงานย่อยที่ under perform ในด้านนั้นๆ    โดยผู้บริหารระดับสูงไม่ต้องเสียเวลาสั่งการ   KM Platform ที่ดี จึงช่วยทำหน้าที่ top-down ให้แก่ผู้บริหารระดับสูง   

แต่ KM Platform ที่ดี    ไม่ใช่แค่ทำหน้าที่ “ลงแส้” เท่านั้น    ยังทำหน้าที่ “ช่วยเหลือ” (facilitate) ให้หน่วยงานย่อยที่ต้องการปรับปรุงผลงานของตนเองสามารถบรรลุผลการปรับปรุงโดยไม่ยาก   เพราะจะมี “ความรู้” จาก BestPractice ของหน่วยงานย่อยอื่นๆ อยู่ในระบบ ไอที ของบริษัท    ให้เข้าไปศึกษา    และหาทางเข้าไปเรียนรู้จากหน่วยงานย่อยที่มี bestpractice ด้านที่ตนต้องการปรับปรุง

หน่วย KM จะทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้และนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในงานของตน และการวัดผล  รวมทั้งการสื่อสารผลงานการเรียนรู้และพัฒนางาน    สร้างบรรยากาศของความ “สนุกกับการปรับปรุง”     และสร้างความภาคภูมิใจที่ได้ทำงานสร้างผลงานยกระดับperformance สนองเป้าหมายของบริษัท  

สคส. ทำหน้าที่ให้บริการสร้าง KM virtual whip    ให้เป็น “แส้”ที่สร้างความสุข ความภาคภูมิใจ ของคนหน้างาน  

วิจารณ์ พานิช

๕ มิ.ย. ๖๑


 

หมายเลขบันทึก: 648980เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2018 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2018 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I think sir that this is one “Holy Grail” of knowledge society - to turn (what called ‘ฉันทะ’ - aspiration/happy to do, in Buddhistic term) into the norm of behaviour. Today, ‘money’ and material rewards are the prime driver - the virtual whip.

But, difficult it may be, failing to try or to rise up to meet the challenge is to lose (to evil?) without a fight.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท